ด้วยภารกิจหลักของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มุ่งเน้นปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตรและชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น สอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สท. จึงมุ่งถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานและสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกร/ชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีกลไกการทำงานหลัก ดังนี้
• พัฒนาเชิงพื้นที่มุ่งเป้าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Area Based Approach)
สร้างกลไกและกระบวนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก (ภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกระดับการพัฒนาศักยภาพพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนในมิติต่างๆ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ >> Read more
• สถานีเรียนรู้ (Training Hub)
แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชน นำไปประยุกต์ใช้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม >> Read more
• ตลาดนำการผลิต (Inclusive Innovation)
บูรณาการความร่วมมือแบบจตุภาคีจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาสังคม สร้างการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกร ตลอดจนเพิ่มประสิทธิการผลิตให้เกษตรกร >> Read more
• พัฒนาศักยภาพของบุคลากรภาคการเกษตรและพัฒนาผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ (Agriculture System Integrator: ASI)
ส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการด้านการเกษตรที่ให้บริการเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. ทำให้เกษตรกรเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น >> Read more
• โครงการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community based Technology and Innovation Assistance Project: CTAP)
บริการให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณไม่เกิน 80% ผู้ขอรับบริการสนับสนุนค่าใช้จ่าย 20% ของบประมาณโครงการ >> Read more