มะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ

มะเขือเทศอินทรีย์ที่สวนปันบุญ

“มะเขือเทศอินทรีย์” อีกหนึ่งผลผลิตคุณภาพของวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ที่ผสานทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของสมาชิกกลุ่ม ทำให้ได้มะเขือเทศอินทรีย์ที่มีรสชาติหวาน เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า โดยพันธุ์ที่กลุ่มฯ ปลูก คือ พันธุ์ซันไซน์ พันธุ์แดงโกเมน (พันธุ์ที่ปรับปรุงโดย สวทช.) และพันธุ์โซลาริโน่ (พันธุ์การค้า) เรื่องต้องรู้ก่อนตัดสินใจปลูกมะเขือเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ วางแผนบริหารจัดการให้สอดคล้องกับตลาดและต้นทุนของตนเอง (ทุน แรงงาน) เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการปลูก ทั้งด้านการผลิต การตลาด การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง o รู้ตลาด ความต้องการของตลาด เพื่อเลือกชนิดพันธุ์มะเขือเทศ วางแผนการปลูก  o รู้สภาพแวดล้อม อุณหภูมิ ความชื้น แสง โรคและแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงดิน น้ำ ปัจจัยการผลิต เพื่อวางแผนการบริหารจัดการ เลือกวิธีป้องกัน/กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่มีโอกาสเกิดขึ้น o รู้จักเทคโนโลยี เลือกใช้ตามความจำเป็นและทุน

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

“เขาเป็นคนพิการ แต่เขาไม่ได้ทำให้ดูเป็นคนพิการเลย เขาทำงานได้เหมือนคนปกติ ถากหญ้าได้ ทำโน่นนี่ได้ ขนาดเขาไม่ปกติ เขายังสู้เลย” น้องแนน-นางสาวนลินี พรมสังข์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สะท้อนความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากที่ “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เสร็จสมบูรณ์ น้องแนนและเพื่อนๆ ชั้นปี 4 จากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นแรงกำลังสำคัญสร้างโรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำและปรับปรุงแปลงผักบนพื้นที่ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” อ.เวียงเหนือ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2563 จากความร่วมมือของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซี้ด อโกร และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ของนายภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของ

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เก็บตก!! งานสัมมนาและแสดงนวัตกรรม สวทช. – วิทย์สัญจร วิจัยเข้มแข็งเสริมแกร่งภูมิภาค ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา จัดโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสร้างสรรค์ พันธมิตรร่วมใจ ล้านนาก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจคือ “เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน” ชีวิตที่เลือกเป็น “เกษตรกร” จากอดีตลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ตัดสินใจนำเงินเก็บสะสมไปซื้อที่ดินในอ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อเป็นเกษตรกรเมื่อปี 2532 เริ่มต้นจากปลูกสับปะรด ข้าวโพดอ่อน แต่การรับซื้อที่ถูกกดราคา

สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาสวนดุสิต ภายใต้ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยและผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สาธิต และทดสอบเทคโนโลยีด้านเกษตรและอาหาร โดยบูรณาการองค์ความรู้จากทั้งสองหน่วยงานและเครือข่ายพันธมิตร เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่รองรับการเรียนรู้ในระดับภาคสนามและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ชุมชนโดยเน้นการลงมือปฏิบัติ นำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ให้เกิดการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ที่ผ่านมา สวทช. ได้พัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งด้านการเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งเร่งผลักดันให้เกิดการสาธิตและขยายผล พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรและชุมชน ให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อให้ชุมชนและเกษตรกรได้นำผลงานวิจัยไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สร้างมูลค่าและรายได้ เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือจากภาคการผลิตสู่ภาคการตลาด ทั้งนี้ สวทช. ได้ผนึกกำลังและสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

สถานีเรียนรู้ (Training Hub)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสถาบันการศึกษาในแต่ละภูมิภาคของประเทศ พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยบูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม ณ สถานีเรียนรู้แต่ละแห่ง นอกจากนี้ สท. ยังได้พัฒนาจุดเรียนรู้ระดับชุมชน (Learning Station) ร่วมกับเกษตรกรในเครือข่ายการทำงานของ สท. เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถเข้าถึงความรู้และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น • สถานีเรียนรู้กลาง หรือ AGRITEC Station ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี เป็นสถานีสาธิตเทคโนโลยีการเกษตรครบวงจร อาทิ ปัจจัยการผลิต การจัดการโรคแมลง การทดสอบพันธุ์พืชต่างๆ และเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะ • สถานีเรียนรู้ระดับภูมิภาค

กลไกการทำงานของ สท.

ด้วยภารกิจหลักของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มุ่งเน้นปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาความเข้มแข็งของภาคการเกษตรและชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจฐานรากโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น สอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สท. จึงมุ่งถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรให้เกิดการขยายผลอย่างทั่วถึง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานและสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกร/ชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีกลไกการทำงานหลัก ดังนี้ • พัฒนาเชิงพื้นที่มุ่งเป้าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Area Based Approach) สร้างกลไกและกระบวนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก (ภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยกระดับการพัฒนาศักยภาพพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนในมิติต่างๆ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่ >> Read more • สถานีเรียนรู้ (Training Hub) แหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill)

ลงทุนโรงเรือน (ไม้ไผ่) อย่างไรให้คุ้มทุน

ลงทุนโรงเรือน (ไม้ไผ่) อย่างไรให้คุ้มทุน

น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรีนักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เกือบทุกครั้งที่เราพูดถึงโรงเรือนไม้ไผ่ มักจะมีคำถามว่า ต้นทุนเท่าไหร่? แพงไหม? อายุกี่ปี? คุ้มไหม? ปลูกผักอะไรได้บ้าง? …. วันนี้จะพาไปเรียนรู้จาก “กลุ่มเกษตรกรบ้านแป้น” ต.บ้านแป้น อ.เมือง จ.ลำพูน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักจริง ใช้โรงเรือนจริง ที่นี่สร้างโรงเรือนไม้ไผ่หลังคาจั่ว 2 ชั้นรูปแบบของ สวทช. ขนาด 6×15 เมตร ใช้ไม้ไผ่จากสวน ป่าหัวไร่ปลายนา หรือหาซื้อในพื้นที่ ตีมูลค่าตามราคาพื้นที่ ค่าแรงไม่มี เพราะอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนช่วยกันสร้าง หากจะตีราคาก็คงเป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง คือ พลาสติกคลุมหลังคาขนาด 4×48 เมตร ราคาประมาณ 3,500 บาท+