เทคโนโลยีการทำเกษตรอินทรีย์ @ ฆ้องชัยพัฒนา

การผลิตมะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ การเพาะกล้าที่สวนปันบุญ การเลี้ยงชันโรงที่สวนจิราภาออร์แกนิค

สวทช. ชูผลิตภัณฑ์คุณภาพชุมชนป้อนซูเปอร์มาร์เก็ตฝรั่งเศส

สวทช. ชูผลิตภัณฑ์คุณภาพชุมชนป้อนซูเปอร์มาร์เก็ตฝรั่งเศส

สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพจากชุมชน ให้บริษัท ITM Alimentaire international เจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 2,000 สาขาในประเทศฝรั่งเศส 8 มิถุนายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย- ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. และคุณวิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการ สท. นำเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตร พบปะหารือและนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนกับ Mr. Franck Marie (Import Director), Mr. Jean Baptiste Prieur (Import Quality Manager)

เทคโนโลยีสิ่งทอ

เทคโนโลยีสิ่งทอ

การทอผ้าเป็นศิลปะวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยกรรมวิธีการถักทอเส้นใยธรรมชาติและการออกแบบลวดลายอันประณีตเป็นภูมิปัญญาเฉพาะที่สร้างอัตลักษณ์ให้ผ้าทอในแต่ละภูมิภาค แม้ปัจจุบันผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยเส้นใยสังเคราะห์ แต่ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถสานต่อภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองให้คงอยู่ ทั้งยังลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมูลค่าให้ผ้าทอพื้นเมืองอีกด้วย สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งทอที่นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นใย การออกแบบ จนถึงการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมืองและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน 1. การใช้เอนไซม์ ENZease (เอนอีซ) ในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้าย โดยลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกในขั้นตอนเดียว 2. การผลิตสีผงธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นและการเตรียมสีธรรมชาติสำหรับแม่พิมพ์จากวัสดุในท้องถิ่น 3. การเพิ่มคุณสมบัติพิเศษผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่ระดับเส้นใยจนถึงผลิตภัณฑ์ด้วยนาโนเทคโนโลยี บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ สืบสาน ต่อยอด ‘จกโหล่งลี้’ ลายผ้าโบราณด้วยนวัตกรรม “ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า

สท. ร่วมงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2023)

สท. ร่วมงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2023)

ผ่านพ้นไปแล้วกับงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. หรือ NAC2023 เมื่อวันที่ 28-31 มีนาคม 2566 ภายใต้แนวคิด “สวทช. ขุมพลังหลัก วทน. เร่งการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืน” ซึ่งกลับมาจัดในรูปแบบ Onsite เต็มรูปแบบอีกครั้ง พร้อมกับหัวข้อสัมมนาวิชาการที่น่าสนใจมากมาย นิทรรศการผลงานวิจัยของทั้ง สวทช. นวัตกรรมจากภาคเอกชน ตลอดจนการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ (start up) และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้เข้าร่วมกิจกรรมงาน NAC2023 ครั้งนี้ด้วย ทั้งในส่วนการจัดสัมมนาวิชาการ บูธนิทรรศการ และการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชน ภูมิปัญญาผ้าทอไทยเพื่อคนรุ่นใหม่สู่การเป็นนักออกแบบดีไซน์เนอร์ หัวข้อสัมมนาวิชาการที่ สท. จัดขึ้นโดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ การสืบสานผ้าทอไทยในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคุณมีชัย

โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก CTAP

ผลิตภัณฑ์น้ำมันนวดจากสมุนไพรพื้นบ้าน (นักวิจัย: น.ส.นริศา เหละดุ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์สเต็กเนื้อโคขุนโพนยางคำพร้อมปรุง (นักวิจัย: น.ส.วลัยพร เหมโส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) เทคโนโลยีเตาชีวมวลเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก้อนเชื้อเห็ด (นักวิจัย: ดร.บริสุทธิ์ จันทรวงศ์ไพศาล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจำหน่ายผักอินทรีย์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจครัวเรือนอย่างยั่งยืน (นักวิจัย: ดร.อภิญญา วิสุทธิอมรกุล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)) การยกระดับการผลิตโคเนื้อต้นน้ำของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง จ.อุบลราชธานี (นักวิจัย: ผศ.กฤษฎา บูรณารมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี)

นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์-ยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จ.แม่ฮ่องสอน

นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์-ยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จ.แม่ฮ่องสอน

สื่อความรู้ในโครงการ “นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์และยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เก็บเกี่ยว ‘หอมแขก’

เก็บเกี่ยว ‘หอมแขก’

อายุเก็บเกี่ยวหอมแขกประมาณ 90-110 วัน (นับจากย้ายปลูก) และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตที่จะส่งจำหน่าย เมื่อหอมแขกอายุ 80-85 วัน คอจะเริ่มพับ ให้เกษตรกรสังเกต หากในแปลงพบว่าคอพับเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ให้เกษตรกรช่วยพับให้ทั่วทั้งแปลง จากนั้นงดให้น้ำและทิ้งไว้ในแปลงประมาณ 3-5 วัน ให้ใบเหลือง ถอนมามัดจุก แล้วนำไปตากแดดจัดจนหอมแขกแห้งสนิท นำมาห้อยไว้ในที่ร่มมีหลังคา ระบายอากาศได้ดี ตัดหัวและรากออก บรรจุในถุงตาข่ายหรือขายแบบมัดจุก ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า