ใช้เป็น ใช้จริง ใช้ “โรงเรือนพลาสติกปลูกพืช” อย่างมีความรู้

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ

“โรงเรือนปลูกพืช” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการเกษตรที่เกษตรกรให้ความสนใจมากขึ้น ด้วยตอบโจทย์ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ซึ่งรูปแบบโรงเรือนปลูกพืชมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดพืชและเงินทุนของเกษตรกร วิรัตน์  โปร่งจิต ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักสดและผลไม้แปรรูปบ้านหนองทราย อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา หนึ่งในเกษตรกรที่เห็นความสำคัญของการใช้โรงเรือนปลูกพืช ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกกว่า 3 ไร่ของเขา ติดตั้งโรงเรือนปลูกพืช 5 หลัง โดยเป็น “โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผักคุณภาพ” ของ สวทช. ถึง 4 หลัง สร้างรายได้จากการปลูกผักต่อเดือน 30,000-40,000 บาท/เดือน จากเดิมที่ได้ไม่ถึง 20,000 บาท/เดือน “แต่ก่อนไม่มีโรงเรือน ปลูกผักหน้าฝนไม่ค่อยได้ผลผลิต อย่างผักบุ้งเจอโรคราสนิม แต่พอปลูกในโรงเรือน ไม่เจอปัญหาและยังได้ราคาดีด้วย” โรงเรือนปลูกพืชหลังแรกของวิรัตน์เป็นโรงเรือนทรงหลังคาฟันเลื่อย หรือที่เรียกว่า หลังคา ก.ไก่ ซึ่งได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่น

ให้ “เทคโนโลยี” ดูแล “มันสำปะหลัง”

ให้ “เทคโนโลยี” ดูแล “มันสำปะหลัง”

ท่ามกลางแสงแดดแรงกล้า ไอร้อนระอุแผ่ซ่านไปทุกตารางนิ้วในพื้นที่ต.วังชะพลู สองข้างทางถนนลูกรังละลานตาด้วยแปลง “มันสำปะหลัง” พืชที่ว่ากันว่าปลูกแล้วให้เทวดาดูแล ยืนต้นชูใบมิเกรงกลัวความร้อน รอเวลาที่ชาวบ้านจะเก็บผลผลิตสร้างรายได้หลักให้พวกเขา แม้ต้องการหาทางเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่ได้เพียง 2-3 ตันต่อปี ลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่สูงขึ้น แต่ประสบการณ์จากภาครัฐ ทำให้ ศรีโพธิ์ ขยันการนาวี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.วังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร ลังเลทุกครั้งเมื่อมีโครงการใดเข้ามาในพื้นที่ “ที่ผ่านมาเบื่อนักวิชาการ มาแล้วก็หายไป ขออย่างเดียว อย่าทิ้งเกษตรกร ถ้าไม่ทิ้ง เกษตรกรเขาสนใจอยู่แล้ว” ข้อความที่ ศรีโพธิ์ บอกต่อทีมผู้เชี่ยวชาญโครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง” หลังจากที่เข้าตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้ในปี 2557 เมื่อได้ไปเห็นแปลงมันสำปะหลังที่นครราชสีมาที่ได้เข้าร่วมโครงการ “ปลูกมันก็รู้แบบงูๆ ปลาๆ สายพันธุ์ไหนใครว่าดี ก็ปลูกตามกัน สูตรปุ๋ยนึกอยากใส่แค่ไหนก็ใส่ ปลูกก็ปลูกถี่ๆ

“หอมชลสิทธิ์” ข้าวทนน้ำท่วม หอม นุ่ม ด้วยคุณภาพ

“หอมชลสิทธิ์” ข้าวทนน้ำท่วม หอม นุ่ม ด้วยคุณภาพ

จังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญอีกแห่งของภาคใต้ มีพื้นที่ปลูกข้าวราว 3 แสนไร่ แต่ด้วยสภาพอากาศ “ฝนแปดแดดสี่” ของภาคใต้ส่งผลกระทบไม่น้อยต่อเกษตรกรที่สูญเสียทั้งพืชอาหารบริโภคและรายได้จากการจำหน่ายข้าว ปี 2557 ชาวตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง รู้จัก “ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” หลังจากที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ขอสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์จากมูลนิธิชัยพัฒนา นำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรได้เพาะปลูก ดังที่ “บ้านโคกฉิ่ง” หมู่ 11 ตำบลชัยบุรี แหล่งผลิตพันธุ์ข้าวนี้ที่มี สมมาตร มณีรัตน์ และทวี บุษราภรณ์ สองเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของบ้านโคกฉิ่ง รับหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์เมื่อปี 2560 บนพื้นที่ปลูกคนละ 5 ไร่ ก่อนส่งต่อเมล็ดพันธุ์ให้สมาชิก “วิสาหกิจกลุ่มข้าวหอมชลสิทธิ์บ้านโคกฉิ่ง” นำไปเพาะปลูกเพื่อบริโภค “กลุ่มมีสมาชิก 21 คน ส่วนใหญ่จะปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์ไว้กินในครัวเรือน มีบางรายที่ปลูกได้มาก ก็จะขาย และมีสมาชิกเริ่มสนใจปลูกเพื่อทำเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้น” ปรีชา อ่อนรักษ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจข้าวหอมชลสิทธิ์บ้านโคกฉิ่ง บอกเล่าถึงการปลูกข้าวหอมชลสิทธิ์ของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งนอกจากเป็นประธานของกลุ่มฯ แล้ว ปรีชา ยังทำหน้าที่นักการตลาดให้กลุ่มฯ รับซื้อข้าวเปลือกจากสมาชิกและหาตลาดจำหน่าย โดยเขาประกันราคาข้าวให้สมาชิกที่ 8,000 บาท/ตัน ก่อนนำไปสีและจำหน่ายเป็นข้าวสารราคากิโลกรัมละ 30 บาท หากแพ็คสุญญากาศจำหน่ายกิโลกรัมละ 50 บาท ส่วนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์รับซื้อเมล็ดพันธุ์สด (ไม่อบแห้ง) ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท และจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 18 บาท ซึ่งรายได้จากการขายข้าวสารและเมล็ดพันธุ์จะนำมาเฉลี่ยเป็นเงินปันผลให้สมาชิก ก่อนหน้าที่สมาชิกกลุ่มฯ ได้รู้จักพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ พันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่มีหลากหลายทั้งพันธุ์พิษณุโลก พันธุ์ชัยนาท พันธุ์หอมปทุม รวมถึงพันธุ์พื้นเมืองอย่างเล็บนกและสังข์หยด

“ข้าวหอมชลสิทธิ์ สู้วิกฤตน้ำท่วม” สู่ “หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ”

“ข้าวหอมชลสิทธิ์ สู้วิกฤตน้ำท่วม” สู่ “หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ”

จากสภาพปัญหาน้ำท่วมนาข้าวจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำเกือบทุกปี ทำให้พืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าวได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และกรมการข้าว ปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา และคณะ จากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว (หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)) สวทช. ร่วมกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมคุณภาพดีที่ทนน้ำท่วมฉับพลัน โดยผสมระหว่างพันธุ์ข้าวไออาร์ 57514 ที่ทนต่อน้ำท่วมฉับพลันกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ไม่ทนน้ำท่วม ได้พันธุ์ชื่อว่า “ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” “ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” จมอยู่ใต้น้ำได้นาน 2-3 สัปดาห์ ฟื้นตัวหลังน้ำลดได้ดี ความสูงต้นประมาณ 105-110 เซนติเมตร จำนวนรวงต่อกอประมาณ 15 รวง (นาดำ) ลำต้นแข็ง ไม่หักล้มง่าย นอกจากคุณสมบัติเด่นในการทนน้ำท่วมฉับพลันแล้ว พันธุ์หอมชลสิทธิ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 800-900 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพการหุงต้มคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปริมาณอะไมโลส ร้อยละ 14-18 และมีกลิ่นหอม เมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน ปลายปี 2556 พื้นที่ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้ปริมาณน้ำในคลองไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่นาข้าวซึ่งเพาะปลูกกันมากในเขตอำเภอเมืองพัทลุงและอำเภอควนขนุน องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลันจากมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน สวทช. น้อมเกล้าฯ ถวาย