สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ

สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ

“ถ้าคนรุ่นใหม่สนใจงานด้านการเกษตรจะช่วยต่อยอดงานเกษตรได้ เพราะคนรุ่นใหม่เข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้ง่ายกว่า เวลามีข่าวหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาก็จะเปิดรับและปรับตัวได้ง่ายกว่า” ในยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี มีคนรุ่นใหม่ไม่มากนักที่สนใจหรืออยากทำงานกลางแดดแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน หนึ่งในนั้นมี “น้ำ” กัลยาณี เหมือนมาต ทายาทเกษตรกรผู้มีทั้งพ่อและแม่เป็นต้นแบบการดำเนินชีวิต จนเป็นแรงบันดาลใจให้เธอตัดสินใจเลือกเรียนคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเกิดที่บ้านโคกสว่าง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี กัลยาณี เป็นลูกสาวคนโตของ พ่อสุรทอนและแม่สำรอง เหมือนมาต งานของพ่อแม่ในความทรงจำครั้งเป็นเด็กของเธอ คือ การทำนาสลับกับปลูกพืชหลังนาและการใช้สารเคมีบนผืนนาหลายสิบไร่ “เห็นพ่อทำเกษตรโดยใช้เคมีมาตลอด หลังจากปลูกข้าวแล้วก็ปลูกพริกส่งขายตลาด พ่อมีอาการแพ้ถึงขั้นเลือดกำเดาไหล ส่วนมากมาจากการฉีดยาฆ่าแมลงจำพวกแมลงวันทองที่พบมากในพริก ต้องฉีดสัปดาห์ละครั้ง แม้จะป้องกันตัวเองแต่ก็ยังทำได้ไม่ได้ดี” ผลกระทบต่อสุขภาพในครั้งนั้นทำให้ สุรทอน ตัดสินใจหันหลังให้การทำเกษตรแบบใช้สารเคมีโดยเด็ดขาดก่อนตั้งต้นเดินหน้าทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ปัจจุบัน สุรทอนและสำรอง เหมือนมาต เป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ยืนหยัดปลูกข้าวและผักอินทรีย์ส่งขายเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวมาร่วม 14

ใช้ความรู้ปลูกผัก ที่ “รักษ์ศรีเทพ”

ใช้ความรู้ปลูกผัก ที่ “รักษ์ศรีเทพ”

“แต่ก่อนปลูกโดยไม่มีความรู้ ผลผลิตก็ได้ตามสภาพ ทำ 100 ได้ 50 พอมีความรู้ กล้าสวย ต้นใหญ่ แขนงโต ลูกใหญ่ ผลสวย ต้านทานโรค เข้าแปลงไปเห็นแล้วชื่นใจ” อนงค์ สอนชา เล่าด้วยรอยยิ้ม อนงค์เป็นหนึ่งในสมาชิก “สหกรณ์รักษ์ศรีเทพ” อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ จากวิถีชีวิตการทำเกษตรที่พึ่งพิงรายได้หลักจากพืชเชิงเดี่ยวอย่างไร่อ้อยมาทั้งชีวิต หันกลับมาปลูกพืชผักปลอดภัยหลังจากที่เห็น รจนา สอนชา ลูกสาวและสมาชิกคนรุ่นใหม่ของกลุ่ม ลงแรงทำโดยมีตลาดใหญ่รองรับ สภาพดินเสื่อมจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การใช้สารเคมีทั่วพื้นที่ บวกกับราคาอ้อยที่ไม่แน่นอน เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจกลับมาทำเกษตรที่บ้านเกิดต้องการเปลี่ยนแปลง พวกเขาจึงเลือกพืชผักเป็นทางออก “เป็นความตั้งใจที่จะทำปลอดภัย เรามานั่งคุยแลกเปลี่ยนกัน ไม่จำเป็นไม่อยากใช้สารเคมี เราใช้เองในแปลง เราก็กินเองจากแปลงเรา ถ้าเราต้องการอะไรที่ปลอดภัยสำหรับตัวเรา ก็ต้องปลอดภัยสำหรับคนอื่น ไม่ใช่คำพูดสวยหรู

“Bright ข้าวเม็ดเคี้ยว” ขายข้าวให้แตกต่าง

“Bright ข้าวเม็ดเคี้ยว” ขายข้าวให้แตกต่าง

ประสบการณ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงจากการศึกษาดูงานที่ดินส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก ได้เห็นวิธีการปลูกข้าวต้นเดียวบนพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร สร้างความประทับใจและเป็นแรงผลักดันให้ ปรีดาธพันธุ์ จันทร์เรือง อดีตผู้จัดการโรงงาน ดีกรีปริญญาโทด้านธุรกิจเทคโนโลยี หันมาเรียนรู้การทำเกษตรบนหลักเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมกับเก็บเกี่ยวความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านอยู่สองปี จนตัดสินใจละทิ้งเงินเดือนกว่าครึ่งแสนบาท กลับมาทำเกษตรที่จังหวัดชัยนาทเมื่อปี 2558 “ครอบครัวไม่เห็นด้วย แม่ก็เครียด เรียนจบมาทำงานเงินเดือนก็เยอะ เสียดายเงินเดือน การงานกำลังไปได้ดี แต่ผมคิดแล้วว่าทำเกษตรนี่ล่ะคือใช่ แต่ต้องทำเกษตรแบบใช้ความรู้และทำให้เป็นเกษตรเชิงอุตสาหกรรม ถึงจะรอด” “ทำข้าวให้มีคุณสมบัติเชิงยา” เป็นเป้าหมายที่ปรีดาธพันธุ์ตั้งไว้และลงมือทำด้วยการพลิกพื้นที่ 4 ไร่ที่ขอแบ่งจากครอบครัวทำเป็นนาอินทรีย์ โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน “ข้าวอินทรีย์ออริจิไรซ์ (Origi Rice)” ผลิตภัณฑ์แรกจากแปลงนาอินทรีย์ที่ขายผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และไลน์ ได้รับการตอบรับอย่างดี ออเดอร์สั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปรีดาธพันธุ์ตัดสินใจขอใช้พื้นที่นาอีก 17 ไร่ แต่ครั้งนี้ไม่มีเสียงคัดค้านใดๆ จากครอบครัว

เมื่อปุ๋ยดีๆ เปลี่ยนชีวิตมนุษย์เงินเดือน

เมื่อปุ๋ยดีๆ เปลี่ยนชีวิตมนุษย์เงินเดือน

    “เป็นเรื่องสำคัญถ้าเราจะเริ่มต้นทำในสิ่งที่เราไม่รู้จัก เราไม่ควรทดลองโดยที่ไม่มีหลักวิชาการ ถ้าทดลองเลี้ยงตามที่เราเรียนมา แล้วเกิดปัญหา เราพอจะรู้ว่าเราออกนอกกรอบอะไรไปบ้าง ก็พอจะหาแนวทางแก้ไขได้” คุณนุจรี โลหะกุล หรือคุณเจี๊ยบ ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มไส้เดือนดินไม้งามและฟาร์มไรน้ำนางฟ้า ธุรกิจเกษตรที่เกิดจากการเข้าร่วมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. จากมนุษย์เงินเดือนที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้ แต่ปลูกอย่างไรก็ไม่ออกดอกให้ชื่นชม คุณเจี๊ยบจึงเสาะหาความรู้จนได้อ่านเรื่องราวของ “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” และได้ทดลองหาซื้อมาใช้ ผลลัพธ์ที่ได้พาให้หัวใจคนรักต้นไม้เบิกบานเมื่อได้เห็นต้นไม้ผลิดอกสวยงาม แม้จะเจอ “ปุ๋ยดีๆ” ที่ต้องการแล้ว แต่คุณเจี๊ยบไม่หยุดเพียงเท่านั้น หากยังเสาะหาความรู้ของปุ๋ยดีๆ นี้ “เริ่มไปอบรมตั้งแต่ปี 2548 ไปเรียนทุกที่ที่มีสอนเรื่องไส้เดือนดิน ในช่วงนั้นก็มีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจะเป็นสายพันธุ์ขี้ตาแร่ และที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสายพันธุ์เอเอฟและขี้ตาแร่ พี่ไปอบรมกับอ.อานัฐที่แม่โจ้หลายรอบ แต่ละรอบก็ได้ความรู้และเทคนิคใหม่ๆ เรียนกลับมาก็มาฝึกเลี้ยงที่บ้านเริ่มจากกะละมัง ตู้ลิ้นชักพลาสติก ขยายมาเป็นบ่อวงซีเมนต์ 8 วง” ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่ผลิตได้จากการฝึกฝีมือ คุณเจี๊ยบทดลองใช้เองและนำไปแจกเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง นานวันเข้าทุกคนที่ได้ใช้ต่างติดใจ อยากได้ไปใช้เพิ่ม

เมื่อ “จุลินทรีย์” เปลี่ยนชีวิต

เมื่อ “จุลินทรีย์” เปลี่ยนชีวิต

จากคนที่ทำสวนลำไยมีรายได้เป็นแสนบาทต่อปีให้หยิบจับ รัตฑนา จันทร์คำ หรือ แม่หลวงอ้อ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ใช้เวลาเรียนรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอยู่กว่า 7 ปี จึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรผสมผสาน “ไปอบรมแรกๆ ก็แย้งในความรู้สึกว่ามันดูกระจอก จะได้จริงเหรอ กระจอกคือรายได้นิดเดียว ขายลำไยปีนึงได้เป็นแสน เก็บผักได้วันละ 100-300 บาท ทำเหนื่อย รายได้น้อย แต่เป็นผู้ใหญ่บ้านถูกส่งไปอบรมเรื่อยๆ ก็ซึมซับว่าน่าจะดี จะดีจริงมั้ย ก็ต้องลงมือทำ พอมาทำก็ยากอยู่ ต้องใช้ความอดทน ความขยันและเรียนรู้ตลอด แต่ผลที่ได้ ทำแล้วคุ้ม โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ เพราะไม่ใช้สารเคมี” วิถีการทำสวนลำไยที่พึ่งพาการใช้สารเคมี ทำให้สมาชิกในชุมชนได้รับผลกระทบเรื่องสุขภาพ ผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย แม่หลวงอ้อ ใช้เวลากว่า 2 ปี ลงมือทำและปรับเปลี่ยนการทำเกษตรในพื้นที่ 7 ไร่ของตนเองให้เป็นเกษตรผสมผสานเพื่อเป็นตัวอย่างให้สมาชิกได้เข้ามาเรียนรู้ จนเกิดเป็น “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าลาน” ที่มีทั้งแปลงผักอินทรีย์

“บ้านท้องฝาย” ชุมชนปลอดขยะ ดินดีมีคุณภาพ ด้วย “จุลินทรีย์”

จุลินทรีย์1

“แต่ก่อนวิถีของชุมชนกำจัดขยะโดยการเผา นำไปทิ้งในแม่น้ำลำคลอง ที่สาธารณะต่างๆ ทำอย่างไรก็ได้ให้ขยะ ใบไม้ กิ่งไม้พ้นบ้านของตนเอง สร้างปัญหาให้กับชุมชน เรื่องขยะเป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของเทศบาลฯ ฝ่ายเดียว คนในชุมชนต้องมีจิตสาธารณะด้วย”  ร.ต.ต.สุภาพ ยะมะโน หรือ ลุงสุภาพ ประธานคณะกรรมการชุมชนปลอดขยะบ้านท้องฝาย และประธานสภาเทศบาลตำบลริมเหนือ บอกเล่าถึงสภาพการจัดการขยะของชุมชนในอดีต บ้านท้องฝาย หมู่ 2 ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำแม่ริม ชุมชนอาศัยอยู่ใต้ฝาย จึงเรียกว่า บ้านท้องฝาย จากการทิ้งขยะของชุมชนที่นับวันจะเป็นปัญหามากขึ้น ลุงสุภาพจึงได้ร่วมกับทางเทศบาลตำบลริมเหนือผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหา โดยนำความรู้หลายๆ ด้านมาถ่ายทอดให้ชุมชน หนึ่งในองค์ความรู้จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คือ การใช้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หลังจากได้รับความรู้จาก สท./สวทช. ลุงสภาพ ได้สร้างบ่อเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์โดยใช้จุลินทรีย์ช่วยเร่งการย่อยสลายรดในบ่อทุกๆ 6 เดือน ทำให้เศษใบไม้

ปัจจัยการผลิตและอื่นๆ

ปัจจัยการผลิตและอื่นๆ

ปัจจัยการผลิตในการทำเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ดิน ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์ ฯลฯ ล้วนมีผลต่อทั้งการเจริญเติบโตของพืชและต้นทุนการผลิตของเกษตรกรทั้งสิ้น สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านปัจจัยการผลิต ได้แก่ สารชีวภัณฑ์ (Biocontrol) โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมการระบาดของแมลงศัตรูพืชหลายชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ราบิวเวอเรีย ไวรัสเอ็นพีวี (NPV) นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีการจัดการดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการทำเกษตร โดย สท. ได้ถ่ายทอดฯการผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง ที่สามารถช่วยให้เกษตรกรสามารถทำการหมักปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง ด้วยวิธีการทำปุ๋ยหมักที่ง่าย ประหยัดและได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่คุณภาพสูง หรือการผลิตปุ๋ยไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์ ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน ช่วยย่อยอินทรียวัตถุในดิน อีกทัั้งเพิ่มจุลินทรีย์และธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “ฮักษ์น้ำยม” ปุ๋ยอินทรีย์สู่ความยั่งยืนของชุมชน “ชีวภัณฑ์” ผลิตใช้เอง ผลิตให้ชุมชน เสริมรายได้

ไรน้ำนางฟ้า: จากงานวิจัยสู่ธุรกิจอนาคตไกล

ไรน้ำนางฟ้า: จากงานวิจัยสู่ธุรกิจอนาคตไกล

 “เราไม่ได้อยู่ในแวดวงเกษตรมาก่อน อย่างไรน้ำนางฟ้า คนถามบ่อยมากว่า มีโรคมั้ย เอาไปเลี้ยงปลาแล้วปลาจะตายมั้ย มันจะเอาโรคไปติดต่อกันมั้ย เราเป็นคนเลี้ยงก็ต้องบอกว่าดี แต่ถ้ามีงานวิชาการที่ทำวิจัยมาแล้วรองรับว่าไม่มีโรคและไม่ติดต่อ เราสามารถพูดได้ ความน่าเชื่อมี ตรงนี้งานวิจัยช่วยพี่มากๆ” ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินภายใต้แบรนด์ “เพื่อนดิน” เป็นธุรกิจแรกของคุณนุจรี โลหะกุล หรือคุณเจี๊ยบ ที่ต่อยอดจากการเข้าร่วมอบรมเรียนรู้จนสามารถผันชีวิตจากมนุษย์เงินเดือนมาเป็นเจ้าของธุรกิจเต็มตัว “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” ยังพาคุณเจี๊ยบให้รู้จักกับ “ไรน้ำนางฟ้า” อีกหนึ่งงานวิจัยด้านเกษตรที่ปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจของผู้หญิงเก่งคนนี้อีกเช่นกัน จากงานออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “เพื่อนดิน” ในงานประชุมวิชาการของ สวทช. คุณเจี๊ยบได้รู้จักกับงานวิจัย “ไรน้ำนางฟ้า” ด้วยความน่าสนใจของสัตว์น้ำตัวเล็กๆ ที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงและยังให้สารเร่งสีสำหรับสัตว์น้ำด้วย คุณเจี๊ยบจึงตัดสินใจเข้าร่วมอบรมเรียนรู้การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเมื่อปี 2555 “อบรมกลับมาก็ไม่คิดจะทำเป็นธุรกิจ เพราะไรน้ำนางฟ้าเลี้ยงยากมาก เรายังไม่มีความรู้มากพอ ไข่ที่ได้มาจากการอบรมก็แช่ไว้ในตู้เย็นอยู่หลายเดือน จนพอมีเวลาว่างจากฟาร์มไส้เดือน ก็เอาไข่ที่ได้มาลองเลี้ยงในกะละมัง ทำตามที่เรียนมา แล้วทดลองให้เป็นอาหารปลาที่เลี้ยงไว้ที่บ้าน ก็เริ่มเห็นผลว่าปลาชอบ ปลาสีสวย วันนึงมีลูกค้ามาขอซื้อไส้เดือนไปเป็นอาหารปลาหมอสี พี่ก็เลยลองตักไรน้ำนางฟ้าที่เลี้ยงไว้ให้เขาไปทดลองใช้

จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ “ฟาร์มไรน้ำนางฟ้า” ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ “ฟาร์มไรน้ำนางฟ้า” ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

“เราเริ่มเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าแบบติดลบด้วยซ้ำ ถ้าเราไม่รู้คือเป็นศูนย์ แต่ติดลบคือเราเข้าใจผิด ทำให้เราทำหลายๆ อย่างไม่ถูกต้อง” นุจรี โลหะกุล ถอดบทเรียนที่ได้จากการต่อยอดงานวิจัย “ไรน้ำนางฟ้า” สู่ธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงของครอบครัว หลังอบรมและเรียนรู้การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี นุจรี กลับมาทดลองและฝึกฝนการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในบ่อวงซีเมนต์ขนาด 90 ซม. ที่บ้านพักย่านสมุทรปราการ ควบคู่ไปกับธุรกิจเลี้ยงไส้เดือนดินที่จำหน่ายในชื่อ “เพื่อนดิน” “มีลูกค้าที่ซื้อไส้เดือนเป็นประจำเพื่อเอาไปเป็นอาหารให้ปลาหมอสี ลองตักไรน้ำให้เขาไปลองใช้ เขาใช้อยู่ 2 เดือน เห็นว่าลูกปลาขึ้นหัวโหนกเร็ว สีและรูปทรงปลาสวยมาก หลังจากนั้นก็ขอซื้อและกลายเป็นลูกค้าประจำ” เสียงตอบรับจากลูกค้าที่ได้ใช้ไรน้ำนางฟ้าในฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา จุดประกายให้ นุจรี มองเห็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจใหม่ให้ตัวเองได้ และจากการสำรวจตลาดจำหน่ายในไทย เธอพบว่ายังไม่มีอาหารสัตว์น้ำที่มีโปรตีนสูงและยังมีตัวเร่งสีในธรรมชาติเหมือนไรน้ำนางฟ้า ปี 2559 นุจรี ตัดสินใจขยับขยายพื้นที่การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไปที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา บนพื้นที่ 3.5 ไร่ โดยใช้พื้นที่เริ่มต้น 1 ไร่ ออกแบบโรงเลี้ยง บ่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าและบ่อเลี้ยงคลอเรลล่า (สาหร่ายสีเขียว) เอง ใช้ความรู้จากที่อบรมมาบวกกับประสบการณ์ที่ทดลองเลี้ยงที่บ้านพัก