“บ้านท้องฝาย” ชุมชนปลอดขยะ ดินดีมีคุณภาพ ด้วย “จุลินทรีย์”

จุลินทรีย์1

“แต่ก่อนวิถีของชุมชนกำจัดขยะโดยการเผา นำไปทิ้งในแม่น้ำลำคลอง ที่สาธารณะต่างๆ ทำอย่างไรก็ได้ให้ขยะ ใบไม้ กิ่งไม้พ้นบ้านของตนเอง สร้างปัญหาให้กับชุมชน เรื่องขยะเป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของเทศบาลฯ ฝ่ายเดียว คนในชุมชนต้องมีจิตสาธารณะด้วย”  ร.ต.ต.สุภาพ ยะมะโน หรือ ลุงสุภาพ ประธานคณะกรรมการชุมชนปลอดขยะบ้านท้องฝาย และประธานสภาเทศบาลตำบลริมเหนือ บอกเล่าถึงสภาพการจัดการขยะของชุมชนในอดีต บ้านท้องฝาย หมู่ 2 ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำแม่ริม ชุมชนอาศัยอยู่ใต้ฝาย จึงเรียกว่า บ้านท้องฝาย จากการทิ้งขยะของชุมชนที่นับวันจะเป็นปัญหามากขึ้น ลุงสุภาพจึงได้ร่วมกับทางเทศบาลตำบลริมเหนือผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหา โดยนำความรู้หลายๆ ด้านมาถ่ายทอดให้ชุมชน หนึ่งในองค์ความรู้จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คือ การใช้จุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร หลังจากได้รับความรู้จาก สท./สวทช. ลุงสภาพ ได้สร้างบ่อเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์โดยใช้จุลินทรีย์ช่วยเร่งการย่อยสลายรดในบ่อทุกๆ 6 เดือน ทำให้เศษใบไม้

ทำเกษตรให้แม่นยำ … “สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” ช่วยได้

ทำเกษตรให้แม่นยำ … “สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” ช่วยได้

“ตอนเช้าถ้ามีน้ำค้างที่ยอดหญ้า แสดงว่าความชื้นสูง แต่ถ้ายอดหญ้าแห้ง ความชื้นต่ำ แมลงปอบินต่ำ ฝนจะตกหนัก หรือลมโยกๆ ต้นไม้โศก เตรียมให้น้ำได้…”  ปรากฏการณ์ของธรรมชาติที่ชาวสวนผลไม้มักใช้ควบคู่กับข้อมูลพยากรณ์อากาศของหน่วยงานภาครัฐเพื่อบริหารจัดการแปลงของตนเอง แต่สิ่งเหล่านี้อาจไม่เพียงพอสำหรับการทำสวนของเกษตรกรรุ่นใหม่ ดวงพร เวชสิทธิ์, ธรรมรัตน์ จันทร์ดี, กิตติภัค ศรีราม และณฐรดา พิศาลธนกุล สมาชิก Young Smart Farmer จังหวัดจันทบุรี กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำสวนผลไม้ โดยพวกเขาเริ่มใช้เทคโนโลยีสถานีตรวจวัดอากาศ (weather station) เมื่อปี 2561 “รุ่นพ่อแม่สังเกตจากธรรมชาติ ดูใบ ดูลม ใช้ความรู้สึกวัด สังเกตและจด แต่ไม่มีข้อมูลหรือสถิติที่จับต้องได้ ถ้าเรามีข้อมูลแล้วมาจับคู่กับภูมิความรู้ของพ่อแม่ จะได้องค์ความรู้ที่ชัด แล้วเราเอามาบริหารจัดการพื้นที่ของเราได้” ธรรมรัตน์ อดีตพนักงานบริษัทที่กลับมาทำสวนผลไม้ผสมผสานในพื้นที่ 14 ไร่ สะท้อนถึงสิ่งที่จะได้จากการใช้ข้อมูลที่แม่นยำ

“สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” เครื่องมือช่วยทำเกษตร

“สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” เครื่องมือช่วยทำเกษตร

การปลูกพืชให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพประกอบด้วยหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นคือ สภาพอากาศ ที่หมายรวมถึงอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน หรือแม้แต่แรงลม ซึ่งเกษตรกรอาศัยข้อมูลพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อบริหารจัดการการเพาะปลูก แต่ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและแปรปรวนยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ข้อมูลสภาพอากาศที่ใช้อาจไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของเกษตรกร นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) เป็นเทคโนโลยีระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายและควบคุมอัตโนมัติ เพื่อเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณน้ำฝน ปริมาณแสงแดด ความเร็วลม อุณหภูมิ/ความชื้นอากาศ และความชื้นดิน ซึ่งการเก็บข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ 10 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่โล่ง) เพิ่มความแม่นยำของสภาพอากาศในพื้นที่ เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศช่วยตัดสินใจบริหารจัดการการเพาะปลูกในพื้นที่ตนเองได้ คุณปุ้ย-ดวงพร เวชสิทธิ์ รองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่เขาคิฌชกูฏ อ.เขาคิฌชกูฏ จ.จันทบุรี เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เปิดรับเทคโนโลยีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศที่สวนมังคุดของตนเอง  เพื่อทดสอบ สังเคราะห์และปรับแต่งเทคโนโลยีดังกล่าวให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง “อากาศ” กับ “การทำสวนผลไม้” มังคุดเป็นพืชที่อาศัยจังหวะอากาศในการออกดอกมากถึง

ไรน้ำนางฟ้า: จากงานวิจัยสู่ธุรกิจอนาคตไกล

ไรน้ำนางฟ้า: จากงานวิจัยสู่ธุรกิจอนาคตไกล

 “เราไม่ได้อยู่ในแวดวงเกษตรมาก่อน อย่างไรน้ำนางฟ้า คนถามบ่อยมากว่า มีโรคมั้ย เอาไปเลี้ยงปลาแล้วปลาจะตายมั้ย มันจะเอาโรคไปติดต่อกันมั้ย เราเป็นคนเลี้ยงก็ต้องบอกว่าดี แต่ถ้ามีงานวิชาการที่ทำวิจัยมาแล้วรองรับว่าไม่มีโรคและไม่ติดต่อ เราสามารถพูดได้ ความน่าเชื่อมี ตรงนี้งานวิจัยช่วยพี่มากๆ” ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินภายใต้แบรนด์ “เพื่อนดิน” เป็นธุรกิจแรกของคุณนุจรี โลหะกุล หรือคุณเจี๊ยบ ที่ต่อยอดจากการเข้าร่วมอบรมเรียนรู้จนสามารถผันชีวิตจากมนุษย์เงินเดือนมาเป็นเจ้าของธุรกิจเต็มตัว “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” ยังพาคุณเจี๊ยบให้รู้จักกับ “ไรน้ำนางฟ้า” อีกหนึ่งงานวิจัยด้านเกษตรที่ปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจของผู้หญิงเก่งคนนี้อีกเช่นกัน จากงานออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “เพื่อนดิน” ในงานประชุมวิชาการของ สวทช. คุณเจี๊ยบได้รู้จักกับงานวิจัย “ไรน้ำนางฟ้า” ด้วยความน่าสนใจของสัตว์น้ำตัวเล็กๆ ที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงและยังให้สารเร่งสีสำหรับสัตว์น้ำด้วย คุณเจี๊ยบจึงตัดสินใจเข้าร่วมอบรมเรียนรู้การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเมื่อปี 2555 “อบรมกลับมาก็ไม่คิดจะทำเป็นธุรกิจ เพราะไรน้ำนางฟ้าเลี้ยงยากมาก เรายังไม่มีความรู้มากพอ ไข่ที่ได้มาจากการอบรมก็แช่ไว้ในตู้เย็นอยู่หลายเดือน จนพอมีเวลาว่างจากฟาร์มไส้เดือน ก็เอาไข่ที่ได้มาลองเลี้ยงในกะละมัง ทำตามที่เรียนมา แล้วทดลองให้เป็นอาหารปลาที่เลี้ยงไว้ที่บ้าน ก็เริ่มเห็นผลว่าปลาชอบ ปลาสีสวย วันนึงมีลูกค้ามาขอซื้อไส้เดือนไปเป็นอาหารปลาหมอสี พี่ก็เลยลองตักไรน้ำนางฟ้าที่เลี้ยงไว้ให้เขาไปทดลองใช้

จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ “ฟาร์มไรน้ำนางฟ้า” ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ “ฟาร์มไรน้ำนางฟ้า” ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

“เราเริ่มเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าแบบติดลบด้วยซ้ำ ถ้าเราไม่รู้คือเป็นศูนย์ แต่ติดลบคือเราเข้าใจผิด ทำให้เราทำหลายๆ อย่างไม่ถูกต้อง” นุจรี โลหะกุล ถอดบทเรียนที่ได้จากการต่อยอดงานวิจัย “ไรน้ำนางฟ้า” สู่ธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงของครอบครัว หลังอบรมและเรียนรู้การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี นุจรี กลับมาทดลองและฝึกฝนการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในบ่อวงซีเมนต์ขนาด 90 ซม. ที่บ้านพักย่านสมุทรปราการ ควบคู่ไปกับธุรกิจเลี้ยงไส้เดือนดินที่จำหน่ายในชื่อ “เพื่อนดิน” “มีลูกค้าที่ซื้อไส้เดือนเป็นประจำเพื่อเอาไปเป็นอาหารให้ปลาหมอสี ลองตักไรน้ำให้เขาไปลองใช้ เขาใช้อยู่ 2 เดือน เห็นว่าลูกปลาขึ้นหัวโหนกเร็ว สีและรูปทรงปลาสวยมาก หลังจากนั้นก็ขอซื้อและกลายเป็นลูกค้าประจำ” เสียงตอบรับจากลูกค้าที่ได้ใช้ไรน้ำนางฟ้าในฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา จุดประกายให้ นุจรี มองเห็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจใหม่ให้ตัวเองได้ และจากการสำรวจตลาดจำหน่ายในไทย เธอพบว่ายังไม่มีอาหารสัตว์น้ำที่มีโปรตีนสูงและยังมีตัวเร่งสีในธรรมชาติเหมือนไรน้ำนางฟ้า ปี 2559 นุจรี ตัดสินใจขยับขยายพื้นที่การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไปที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา บนพื้นที่ 3.5 ไร่ โดยใช้พื้นที่เริ่มต้น 1 ไร่ ออกแบบโรงเลี้ยง บ่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าและบ่อเลี้ยงคลอเรลล่า (สาหร่ายสีเขียว) เอง ใช้ความรู้จากที่อบรมมาบวกกับประสบการณ์ที่ทดลองเลี้ยงที่บ้านพัก

หนอนแม่โจ้: อีกหนึ่งผู้ย่อยขยะอินทรีย์ที่น่าจับตา

หนอนแม่โจ้: อีกหนึ่งผู้ย่อยขยะอินทรีย์ที่น่าจับตา

ในช่วงหลายปีมานี้กระแสความนิยมเลี้ยง “ไส้เดือนดิน” มีมากขึ้น ด้วยเป็นตัวเอกที่ช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังให้ผลผลิตเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำไส้เดือนดินที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตสวยงาม  แม้จะมีผู้สนใจเลี้ยงไส้เดือนดินมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการกำจัดขยะอินทรีย์ที่นับวันจะมีมากขึ้น นับเป็นเรื่องดีที่วันนี้นักวิจัยไทยได้ค้นพบแมลงตัวน้อยอีกชนิดหนึ่งที่ย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ดีไม่น้อยกว่าไส้เดือนดิน และยังมีเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสูงสำหรับสัตว์เศรษฐกิจ รวมทั้งมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกไม่น้อย จาก “ไส้เดือนดิน” ถึง “หนอนแม่โจ้” หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วงกว้างแล้วนั้น “ไส้เดือนดิน” ได้ชักนำให้ทีมวิจัยได้รู้จักกับแมลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในโรงเลี้ยงไส้เดือนดินของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำไปสู่การศึกษาวิจัยแมลงชนิดนี้อย่างจริงจังโดยได้ทุนสนับสนุนวิจัยจาก สวทช. ตั้งแต่ปี 2553 ทีมวิจัยศึกษาพบว่า แมลงดังกล่าวเป็นตัวเต็มวัยของแมลงวันลายชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนของแมลงนี้ช่วยจัดการขยะอินทรีย์ได้ด้วย ทีมวิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่ครบวงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้ และตั้งชื่อหนอนแมลงนี้ว่า “หนอนแม่โจ้ (Maejo Maggots)” หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร

“ชันโรง”: ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม

“ชันโรง”: ผึ้งจิ๋ว รายได้แจ่ม

“ใช่ผึ้งมั้ย” “เก็บน้ำผึ้งขายได้มั้ย” คำถามยอดนิยมที่คุณวสันต์ ภูผา เกษตรกรสวนผลไม้และผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงชันโรง ได้ยินเสมอจากผู้มาเยี่ยมชม “ศูนย์สาธิตการเพาะเลี้ยงชันโรง (ผึ้งจิ๋ว)” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม แต่กว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องชันโรงและมีศูนย์สาธิตเพาะเลี้ยงผึ้งจิ๋วแห่งใหญ่นี้ได้ ก็ไม่ใช่เรื่องจิ๋วๆ จาก “ผึ้ง” สู่ “ชันโรง” ตอบโจทย์สวนผลไม้ เช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วไปที่ต้องการให้สวนผลไม้ตนเองมีผลผลิตเพิ่ม เมื่อรู้ว่าสวนลิ้นจี่ในพื้นที่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการเลี้ยง “ผึ้ง” ช่วยผสมเกสร คุณวสันต์ไม่รีรอที่จะเรียนรู้และลงทุนร่วมครึ่งล้านบาทเลี้ยงผึ้งในพื้นที่ของตน แต่กลับไม่เป็นดังที่คาดหวัง ด้วยพฤติกรรมของผึ้งที่จะผสมพันธุ์บนอากาศ จึงกลายเป็นอาหารอันโอชะของนกประจำถิ่นอย่าง “นกจาบคา” แม้สูญเงินจำนวนมากไปแล้ว แต่ด้วยความต้องการเพิ่มผลผลิตให้สวนผลไม้ตนเอง คุณวสันต์ย้อนนึกถึงแมลงผสมเกสรอีกชนิดหนึ่งที่คุ้นเคยมาแต่เด็ก “รู้ว่าชันโรงเป็นแมลงผสมเกสร ก็ไปแคะรังชันโรงที่อยู่ใต้เตียงนอนได้มา 4 รัง เอามาใส่รังที่เหลือจากการเลี้ยงผึ้ง ผ่านไป 6 เดือนจำนวนเพิ่มขึ้นเต็มรัง ก็ลองแยกรังเอง” แม้จะรู้ว่าชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรตระกูลเดียวกับผึ้ง เพียงแต่ไม่มีเหล็กไน

ยกดินขึ้นโต๊ะ…แล้วมาปลูกผักกัน

ยกดินขึ้นโต๊ะ…แล้วมาปลูกผักกัน

เมื่อพูดถึงการปลูกผักบนโต๊ะ เรามักจะนึกถึงการปลูกผักโดยไม่ใช้ดินหรือที่เรียกกันว่า ไฮโดรโพนิกส์ แต่ปัจจุบันการปลูกผักบนโต๊ะโดยใช้ดินเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และหากจะปลูกผักบนโต๊ะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง จะปลูกอะไร ต้องทำอย่างไร …ไปหาความรู้กัน! รศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้คร่ำหวอดการปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์และการปลูกพืชในระบบโรงเรือน บอกว่า ปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจการทำเกษตรมากขึ้น แต่หลายคนมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่และการจัดการดูแลแปลง “โต๊ะปลูกผัก” จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ดังจะเห็นได้จากความนิยมปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์ ซึ่งไม่ต้องใช้ดินและสามารถดัดแปลงโต๊ะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ แต่การปลูกพืชระบบนี้จะมีต้นทุนที่สูงกว่าปลูกบนดิน ต้องอาศัยความรู้และการดูแลเอาใจใส่อย่างดี ด้วยความตั้งใจที่อยากให้ผู้สนใจการทำเกษตรแต่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ สามารถเข้าถึงการปลูกพืชโดยมีต้นทุนไม่สูง อาจารย์บุญส่งจึงได้ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชบนโต๊ะจากระบบไฮโดรโพนิกส์เป็นการปลูกพืชโดยใช้ดินแทน ซึ่งพบว่าการปลูกพืชผักบนโต๊ะนั้นดูแลจัดการแปลงง่าย ห่างไกลแมลงศัตรูพืช มีวัชพืชและโรคระบาดน้อย และที่สำคัญสามารถเก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น 5-7 วันเมื่อเทียบกับการปลูกผักบนดิน “การปลูกผักบนดินโดยเฉพาะในระบบผักอินทรีย์ แมลงและโรคบนดินจะเยอะ โดยเฉพาะหมัดกระโดด จากการทดลองปลูกผักบนโต๊ะที่มีความสูง 1 เมตรจากพื้นดิน ไม่พบแมลงชนิดนี้ เกษตรกรสามารถดูแลจัดการแปลงบนโต๊ะได้ง่าย

พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ

พลังกลุ่ม พลังเกษตรอินทรีย์…ไร้สูตรสำเร็จ

ธรรมชาติของการรวมกลุ่มก่อเกิดจากคนที่มีความคิดอ่านคล้ายกัน ยอมรับในข้อกำหนดหรือแนวทางที่ตกลงร่วมกัน เช่นเดียวกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ที่หลอมรวมขึ้นจากสมาชิกผู้มุ่งมั่นทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี มีเจตจำนงแน่วแน่ในการลดใช้สารเคมี ปฏิเสธสารสังเคราะห์ เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งผู้ผลิตผู้บริโภค สร้างระบบนิเวศที่สมดุล ควบคู่กับการสร้างอาชีพที่มั่นคง และเป็นแบบอย่างการเรียนรู้แก่ผู้สนใจ กว่าสมาชิกจาก 14 ครัวเรือนจะฝังรากบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ได้ แทบทุกคนเคยผ่านการทำเกษตรเคมีมาแล้ว บางคนต้องล้มป่วยเพราะผลจากการใช้สารเคมีอย่างหนักจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด ดังเช่น สุรทอน เหมือนมาต “ตอนทำเกษตรเคมีลงทุนเยอะ ทั้งทุน ทั้งสุขภาพ ทำไปทำมาไม่คุ้ม ตอนแรกดินยังดี แต่พอ 5 ปีขึ้นไปดินเริ่มเสีย พืชเริ่มเป็นโรค ยิ่งใช้สารเคมีหนัก จนมีอาการเหมือนมีลมดันในจมูกขึ้นไปสมอง หายใจไม่อิ่ม นอนก็ไม่อิ่ม ไม่เหมือนทำเกษตรอินทรีย์ใช้ลูกเก็บผักได้เพราะรู้ว่าปลอดภัย” ถวัลย์ ถีระทัน เป็นอีกคนที่ “เคยสนุกกับการทำเคมีและไม่รู้สึกว่าเป็นคนนำสารพิษมาให้ภรรยาและลูก” กระทั่งภรรยาแพ้สารเคมีอย่างหนักจนเข้าออกโรงพยาบาลประจำ จึงทดลองปลูกผักอินทรีย์ตามคำเชิญชวนของ ปิยะทัศน์ ทัศนิยม ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง หลังจากปลูกผักอินทรีย์ขายได้ 2 ปี ถวัลย์มีรายได้มากกว่าอาชีพขายเสื้อผ้าเร่ที่ทำอยู่เดิม แถมได้สุขภาพที่แข็งแรงของภรรยากลับมา