จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอวังเหนือ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายคำ เปิด “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน” ณ สุขใจฟาร์ม ต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พร้อมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การผลิตกล้าคุณภาพและการเพาะต้นอ่อน โดยมี นางวณิชดา ไชยศิริ นายอำเภอวังเหนือ เป็นประธานเปิดงาน “เราเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีองค์ความรู้เกษตรอะไรเลย ได้แต่ดูจากยูทูป กูเกิ้ล ซึ่งไม่สามารถให้องค์ความรู้กับเราได้ 100% จนได้ไปอบรมการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพกับ สวทช.-ม.แม่โจ้ เป็นองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ เอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา ได้ลองผิดลองถูก จนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 6 เราพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ความรู้ให้คนในชุมชนได้ผลิตผักอินทรีย์มีคุณภาพ เราเชื่อว่าความรู้ที่ได้ทำให้คุณภาพของผักและคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงๆ” นายภัทรพล วนะธนนนท์

สวทช. ร่วม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก”

สวทช. ร่วม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก”

เมื่อวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก” ในงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8 ณ สวนสามพราน ต.ยายชา อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่ง สท. ได้ร่วมจัดกิจกรรมเสวนา นิทรรศการให้ความรู้ และกิจกรรมฝึกปฏิบัติการ (workshop) เสวนา “ปลูกผักให้มีคุณภาพ” และ “ห่วงโซ่อาหารโมเดลถั่วเขียว KUML อินทรีย์” สองหัวข้อเสวนาที่ สท. ได้นำเสนอบทบาทการทำงานในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพและการผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์ โดยมีคุณณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท.

โรคพืช-แมลงศัตรูพืชของหอมแขก

หอมแขก

โรคพืช โรคพืชที่สำคัญ คือ โรคใบจุดสีม่วง (เชื้อรา Alternaria porri (Ell.) Cif) โรคเน่า (เชื้อรา Sclerotium rolfsii)  และโรคหอมเลื้อย (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides) โรคเน่า โรคใบจุดสีม่วง การป้องกันและจัดการโรคของหอมแขก 1. ก่อนปลูก ไถตากดิน 2-3 ครั้ง เพื่อลดปริมาณเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคในดิน ปรับสภาพดินด้วยปูนขาวเพื่อให้มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6.5-7 (เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหอมแขก)2. ใช้ส่วนการขยายพันธุ์ที่ไม่เป็นโรค เช่น แช่หัวพันธุ์หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยไตรโคเดอร์มา หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โปรคลอราช 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ

เตรียมแปลงหอมแขก

หอมแขก

ฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกหอมแขกในประเทศไทย คือ ฤดูหนาว (หลังเก็บเกี่ยวข้าว) หรือเริ่มต้นในปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป เกษตรกรควรเริ่มเพาะกล้าตั้งแต่เดือนกันยายน ย้ายกล้าลงแปลงในปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ แต่สำหรับเกษตรกรที่ใช้ที่นาเพาะปลูกสามารถเตรียมกล้าในพื้นที่ปลูกผักทั่วไปได้ เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จจึงไถตากดินและเตรียมแปลงปลูกหอมแขกต่อได้เลย การเตรียมแปลงเป็นขั้นตอนสำคัญ หากเตรียมแปลงไม่ดีจะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต ซึ่งการเตรียมแปลงหอมแขก แบ่งเป็น 2 ระยะคือ การเตรียมแปลงสำหรับเพาะกล้า และการเตรียมแปลงสำหรับย้ายปลูก  โรงเรือนเพาะกล้า แปลงเพาะกล้า เตรียมแปลงสำหรับเพาะกล้า • การเพาะกล้าหอมแขกจำเป็นต้องมีโรงเรือน เพื่อป้องกันฝนและน้ำค้าง• ก่อนปลูก 7 วัน คลุกเคล้าดิน โดโลไมท์ ปุ๋ยหมักให้เข้ากัน ขึ้นแปลงสามเหลี่ยม• ก่อนปลูก 2 วัน รดด้วยไตรโคเดอร์มาและตีดินให้ละเอียด ขึ้นแปลงหน้ากว้าง 1 เมตร สูงประมาณ 5-10

รู้จัก ‘หอมแขก’

หอมแขก

หอมแขก (red onion) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Allium cepa จัดอยู่ในพืชตระกูลหอมใหญ่ (onion) ใบจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แผ่นใบแบนจีบตามยาว ใบกว้าง 2–4 เซนติเมตร และยาว 20 –40 เซนติเมตร เจริญเติบโตในดินแทบทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ของดิน ประมาณ 6.0-6.5 เพาะปลูกในพื้นที่อากาศเย็นในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ และอาจให้ผลผลิตไปถึงเดือนมีนาคม หอมแขกเป็นพืชสองปี (biennial) โดยในปีแรกจะสร้างใบและหัว (buld) ซึ่งประกอบด้วยลำต้นสั้นๆ และกาบใบมีเปลืองหุ้มสีแดง ภายในมีกลีบสีม่วงแดงทำหน้าที่ในการสะสมอาหาร ที่ใจกลางของหัวเป็นจุดเจริญหรือจุดให้กำเนิด การสร้างหัวจะขึ้นอยู่กับความยาวของวัน (day length) ได้แก่ พันธุ์วันสั้น (short day)

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

“ฉันมีโอกาสได้ไปทำงานและรับบทเป็นนักท่องเที่ยว ไปเที่ยวชุมชนแห่งนี้พร้อมๆ กับพี่ๆ นักท่องเที่ยว 16 คน จากบ้านรวมไทย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อช่วงวันที่ 25-27 มกราคม 2566 นี่เป็นครั้งแรกที่ชุมชนเปิดรับนักท่องเที่ยว ทดลองจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร-สุขภาพได้เต็มรูปแบบต่อไป …จากที่ฉันได้ไปสัมผัสก็บอกได้ทันทีว่าชุมชนฆ้องชัยแห่งนี้ “มีอะไรดี…” น.ส.ขวัญธิดา ดงหลง นักวิชาการ ฝ่ายจัดการความรู้และสร้างความตระหนัก หากอยากปลดปล่อยความเหนื่อยล้าจากการงาน พักสายตากับทุ่งนาเขียวขจี อิ่มหนำกับเมนูอาหารพื้นถิ่นจากแปลงเกษตรอินทรีย์ อิ่มเอมใจกับรอยยิ้มและมิตรภาพของผู้คนแล้วล่ะก็ อยากให้ได้ลองมาสัมผัสบรรยากาศของที่แห่งนี้ “ชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์” อากาศดี “โฮมสเตย์กำนันแดง” ตั้งอยู่กลางทุ่งนาเขียวขจี สายหมอกจางๆ ต้องแสงแดดอ่อนยามเช้ารับกับเสียงไก่ขัน ปลุกความสดชื่นให้นักท่องเที่ยวได้สูดรับอากาศบริสุทธิ์เต็มอิ่ม บ้านไม้ชั้นเดียวร่มรื่นด้วยต้นไม้รอบบ้าน ชวนให้ลงเดินเล่นที่นี่ยังเป็นแหล่งเลี้ยงและอนุรักษ์ควายไทย 14 ตัว