สวทช. ผนึกความร่วมมือ มจธ.-เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา นราธิวาส พัฒนาชุมชนด้วย วทน.

สวทช. ผนึกความร่วมมือ มจธ.-เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา นราธิวาส พัฒนาชุมชนด้วย วทน.

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมดาหลา เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อ.แว้ง จ.นราธิวาส: น.ส.อดิศัย เรืองจิระชูพร นักวิเคราะห์ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เป็นผู้แทน สวทช. ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส” ระหว่าง สวทช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา โดยมี รศ.ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. และนายศุภโยค ลอดิง นายกเทศมนตรีตำบลบูเก๊ะตา ร่วมลงนาม ภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าว เป็นความร่วมมือของทั้งสามหน่วยงานในนาม “หน่วยงานความร่วมมือโครงการ Smart

สท. เติมความรู้-ฝึกทักษะเกษตรกร “เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อในทุ่งกุลาฯ”

สท. เติมความรู้-ฝึกทักษะเกษตรกร “เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อในทุ่งกุลาฯ”

เมื่อวันที่ 25-29 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์ 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ (ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคราม ศรีสะเกษและยโสธร) และศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อพันธุ์ดีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ณ ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี เพื่อยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นนวัตกรด้านการผสมเทียมโค เกษตรกรผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทั้งความรู้และทักษะการผสมเทียมโคที่ถูกต้อง นำไปใช้พัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อให้มีคุณภาพ

แบบแผนการจัดการศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสานของถั่วฝักยาว (Standard Operating Procedure: SOP) ภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG แบบบูรณาการเชิงพื้นที่ในจังหวัดราชบุรี”

จัดการศัตรูพืชใน “ถั่วฝักยาว” ด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสาน*

จัดการศัตรูพืชใน “ถั่วฝักยาว” ด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสาน*

“ถั่วฝักยาว” เป็นหนึ่งในพืชผักต้นๆ ที่ผู้บริโภคกังขาถึงความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ขณะเดียวกันก็เป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่เกษตรกรกุมขมับกับปัญหาของโรคพืชและแมลงศัตรูพืชที่ทำให้ผลผลิตเสียหาย เกษตรกรจำนวนไม่น้อยจึงเลือกใช้สารเคมีเพื่อแก้ปัญหา ภายใต้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตรของจังหวัดราชบุรี คณะทำงานโครงการ BCG ปี 25651 ได้เลือก “ถั่วฝักยาว” เป็นพืชผักนำร่องที่จะปรับเปลี่ยนการผลิตจากระบบเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. จึงได้ศึกษาและจัดทำแผนการใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช โดยใช้พื้นที่กรณีศึกษาที่ “ฟาร์มฝันแม่ ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี” และ “แปลงผักคุณระเบียบ เพชรแอง ต.ด่านทับตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี” *ข้อมูลจาก แบบแผนการจัดการศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสานของถั่วฝักยาว (Standard Operating Procedure: SOP) ภายใต้โครงการ

สท. ร่วมแชร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังสู่เกษตรกร

สท. ร่วมแชร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังสู่เกษตรกร

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 นายชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมนำเสนอข้อมูลและประสบการณ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลัง เพื่อคัดกรองโรคใบด่างมันสำปะหลังและท่อนพันธุ์มันสำปะหลังปลอดโรค ในกิจกรรม NSTDA Meets The Press หัวข้อ “ทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. ผลิตเทคโนโลยีสู้โรคใบด่างมันสำปะหลัง” ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) “ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา โรคใบด่างมันสำปะหลังได้สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกใหญ่ที่สุดในประเทศ และแพร่ระบาดไปหลายจังหวัด โดยสาเหตุเกิดจากเกษตรกรนำท่อนพันธุ์จากต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่และไม่ทราบว่าต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกนั้นติดโรคใบด่าง ซึ่งชุดตรวจโรคใบด่างมันสำปะหลังที่พัฒนาโดยทีมวิจัยไบโอเทค สวทช. เป็นแบบ Strip

สท. เสริมความรู้ หนุนกลไกตลาดนำการผลิต เพิ่มพื้นที่ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่สุพรรณบุรี

สท. เสริมความรู้ หนุนกลไกตลาดนำการผลิต เพิ่มพื้นที่ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่สุพรรณบุรี

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566 ณ สหกรณ์การเกษตรสามชุก จำกัด จ.สุพรรณบุรี: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอสามชุก สำนักงานเกษตรอำเภอดอนเจดีย์ และสำนักงานเกษตรอำเภอหนองหญ้าไซ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการปลูกพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี รวมกว่า 80 คน โดยมี รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้ และคุณมนตรี สมงาม ฝ่ายส่งเสริมการเพาะปลูก บริษัท กิตติทัต จำกัด ร่วมให้ข้อมูลการรับซื้อผลผลิต

สท. ร่วมออกหน่วย “คลินิกพืชเคลื่อนที่จังหวัดจันทบุรี”

สท. ร่วมออกหน่วย “คลินิกพืชเคลื่อนที่จังหวัดจันทบุรี”

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกิจกรรม “คลินิกพืชเคลื่อนที่ ครั้งที่ 1” จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ณ ที่ทำการแปลงใหญ่ทุเรียน ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยมีหน่วยงานเครือข่ายจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี ให้บริการความรู้เรื่องโรคพืชแก่เกษตรกรในพื้นที่ พร้อมทั้งบริการวินิจฉัยอาการผิดปกติของพืชเบื้องต้นและให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหาอาการผิดปกติของพืชด้วยหลักการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานที่เหมาะสมกับบริบทของเกษตรกรและพื้นที่ นางสาวเบญจา สุทธาโร นักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท. ได้ร่วมนำเสนอองค์ความรู้และเทคโนโลยีของ สวทช. ที่เกษตรกรสามารถนำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืช เช่น เทคโนโลยีชีวภัณฑ์ นวัตกรรมถุงห่อผลไม้ Magik Growth ระบบน้ำเกษตรอัจฉริยะ ปุ๋ยคีเลต เป็นต้น เกษตรกรให้ความสนใจสอบถามข้อมูลและร่วมแลกเปลี่ยนความรู้การใช้เทคโนโลยี

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์”

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์”

เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” และ “เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดมิลค์กี้เชิงพาณิชย์” โดยได้รับความสนใจจากเกษตรกร ผู้ประกอบการและนักศึกษารวมกว่า 60 คน ทั้งนี้การอบรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี การอบรมในหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” จัดขึ้น ณ ห้องประชุมประถม ใจจิตร อาคารกุลละวณิชย์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมี ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข นักวิจัย สวทช. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “สิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ และโมเดลการเลี้ยงกุ้งแบบธรมชาติ: ลดต้นทุน