เรื่อง “ปุ๋ยๆ กับเศษผัก 30 ตัน”

ปุ๋ยไม่พลิกลับกอง

ในแต่ละวันกะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี มะเขือเทศจากดอยสูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 60 ตัน ถูกจัดส่งเข้าโรงงานตัดแต่งผักของบริษัท คิงส์ วิช จำกัด สาขาแม่ฮ่องสอน และโรงงานตัดแต่งผักของคุณวิทยา หวานซึ้ง เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร ผักหัวแล้วหัวเล่าถูกตัดแต่งให้สวยงามก่อนเคลื่อนตามกันบนสายพาน ผ่านการชั่งน้ำหนักบรรจุลงถุง จัดเตรียมลงตะกร้าขึ้นรถห้องเย็น พร้อมเดินทางไกลกว่า 1,500 กิโลเมตรสู่ศูนย์กระจายสินค้าของห้างค้าปลีกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี … เมื่อของดีพร้อมส่งขาย แล้วของเสียอย่างเศษผักที่มีถึงวันละ 30 ตัน …เดินทางไปไหน “ทิ้ง” เป็นทางออกแรกที่ทั้งสองโรงงานจัดการกับเศษผักเหล่านี้  หลังจากที่ก่อตั้งโรงงานที่ ต.แม่เหาะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อปี 2558 พร้อมกับค่าจ้างขนทิ้งเดือนละ 65,000 บาท และได้รับ “เสียงร้องเรียนเรื่องแมลงวันและกลิ่น” เป็นผลตอบแทน

NPV ไวรัสกำจัดหนอนร้าย

NPV4

“รู้ว่าใช้เคมีอันตราย แต่เห็นผลทันที” “อยากใช้ชีวภัณฑ์นะ แต่ออกฤทธิ์ช้า ไม่ทันการณ์” คำตอบที่มักคุ้น แม้จะรู้พิษภัยของการใช้สารเคมี แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ทำให้เกษตรกรจำนวนไม่น้อยไม่อาจตัดใจเลิกใช้สารเคมีนั้นได้ แต่ใช่ว่าเมื่อใช้สารเคมีแล้ว จะต้องเป็นทาสของสารเคมีตลอดไป ในวันที่สารเคมีไม่สามารถจัดการ “ศัตรูพืช” ได้อยู่ “สารชีวภัณฑ์” เป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม “ไวรัสเอ็นพีวี” เป็นหนึ่งในสารชีวภัณฑ์ที่ถูกพูดถึงน้อย แต่ประสิทธิภาพฉกาจนัก ที่สำคัญยังใช้ได้ทั้งเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์อีกด้วย รู้จัก “ไวรัสเอ็นพีวี” ไวรัสเอ็นพีวี (Nuclear Polyhedriosis Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค มีการทดสอบความปลอดภัยของไวรัสเอ็นพีวีและผลิตเป็นการค้าจำหน่ายทั่วโลก ไวรัสเอ็นพีวีมีความจำเพาะต่อหนอนแต่ละชนิดๆ โดยในประเทศไทยพบไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็น องุ่น

ชุดตรวจโรคพืชของคนไทย

test kit

บ่อยครั้งที่เครื่องมือหรือเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากต่างประเทศที่ว่าดีที่ว่าเยี่ยม แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศเราแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นดังที่หวัง เพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง เราจึงเห็นความพยายามของคนไทยที่พยายามพัฒนาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีความจำเพาะเจาะจงกับบริบทของบ้านเรา ดังเช่น “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” ผลงานวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยไทย ดร.อรประไพ คชนันทน์ หัวหน้าทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) บอกว่า ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชช่วยแยกหรือวินิจฉัยว่าพืชเป็นโรคอะไร เพื่อช่วยจัดการควบคุมโรคได้ บริษัทเมล็ดพันธุ์หรือหน่วยงานราชการที่ปรับปรุงพันธุ์พืช คัดเลือกพันธุ์ต้านทาน ต้องอาศัยชุดตรวจเพื่อช่วยตรวจเชื้อโรค ขณะเดียวกันการใช้ชุดตรวจมีความจำเป็นต่อการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นไม่มีเชื้อกักกัน ทีมวิจัยของดร.อรประไพ มีความเชี่ยวชาญผลิตวัตถุชีวภาพที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคนั้นๆ ทีมวิจัยจึงได้นำคุณลักษณะนี้มาพัฒนาเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคพืชให้มีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชในบ้านเรา “ชุดตรวจต่างประเทศจะผลิตสำหรับเชื้อในท้องถิ่นเขา บางชุดตรวจไม่สามารถใช้ตรวจเชื้อบ้านเราได้ ถ้าเราผลิตชุดตรวจโดยใช้เชื้อที่มีในบ้านเรา ก็ทำให้สามารถตรวจได้ครอบคลุมกว่า” ไม่เพียงความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชที่พบในบ้านเราที่ทำให้ตรวจเชื้อได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชของคนไทยนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าของต่างประเทศ 3-4 เท่า ปัจจุบันทีมวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชกว่า 10 ชุด ทั้งสำหรับตรวจเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก

“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง

Microbes4

เมื่อเอ่ยถึง “จุลินทรีย์” ภาพในความคิดของหลายคนเป็น “สิ่งมีชีวิตเล็กๆ” เล็กขนาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี้ เราจะนึกถึงอะไร ….. “จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ ในขณะที่ตัวดีนั้นสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น บางตัวย่อยสลายเซลลูโลสหรือสารอินทรีย์ได้” ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ช่วยขยายความเข้าใจต่อ “จุลินทรีย์” มากขึ้น เมื่อจุลินทรีย์มีหลากหลายกลุ่มและยังมีทั้งตัวดีและไม่ดี การจะนำจุลินทรีย์มาใช้งานจึงต้องคัดเลือกชนิดและคุณสมบัติที่ต้องการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่งานวิจัยของ ดร.ฐปน-ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวทช.

“ไส้เดือนดิน-หนอนแม่โจ้” สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของผู้สูงวัย

“ไส้เดือนดิน-หนอนแม่โจ้”  สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของผู้สูงวัย

“ความภาคภูมิใจในตัวเอง” เป็นหนึ่งแรงพลังที่ทำให้คนเราตระหนักรู้ถึงความสุขในสิ่งที่ทำ ปลุกความหวัง สร้างความสดชื่นให้จิตใจโดยเฉพาะในวันที่เดินเข้าสู่ช่วง “ชีวิตสูงวัย” “คุณสวัสดิ์ การะหงษ์” วัย 65 ปี เจ้าของ “ลุงสวัสดิ์ฟาร์มไส้เดือนดินริมปิง” และอดีตผู้บริหารหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ก็เช่นกัน แม้พื้นฐานชีวิตจะเป็นเกษตรกร แต่ลุงสวัสดิ์คลุกคลีกับงานบริหารท้องถิ่นมากว่า 30 ปี เส้นทางการเติบโตที่มั่งคงในงานบริหารท้องถิ่นจากผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จนถึงรองนายกเทศมนตรีตำบล แต่ในใจกลับมีความรู้สึกบางอย่างที่คลอนแคลน “อยู่ในสังคมที่กว้างมาก แต่ความรู้เราแค่ป.4 ไปไหนก็ไม่มั่นใจที่พูดคุย และเดี๋ยวนี้เด็กจบใหม่มีความรู้ รู้จักใช้เทคโนโลยี แต่เราไม่มี อายเด็กรุ่นใหม่ มีวันนึง เจ้าหน้าที่ให้ช่วยปิดคอมพิวเตอร์ ลุงก็ดึงปลั๊กออกเลย” ความรู้สึกที่คลอนแคลนสะสมมาเนิ่นนานย้อนให้ลุงสวัสดิ์ได้ทบทวนและวางเส้นทางในช่วงชีวิตบั้นปลาย เมื่อไส้เดือนดินย่อยขยะในใจ การได้พบปะผู้คนหลากหลายวงการถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งในช่วงที่ลุงสวัสดิ์ทำงานบริหารท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ลุงได้พบเส้นทางในชีวิตหลังเกษียณ “ลุงไปอบรมเรื่องการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนจากอาจารย์อานัฐ ตันโช ม.แม่โจ้

ประกาศศักดา “ปลากัดไทย” ในตลาดสัตว์น้ำสวยงามระดับโลก

ประกาศศักดา “ปลากัดไทย” ในตลาดสัตว์น้ำสวยงามระดับโลก

แม้วันนี้ความพยายามของกรมประมงที่ต้องการให้ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติจะไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงและผู้ประกอบการเกิดความกังวลว่าไทยอาจสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศให้กับต่างชาติ ซ้ำรอยเฉกเช่นแมววิเชียรมาศ แต่ก็เป็นโอกาสดีที่จะทำให้เรื่องราวของปลาตัวเล็กที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านานได้เป็นที่รู้จักมากกว่าเป็น “ปลาสวยงาม” แต่ยังเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าหลายพันล้านบาทให้ประเทศอีกด้วย รู้จัก “ปลากัดไทย” ปลากัดเป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่มักพบกระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางและบางส่วนของภาคเหนือของประเทศ ปลากัดมีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม ใช้ปากฮุบอากาศในการหายใจโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด แต่เดิมปลากัดที่พบในประเทศไทยมีอยู่เพียง 3 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ปลากัดไทย (Betta splendens) เนื่องจากมีครีบและสีสันที่สวยงาม ส่วนอีก 2 สายพันธุ์คือ ปลากัดอีสาน (Betta smaragdina) และปลากัดภาคใต้ (Betta imbellis)

เทคโนโลยีอื่นๆ

เทคโนโลยีอื่นๆ

เกริ่น บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า “หม้อห้อมโบราณ” ‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สานต่อ “ผ้าทอโบราณ” ด้วยความรู้และเทคโนโลยี สิ่งพิมพ์ วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองเงือก: ชุมชนนวัตกรรมสิ่งทอ ชีวนวัตกรรม ‘ปุ๋ยชีวภาพอัดแท่ง’ เพิ่มผลผลิต ‘ต้นห้อม’ คุณภาพ กี่ทอมือยกดอกอัตโนมัติ นวัตกรรมยกระดับกี่ทอไทย สานต่อภูมิปัญญา “ผ้าทอพื้นเมือง” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งทอพื้นเมือง วิดีโอ

เตาชีวมวลปั้นมือ ประหยัดเชื้อเพลิง ทำง่าย รายได้งาม

เตาชีวมวล

การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของชุมชนในภาคเหนือส่งผลต่อปัญหาหมอกควัน เพื่อช่วยลดและแก้ปัญหาดังกล่าว ทางชุมชนบ้านสันติสุข ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกับสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยีเตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพด หรือเตาชีวมวลปั้นมือสำหรับครัวเรือน ให้ประชาชนบ้านสันติสุขและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งครัวเรือนกว่า 40% ในชุมชนใช้เตาชีวมวลอยู่แล้ว จากการเรียนรู้นี้ชาวบ้านสามารถนำความรู้ไปพัฒนาการผลิตเตาชีวมวลปั้นมือไว้ใช้ในครัวเรือนและจำหน่าย เตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพดไม่เพียงช่วยลดปัญหาการเผาทำลายซังข้าวโพด แต่ด้วยคุณสมบัติที่โดนเด่นของเตาสามารถให้พลังงานความร้อนได้มากกว่าเตาทั่วไป จึงช่วยลดการใช้ฟืนได้กว่าครึ่งหนึ่ง ชุมชนบ้านสันติสุขจึงได้จัดตั้ง “กลุ่มเตาชีวมวลปั้นมือบ้านสันติสุข” เพื่อผลิตเตาจำหน่าย ในระยะเพียงไม่ถึงสองเดือนหลังจากการได้รับความรู้จากการฝึกอบรม กลุ่มฯ ได้พัฒนาทักษะการปั้นเตาจนชำนาญ สามารถปั้นเตาได้อย่างสวยงามและมีคุณภาพ จนมีผู้สนใจสั่งซื้อหลายสิบใบ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาต่อยอดให้มีหูจับเตาเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ทาสีเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ สวยงาม แม้ว่าราคาขายจะใกล้เคียงกับเตาอั้งโล่ในท้องตลาด แต่การใช้งานดีกว่าเนื่องจากอุณหภูมิความร้อนคงที่กว่า โดยเฉพาะใช้งานประเภทต้ม ปิ้งย่าง นึ่งข้าวเหนียว นายประวิต บุญมา หนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมอบรมเทคโนโลยีเตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพด สร้างรายได้จากการปั้นเตาชีวมวลจำหน่ายให้ผู้สนใจทั้งในและนอกชุมชน เขาเล่าว่า

อื่นๆ

อื่นๆ

เกริ่น บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ เตาชีวมวลปั้นมือ ประหยัดเชื้อเพลิง ทำง่าย รายได้งาม สิ่งพิมพ์ ผลผลิตจาก ‘เตาอิวาเตะ’ ‘เตาอิวาเตะ’ เตาเผาถ่านคุณภาพ เตาเผาถ่าน 200 ลิตร เตาชีวมวล ประหยัดเชื้อเพลิง ทำง่าย สร้างรายได้ วิดีโอ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน เตาชีวมวลแบบปั้นมือได้ด้วยตนเอง การทำเตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพด1