พัฒนาเชิงพื้นที่ อนุรักษ์-ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน: ชุมชนฮาลา-บาลา

พัฒนาเชิงพื้นที่ อนุรักษ์-ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน: ชุมชนฮาลา-บาลา

“ป่าฮาลา-บาลา” ผืนป่าดืบชื้นบนพื้นที่เกือบ 4 แสนไร่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา จังหวัดยะลาและนราธิวาส ขึ้นชื่อว่าเป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากแห่งหนึ่งของประเทศทั้งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ด้วยอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ ไม่เพียงการรักษาสิ่งมีชีวิตในพื้นป่าให้คงอยู่ หากการพัฒนาชีวิตผู้คนในพื้นที่ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน การเกิดขึ้นของ “หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้นฮาลา-บาลา” โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อเกือบ 20 ปี คือจุดเริ่มต้นของการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่า และขยายสู่การทำงานพัฒนาเชิงพื้นที่ของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ในชุมชนรอบพื้นที่ป่าบาลา ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้จากทรัพยากรท้องถิ่นโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชุมชนรอบพื้นที่ป่าบาลาเป็นพื้นที่ทำงานเชิงพื้นที่ของ สท. ในระดับ 2 ดาว ที่มีจุดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ แต่ชุมชนยังประสบปัญหาด้านอาชีพและรายได้ และด้วยบริบทของพื้นที่ที่อิงแอบกับความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า หากเกิดการเรียนรู้และรู้จักใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่อย่างเข้าใจ

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

“เทคโนโลยีและนวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ได้รับการส่งเสริมอย่างมากในภาคการเกษตร เพื่อให้เกิดการทำเกษตรในรูปแบบ “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” (smart farming) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต และนำไปสู่การทำเกษตรที่ “ทำน้อย แต่ได้มาก” สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือยกระดับการผลิตและคุณภาพชีวิตเกษตรกร ไม่เพียงการถ่ายทอดความรู้และขยายผลเทคโนโลยีสู่เกษตรกรโดยตรง สท. ยังได้ใช้กลไกการสร้างผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ หรือ ASI (Agriculture System Integrator: ASI) เป็นอีกช่องทางสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการจากผู้ประกอบที่ได้รับการยกระดับความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้บ่มเพาะผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. และพร้อมเป็นผู้ให้บริการเกษตรกร ซึ่งทำให้เกิดการขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สู่การใช้งานจริงได้มากขึ้น

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

เมล็ดใหญ่ สุกแก่เร็ว ให้ผลผลิตสูงได้ถึง 300 กก./ไร่ ต้านทานโรคราแป้งและใบจุด คือจุดเด่นของถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่เริ่มได้รับความนิยมจากเกษตรกร หลังจากที่ สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ขยายผลการปลูกถั่วเขียว KUML อย่างมีคุณภาพให้เกษตรกรโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จนเกิดการจัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพระดับชุมชนส่งต่อเมล็ดพันธุ์ KUML ให้เกษตรกรทั่วประเทศ ถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่ไม่เพียงช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป หากเมล็ดถั่วเขียว (grain) ยังเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร และด้วยจุดเด่นของถั่วเขียว KUML บวกกับการปลูกอย่างมีความรู้ ทำให้ผลผลิตถั่วเขียวเป็นที่ต้องการของบริษัทรับซื้อ ดังเช่น บริษัท กิตติทัต จำกัด

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

โครงการ “อุบลโมเดล” คือจุดเริ่มการทำงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต.กู่จ่าน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร จำนวน 60 คน พื้นที่ปลูกรวม 354 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 1.3 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน/ไร่ จากเดิม 3 ตัน/ไร่ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ด้วยราคารับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2565

ลงทุนโรงเรือน (ไม้ไผ่) อย่างไรให้คุ้มทุน

ลงทุนโรงเรือน (ไม้ไผ่) อย่างไรให้คุ้มทุน

น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรีนักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) เกือบทุกครั้งที่เราพูดถึงโรงเรือนไม้ไผ่ มักจะมีคำถามว่า ต้นทุนเท่าไหร่? แพงไหม? อายุกี่ปี? คุ้มไหม? ปลูกผักอะไรได้บ้าง? …. วันนี้จะพาไปเรียนรู้จาก “กลุ่มเกษตรกรบ้านแป้น” ต.บ้านแป้น อ.เมือง จ.ลำพูน กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผักจริง ใช้โรงเรือนจริง ที่นี่สร้างโรงเรือนไม้ไผ่หลังคาจั่ว 2 ชั้นรูปแบบของ สวทช. ขนาด 6×15 เมตร ใช้ไม้ไผ่จากสวน ป่าหัวไร่ปลายนา หรือหาซื้อในพื้นที่ ตีมูลค่าตามราคาพื้นที่ ค่าแรงไม่มี เพราะอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนช่วยกันสร้าง หากจะตีราคาก็คงเป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง คือ พลาสติกคลุมหลังคาขนาด 4×48 เมตร ราคาประมาณ 3,500 บาท+

“ปลูกให้เป็น ปลูกให้มีกิน” สร้างความมั่นคงทางอาหารที่แนวชายแดน

“ปลูกให้เป็น ปลูกให้มีกิน” สร้างความมั่นคงทางอาหารที่แนวชายแดน

เด็กได้เรียนรู้ระบบผลิตพืชผักเกษตรอินทรีย์ อินทรีย์ช้ากว่า แต่ดีต่อตัวเขา ต่อชุมชน และถ้าทำได้มาตรฐาน จะเพิ่มมูลค่าให้พืชในท้องถิ่นเขาได้ -ด.ต.สมดุลย์ โพอัน- “ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ แต่พอมีโครงการของอาจารย์ ก็ทำให้เรามีความรู้” ลัดดา อมรไฝ่ประไพ เกษตรกรบ้าน กล้อทอ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านเกษตรจาก รศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ทั้งการปลูกพริก งา ฟักทอง การเก็บเมล็ดพันธุ์ การผลิตสารชีวภัณฑ์ หรือแม้แต่ กล้วยหอมพันธุ์แขนทอง พืชชนิดใหม่ในพื้นที่ “เทศบาลฯ ของเราอยากลองอะไรใหม่ๆ เพื่อมาเสริมการทำไร่ที่เป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน อาจารย์เข้ามาให้ความรู้หลายเรื่อง แต่ที่ได้ผลและเห็นเป็นรูปธรรมก็คือ กล้วยหอมพันธุ์แขนทอง ที่นี่มีแต่กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมเป็นพืชใหม่ มีชาวบ้าน 20

“สับปะรดบ้านสา” ผลผลิตคุณภาพ-สร้างมูลค่า ด้วยความรู้-ความใส่ใจ

“สับปะรดบ้านสา” ผลผลิตคุณภาพ-สร้างมูลค่า ด้วยความรู้-ความใส่ใจ

ทำแต่สิ่งเก่าๆ ที่สืบสานกันมาก็ได้แบบเดิม สิ่งใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและได้คุณภาพกว่า -ปรีดา บุญเตี่ยม- “ผลใหญ่ หวานฉ่ำ ไม่กัดลิ้น” คือจุดเด่นของสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียที่ปลูกกันมากในหมู่ 5 ของต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ภายใต้ “กลุ่มแปลงใหญ่สับปะรดบ้านสา” ที่มีพื้นที่ปลูกรวม 1,600 ไร่ เป็นพืชที่สร้างรายได้หลักให้ชาวบ้านสาร่วม 80 ครัวเรือน “พื้นที่ตรงนี้ไม่ค่อยมีน้ำ สภาพแห้งแล้ง สับปะรดจึงเป็นพืชทางเลือกของชาวบ้าน โดยซื้อพันธุ์จากบ้านเสด็จมาลองปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่อยู่เหนือเขื่อนกิ่วลม ทั้งอากาศและลักษณะโครงสร้างดิน ทำให้สับปะรดบ้านสามีรสชาติที่ดีเด่น” ผศ.สันติ ช่างเจรจา สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล้านนา บอกเล่าภูมิหลังของสับปะรดบ้านสาที่มีต้นทุนที่ดีจากธรรมชาติ สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดลำปาง บ้านสาเป็นแหล่งปลูกใหญ่รองจากบ้านเสด็จ อ.เมือง ผลผลิตสับปะรดส่วนใหญ่ส่งเข้าโรงงานแปรรูปในพื้นที่และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ PGS ใต้ร่มบุญ : ปันความรู้ สร้างแนวร่วม พัฒนาไปด้วยกัน

เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ PGS ใต้ร่มบุญ : ปันความรู้ สร้างแนวร่วม พัฒนาไปด้วยกัน

ขาดทุนจากลองทำ ถ้าเราไม่ลงมือทำ สมาชิกเราก็ไม่ได้ ส่วนกำไร เราได้ทั้งความรู้ ได้เพื่อนและได้บุญ -มนูญ แสงจันทร์สิริ- “ช่วยตานูนเท่ากับช่วยสมาชิก เท่ากับช่วยเครือข่าย” ประโยคคำพูดสั้นๆ ที่ มนูญ แสงจันทร์สิริ หรือ ตานูน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม่อนผลแปรรูปกลุ่มใต้ร่มบุญ จ.สงขลา บอกไว้ในเวทีหารือความร่วมมือที่มีหน่วยงานรัฐและเอกชนเข้าร่วมกว่า 10 แห่ง ซึ่งล้วนเป็นหน่วยงานสนับสนุนการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของ ตานูน มาเกือบสิบปี ชีวิตที่ผ่านงานรับจ้างมาหลากหลายทั้งกรีดยาง ทหารพราน เซลล์ขายของ รองผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนมาเป็นนายตัวเองกับอาชีพเกษตรกรด้วยการเลี้ยงแพะ และได้มารู้จักต้นหม่อนหรือมัลเบอร์รี่ที่มีโปรตีนสูง ใช้เป็นอาหารเลี้ยงแพะได้ “ปลูกหม่อนใบเพื่อเอามาเลี้ยงแพะ แล้วมารู้ว่าหม่อนผลมีโปรตีนสูงเหมือนกัน ก็เรียนรู้วิธีปลูก ทำไปทำมาก็เริ่มคิดแล้วว่าจะอยู่เฝ้าแพะแบบนี้ไปเรื่อยๆ มันไม่ใช่ล่ะ เลยลองเอาผลหม่อนมาแปรรูปเป็นน้ำหม่อนไปวางขาย ปรากฏว่าขายดี ก็จุดประกายอาชีพให้เรา” จากแปรรูปหม่อนในระดับครัวเรือน

“ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริง และความรู้เกษตรอินทรีย์

“ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริง และความรู้เกษตรอินทรีย์

จะปลูกพืชชนิดไหน ต้องหาความรู้ว่าพืชต้องการอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อลดความเสี่ยงการผลิต แล้วจัดการให้ได้ ผลผลิตก็จะได้ 100% -ภิญญา ศรีสาหร่าย- “กลับบ้านเถอะลูก พ่อปลูกต้นท้อไว้รอเจ้า  กลับบ้านสู่บ้านเรา ไหนว่าเจ้าไปเพื่อเรียน หลายปีผ่านไป สุขทุกข์อย่างไร พ่อรออยู่    ดอกท้อชู ช่อชู ไกลสุดกู่ หรืออย่างไร พ่อทำฝนเทียมและห้วนฝาย ไว้คอยเจ้า พร้อมเมล็ดพันธุ์ชนิดใหม่ๆ เจ้าจงมาเตรียมการหว่านไถ่ เพื่อจะได้มีอยู่ มีกิน กลับบ้านเถอะลูก เจ้ากลับบ้านถูกใช่ไหม    เจ้าจงมาเป็นชีวิตใหม่ เป็นแสงตะเกียงและเสียงพิณ ให้ผู้อยู่ถิ่น…ได้ชื่นใจ” “แม่ไม่เคยบอกให้ลาออกจากงานมาปลูกผัก แม่ไม่เคยรู้ว่าได้เงินเดือนเท่าไหร่ ทุกเดือนแม่ยังส่งเงินให้” ภิญญา ศรีสาหร่าย สมาชิกกกลุ่มร่มโพธิ์ เครือข่ายมูลนิธิสังคมสุขใจ สามพรานโมเดล อดีตวิศวกรเงินเดือนเฉียดแสน