สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิด “สถานีเรียนรู้ (Training Hub) ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ” ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมีนางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี (สท.) เป็นผู้แทนจาก สวทช. เข้าร่วมงาน ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว สวทช. โดย สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาสถานีเรียนรู้ (Training Hub) เพื่อรองรับการเรียนรู้ระดับภาคสนามให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของทั้งสองหน่วยงานผ่านหลักสูตรการอบรม ฐานเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นจากฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ฟาร์ม 907 ไร่)

งานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก)

งานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก) ระหว่างวันที่ 23–25 ธันวาคม 2565 ณ ลานสาเกตนคร บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจัดแสดงองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ สท. ได้ถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรและชุมชนเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่จัดแสดง ได้แก่ ตัวอย่างสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาโดย สวทช. สารชีวภัณฑ์ พืชหลังนา (ถั่วเขียว) สารชีวภัณฑ์ อาหารโค TMR การแปรรูปข้าว สิ่งทอ นอกจากนี้ยังนำเสนอตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรในเครือข่าย สท. ที่เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว

กิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดกิจกรรม เคล็ด (ไม่) ลับ ปลูกผักอินทรีย์ให้ตลาด ‘จำ’ เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้  (บนฟาร์ม 907 ไร่) โดยมี 2 กิจกรรม ได้แก่  > สาธิต “เพาะกล้าดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”โดย อาจารย์ทวีป เสนคำวงศ์อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ > เสวนา เคล็ด (ไม่) ลับปลูกผักอินทรีย์ ให้ ‘ตลาด’ จำโดย คุณภัทรพล วนะธนนท์ เกษตรกรเจ้าของ

การดำเนินงานของ สวทช. และเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง

การดำเนินงานของ สวทช. และเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดลำปาง

สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดลำปาง สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน ขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกร/ชุมชนในพื้นที่จังหวัดลำปางด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่  การดำเนินงานของ สท./สวทช. ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกษตรกร/ชุมชนตามโจทย์ปัญหาและบริบทของพื้นที่ นำไปสู่การยกระดับการผลิตและขยายผลสู่กลุ่มเกษตรกร/ชุมชนอื่น  ดังเช่น > ภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของฟาร์ม “สุขใจฟาร์ม” ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  > จุฬารัตน์ อยู่เย็น เจ้าของฟาร์ม “คนทำฟาร์ม” หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ ที่จัดโดย สวทช. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ และบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ที่มุ่งเน้นบ่มเพาะคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “ผู้ประกอบการเมล็ดพันธุ์”  > กลุ่มแปลงใหญ่สับปะรดบ้านสา

เสวนาออนไลน์ “รู้จัก-รู้ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชอย่างมืออาชีพ”

เสวนาออนไลน์ “รู้จัก-รู้ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชอย่างมืออาชีพ”

คลิปวิดีโอย้อนหลัง https://youtu.be/3ujl7grRsPQ คำถาม-คำตอบจากเวทีเสวนา เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ การผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์ ไตรโคเดอร์มา แบคทีเรียปฏิปักษ์ (บีเอส, บีเอ) บิวเวอเรีย-เมตาไรเซียม อื่นๆ เกี่ยวกับชีวภัณฑ์ Q: ปัจจัยใดที่ทำให้ชีวภัณฑ์ตายหรือไม่ได้ประสิทธิภาพ หลังจากฉีดพ่นไปแล้วA: อากาศร้อน แสงแดด การใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่เป็นชีวภัณฑ์นั้นๆ Q: จำนวนสปอร์ชีวภัณฑ์แบบผงกับแบบสดแบบไหนมีประสิทธิภาพมากกว่ากันA: สปอร์ในชีวภัณฑ์แบบสดมีประสิทธิภาพจัดการกับศัตรูพืชมากกว่าแบบผงหรือแบบแห้ง แต่จะมีอายุสั้นกว่า ทนกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้น้อยกว่าแบบผง Q: สารชีวภัณฑ์​สามารถเป็นสารกลายพันธุ์​ในมนุษย์​ได้หรือไม่A: อาจจะส่งผลต่อมนุษย์ ถ้าสารชีวภัณฑ์นั้นเป็นสารสกัดหรือสารพิษที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อระบบในร่างกายมนุษย์ด้วย แต่ถ้าเป็นชีวภัณฑ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีชีวิตและผ่านการตรวจสอบพิษวิทยาแล้ว ทั้งหมดไม่มีผลต่อมนุษย์ Q: สารชีวภัณฑ์กลุ่มจุลินทรีย์เป็นอันตรายต่อตัวห้ำ ตัวเบียนและผึ้งหรือไม่ A: การเลือกชนิดและสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์มาเพื่อใช้ในการจัดการศัตรูพืช จะต้องมีการทดสอบมาก่อนแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อ ตัวห้ำ ตัวเบียน ผึ้ง รวมถึงมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Q:

สวทช. ร่วม ธ.ก.ส. ปั้น New Gen Smart Farmer และ Young Smart Farmer เสริมแกร่งเกษตรกรไทย สู่โอกาสเติบโตทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สวทช. ร่วม ธ.ก.ส. ปั้น New Gen Smart Farmer และ Young Smart Farmer เสริมแกร่งเกษตรกรไทย สู่โอกาสเติบโตทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

28 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดสัมมนาโครงการต่อยอด New Gen, Smart Farmer และ Young Smart Farmer เพื่อสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจร่วมกับเครือข่ายธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่และผู้ประกอบการเกษตรจำนวน 450 ราย และเกิดเกษตรกรต้นแบบจำนวน 30 ราย ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ภาคการเกษตรเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศ สวทช.

สท. เปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

สท. เปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022

18 พฤศจิกายน 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี- สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) จำนวน 80 ท่าน เข้าเยี่ยมชม AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร โดยได้จัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ทั้งเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีด้านสารชีวภัณฑ์และนวัตกรรมด้านการเกษตรอื่นๆ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากคณะผู้เยี่ยมชม