“เลี้ยงผึ้ง” ที่ได้มากกว่า “น้ำผึ้ง”

้honey

    เรารู้จัก “ผึ้ง” ในฐานะแมลงผสมเกสรที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่ภายใต้เหล็กไนที่เป็นอาวุธประจำกาย แมลงตัวเล็กนี้ยังสัมพันธ์กับระบบนิเวศ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน หรือแม้แต่งบประมาณค่ารักษาพยาบาลของประเทศ โดยมี “งานวิจัย” ที่เชื่อมโยงและสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่ามหาศาลของ “ผึ้ง” – – – – – – – – – – – – – –   พื้นที่แปลงสับปะรด 25 ไร่ ถูกแปลงสภาพเป็นพื้นที่เกษตรผสมผสาน ปลูกไม้ผลไม้ดอก พืชผัก เลี้ยงเป็ด วัว ฯลฯ ซึ่ง แมนรัตน์ ฐิติธนากุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 ต.บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ตั้งใจให้พื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ หวังช่วยปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวอย่างสับปะรดให้ชาวบ้าน

หมอนยางพาราบ้านแพรกหา ต้นแบบการแก้ปัญหาราคาน้ำยาง ด้วยการพึ่งพาตัวเอง

หมอนยางพาราบ้านแพรกหา ต้นแบบการแก้ปัญหาราคาน้ำยาง ด้วยการพึ่งพาตัวเอง

ในภาวะวิกฤติราคาน้ำยางตกต่ำ อนันต์ จันทร์รัตน์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ต้องการแก้ปัญหาราคาน้ำยางเช่นกัน ด้วยวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลและความมุ่งมั่น จึงเกิดเป็นธุรกิจแปรรูปน้ำยางพาราในระดับชุมชนแห่งแรกที่สามารถผลิตหมอนยางได้เองทุกกระบวนการ ตั้งแต่การรับน้ำยางสดจากสมาชิกไปจนถึงการผลิตเพื่อจำหน่าย พึ่งพาตัวเองและแก้ไขปัญหาราคาน้ำยางได้อย่างยั่งยืน ย้อนหลังไปเมื่อปี 2557 อนันต์ เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรพนมวังก์ จำกัด เขามีแนวคิดผลิตหมอนยางพาราเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางสด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคุณชาย คงแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ดำเนินการของบประมาณตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ปี 2558 (โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพารา) จัดตั้งโรงงานผลิตหมอนและที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพ “โครงการที่ไม่มีวันเป็นไปได้ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เกษตรกรไม่มีทางทำได้” คือคำสบประมาทที่ได้ยินจนชินหู แต่กลับเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ อนันต์ เดินหน้าแก้ไขปัญหาราคาน้ำยางตามแนวคิดที่ตนเองมองแล้วว่า “เป็นไปได้” หนทางความฝันของเขาเริ่มชัดเจนขึ้น แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับจากชุมชนให้จัดตั้งโรงงานผลิตหมอนยางพาราตามโครงการ อนันต์ นำความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาพร้อมโครงการกลับสู่บ้านเกิดที่ตำบลแพรกหา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง หารือผู้นำท้องถิ่นและชุมชนถึงโครงการที่ได้มา จนได้รับการยอมรับ และนำมาสู่การจัดตั้ง สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 มีสมาชิกจัดตั้งจำนวน 50 คน เริ่มผลิตหมอนยางพาราเมื่อวันที่

“ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” กลับบ้าน สร้างอาชีพ มีรายได้

“ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” กลับบ้าน สร้างอาชีพ มีรายได้

“คิดอย่างเดียว ถ้าไปเป็นลูกจ้างเขา เหนื่อยก็เหนื่อยให้เขา ไม่ได้กลับบ้านซะที แต่ถ้าเราลองทำดู โครงการ 3 ปี ถ้าไม่ได้จริงๆ ค่อยว่ากัน” สุวิตรี แดนขนาน บอกไว้ในช่วงจบปีแรกที่เข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ รุ่นที่ 1” ถึงวันนี้จบโครงการฯ แล้ว แต่ สุวิตรี ยังคงเดินบนเส้นทาง “ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์” “กลับมาปีแรก ไฟแรง อยากหาลูกไล่ล่ะ” สุวิตรี ย้อนความถึงวันที่กลับมา “สร้างอาชีพ” ที่บ้านเกิด หลังจบการศึกษาจากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพิ่มพูนทักษะการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่บริษัท สุพรีมโกลด์ จำกัด อีก 6 เดือนก่อนกลับมาผลิตเมล็ดพันธุ์มะระและถั่วฝักยาวส่งให้บริษัทฯ โดยมี วรนารี แดนขนาน พี่สาวที่เรียนจบด้านเกษตรและลาออกจากงานประจำมาร่วมด้วยช่วยกัน ด้วยมองว่า “ทำของตัวเอง เหนื่อยก็เป็นของเรา” “ตอนฝึกงานกับบริษัท เรียนรู้สบายๆ แต่กลับมาเจอของจริงที่บ้าน ต้องรับสภาพทุกอย่าง เป็นแรงงานด้วย เป็นคนดูด้วย ปีแรกยังไม่ท้อ

ฐานเรียนรู้ “การผลิตอาหารโคคุณภาพ”

ฐานเรียนรู้ “การผลิตอาหารโคคุณภาพ”

“การเลี้ยงโคแม่พันธุ์เพื่อเลี้ยงเอาลูกโค แต่ก่อนที่ฟาร์มผมเน้นให้อาหารหยาบที่หาวัตถุดิบได้ง่ายในท้องถิ่น จะเป็นพืชชนิดไหนก็ได้ ขอให้ต้นทุนถูกที่สุด เอามาผสมกับอาหารข้น โรยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ด้านบนเป็นท็อปปิ้งให้โคกินจนอิ่ม จนได้มาอบรมกับ สวทช. ถึงได้รู้ว่า อาหารหยาบหรือพืชแต่ละชนิดให้สารอาหารและพลังงานที่แตกต่างกัน” “FP Samanmit Farm” ของ ภุมรินทร์ สมานมิตร-สุนันทา สังข์ทอง ได้รับคัดเลือกจากสมาชิกกลุ่มโคเนื้อทาจิมะในจังหวัดระยอง ให้เป็นต้นแบบฐานเรียนรู้การเลี้ยงโคเนื้อของพื้นที่ ด้วยบริหารจัดการฟาร์มขนาดกลางที่มีโคราว 60 ตัว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โคมีคุณภาพ ได้น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงการดูและสภาพแวดล้อมฟาร์มให้สะอาด อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนความรู้เทคโนโลยีการผลิต­­อาหารโค ภายใต้โครงการ การผลิตอาหารโคเพื่อความยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) พัฒนาสูตรอาหารโคที่เน้นการใช้วัตถุดิบหลักในท้องถิ่น สำรวจและเก็บตัวอย่างวัตถุดิบเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางโภชนะ สร้างทางเลือกให้เกษตรนำไปปรับใช้เพื่อให้ได้คุณค่าตามความต้องการโภชนะของโค

ยางชุมน้อยโมเดล: การปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่อแปรรูป

ยางชุมน้อยโมเดล: การปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่อแปรรูป

อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นพื้นที่ผลิตพริกชั้นดีของประเทศไทย เกษตรกรในพื้นที่มีอาชีพผลิตพริกจำหน่ายให้ลูกค้าในประเทศ แต่เกษตรกรยังมีรายได้น้อย ทั้งๆ ที่ทำการเกษตรมานาน มีความชำนาญและขยัน การผลิตพริกแบบเดิมมีต้นทุนสูง มีปัญหาโรคแมลงและใช้สารเคมีปริมาณมาก ทำให้ สุจิตรา จันทะศิลา ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และต้องการกลับบ้านมาช่วยเหลือเกษตรกรที่บ้านเกิด จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนติ้ว ตำบลโนนคูณ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ 27 สิงหาคม 2558 ให้เกษตรกรผลิตพริกแห้งปลอดภัยเพื่อแปรรูปและส่งออก เช่น ผลิตพริกสายพันธุ์ “ยอดสนเข็ม 80” ป้อนให้บริษัท บางกอกแลปแอนด์คอสเมติก จำกัด โดยประกันราคารับซื้อ บริษัทฯ ต้องการผลผลิตพริกแห้งพันธุ์นี้ประมาณปีละ 5 – 10 ตันต่อปี หรือ พริกสด

โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ

โคขุน ขุนโคด้วยอาหารหมักคุณภาพ

ทุกๆ วันก่อนไปทำงานและเลิกงานจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา สุริยะ ทองสา จะแบ่งเวลามาดูแลโคสายพันธุ์ลูกผสมบราห์มัน-ชาโลเล่ย์ที่ “สุนิสาฟาร์ม” ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา ฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อที่เขาตั้งใจทำไว้รองรับชีวิตหลังเกษียณ ด้วยคลุกคลีอยู่ในแวดวงการเลี้ยงสัตว์ สุริยะ มองว่าหากเลี้ยงสัตว์เป็นรายได้เสริม “โค” หรือ “วัว” เป็นตัวเลือกที่ให้ราคางาม แม้จะมีต้นทุนค่าอาหารสูง แต่วัตถุดิบทางการเกษตรที่มีมากมายในท้องถิ่นเป็นตัวช่วยได้ “ถ้าลดต้นทุนได้มาก จะมีกำไรมาก แม้ว่าขายราคาเท่ากัน แต่ต้นทุนจะเป็นตัวกำหนดว่าได้กำไรมากหรือน้อย” เป็นแนวคิดการทำฟาร์มเลี้ยงโคเนื้อของ สุริยะ ที่เริ่มจากเลี้ยงปล่อยทุ่งและขายให้พ่อค้าทั่วไป ก่อนเปลี่ยนมาเลี้ยงวัวแบบไขมันแทรกหรือ “โคขุน” ส่งให้ “สหกรณ์โคขุนดอกคำใต้” ด้วยเหตุผลตลาดรับซื้อแน่นอนและราคารับซื้อสูงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 110 บาท ขณะที่วัวเนื้อทั่วไปราคากิโลกรัมละ 80 บาท เมื่อตัดสินใจหันมาเลี้ยงวัวไขมันแทรก สุริยะ หาความรู้จากหน่วยงานที่สังกัดและค้นคว้าข้อมูลจากวารสารต่างๆ ทำให้พบว่านอกจากสายพันธุ์และการจัดการสภาพแวดล้อมในฟาร์มแล้ว “อาหาร” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัวมีไขมันแทรก “เดิมเน้นให้หญ้าเนเปียร์ รูซี่ กินนี่ แต่วัวที่ต้องการไขมันแทรก ไม่เน้นหญ้า จะเน้นฟาง อาหารข้น อาหารประเภทแป้ง เคยเอาเปลือกข้าวโพดมาให้วัวกิน เพราะคิดว่าคล้ายฟางและเป็นของเหลือทิ้งอยู่แล้ว เห็นแล้วเสียดาย

นวัตกรรมฟางข้าวอินทรีย์: ผลิตภัณฑ์จากบ้านสามขา จังหวัดลำปาง

นวัตกรรมฟางข้าวอินทรีย์: ผลิตภัณฑ์จากบ้านสามขา จังหวัดลำปาง

อย่าโยนฉันทิ้ง ให้โอกาสฉันงอกงามในสวนคุณ “กระดาษที่สื่อสารมากกว่าตัวหนังสือ” คุณเคยได้รับกระดาษโน๊ตที่ส่งผ่านด้วยข้อความสั้นๆ ไหม? หลังจากคุณอ่านข้อความแล้ว กระดาษเหล่านั้นหายไปไหน? วันนี้กระดาษโน๊ตจากฟางข้าว หรือ “สวนกระดาษ” ทำให้คุณเข้าใจมากกว่าตัวหนังสือ เพราะสวนกระดาษ คือสิ่งที่สื่อความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการดูแลเอาใจใส่เมล็ดพันธุ์ในกระดาษให้งอกเจริญเติบโตเป็นต้นกล้า กระทั่งนำไปบริโภคได้ กระดาษฟางข้าวไม่เพียงใช้เขียนเพื่อสื่อข้อความ แต่เป็นปุ๋ยไร้สารเคมีชั้นดี ทำให้พืชเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อศัตรูพืช เมื่อถึงช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวในหลายพื้นที่ในประเทศไทย “ฟางข้าว” ส่วนที่เหลือใช้จากการเลี้ยงสัตว์และการเพาะปลูกกลายเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมกำจัดฟางข้าวโดยการเผาทำลายมากกว่าการปล่อยให้ย่อยสลาย เพราะความสะดวก รวดเร็ว และการขาดแคลนแรงงาน กลายเป็นปัญหาหมอกควันหรือมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นทุกปี รวมทั้งการสูญเสียอินทรีย์วัตถุที่กลับคืนสู่ผืนดิน “หมู่บ้านสามขา” มีการรณรงค์ในเรื่องการเผา จนได้รับรางวัลเป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผาฟางข้าว หมู่บ้านสามขา อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยภูเขา เป็นแหล่งต้นน้ำธรรมชาติที่บริสุทธิ์จากยอดดอย ชาวบ้านสามขาใช้น้ำธรรมชาติจากยอดดอยสำหรับอุปโภคและบริโภค การทำเกษตรทำนายึดถือตามวิถีชีวิตคนในชุมชนที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ใช้หลักการของเกษตรแบบอินทรีย์ คือการทำนาโดยไม่ใช้สารเคมี

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“ถั่วเขียว KUML” ปลูกด้วยใจ ได้คุณภาพ

“สมัยก่อนหว่านถั่วเขียวที่หัวไร่ปลายนา เอาไว้ทำไส้ขนม หว่านถั่วลิสงไว้ทำกระยาสารท รุ่นพ่อแม่เก็บเมล็ดไว้นิดหน่อยเพื่อใช้หว่านรอบต่อไป” ประดิษฐ์ เขม้นเขตร์กิจ ผู้ใหญ่บ้านดอยหวาย หมู่ 7 ต.บ่อยาง อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี บอกเล่าวิถีการปลูกพืชหลังของคนรุ่นพ่อแม่เมื่อกว่า 40 ปีจากพืชที่ปลูกไว้เพื่อใช้ในครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกไม่มากมาย วิถีการปลูกถั่วเขียวของชุมชนเริ่มปรับเปลี่ยนได้ราว 15 ปี หลังมีข้อกำหนดห้ามทำนาปรัง เกิดการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกถั่วเขียวเป็น “อาชีพเสริม” มีทั้งส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพืชไร่ชัยนาทและจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางป้อนสู่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สำหรับชาวนาจะเริ่มปลูกถั่วเขียวหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยปลูกในช่วงพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ส่วนชาวไร่จะปลูกถั่วเขียวในช่วงเดือนพฤษภาคมก่อนลงปลูกข้าวโพด สายพันธุ์ถั่วเขียวที่ชาวบ้านนิยมปลูก เช่น ชัยนาท 84-1 กำแพงแสน 1 กำแพงแสน 2 “ช่วงปี 2559 เมล็ดพันธุ์กำแพงแสนมีไม่พอ ลูกบ้านอยากได้พันธุ์อื่นมาปลูกเพิ่ม ก็ไปสอบถามจากเกษตรอำเภอ ถึงได้รู้ว่ามีพันธุ์ KUML เข้ามาใหม่” ประดิษฐ์ ย้อนความเมื่อวันที่ได้รู้จักถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่

สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

“เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยากแต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ” คือที่มาที่ไปของชื่อ “สวนปันบุญ” แห่งบ้านดอนแคน ต.ฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ซึ่งคนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปันนับตั้งแต่ก้าวแรกของการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญตั้งแต่ปลายปี 2555 ก่อนหน้านี้ชาวบ้านคุ้นชินกับการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาจนล้มป่วยด้วยโรคผิวหนัง สะเก็ดเงิน และโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดัน และมะเร็งซึ่งคร่าชีวิตคนในหมู่บ้านไปทีละน้อย กลายเป็นคำถามที่ สุจารี ธนสิริธนากร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ต้องการหาทางออกเพื่อเป็นทางเลือกทางรอดให้ชาวบ้านนับตั้งแต่ตัดสินใจลาออกจากการทำงานในกรุงเทพฯ เธอลงมือค้นหาคำตอบผ่านการทำงานวิจัยไทบ้านร่วมกับคู่ชีวิตและชาวบ้านที่สนใจ คำตอบที่ได้ในวันนั้น คือ การกลับมาทำนาแบบโบราณ หรือ การทำเกษตรอินทรีย์ เลิกการใช้สารเคมีโดยสิ้นเชิง แม้ทุกคนจะรู้ว่าดี แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรม สุจารี ยอมสละที่นาตัวเองให้เพื่อนสมาชิกทดลองปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี