ประเทศไทยมีสมุนไพรกว่า 10,000 ชนิด โดยร้อยละ 15.5 ของชนิดสมุนไพร สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งการสนับสนุนส่งเสริมองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรตั้งแต่แปลงปลูกถึงการแปรรูป เป็นสิ่งสำคัญที่จะหนุนเสริมศักยภาพของสมุนไพรไทยให้ได้ทั้งคุณภาพและมาตรฐาน เพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชุมชนไปพร้อมกับการสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของทรัพยากรทางชีวภาพของไทย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตพืชสมุนไพรอินทรีย์ให้กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง ลำปางและตาก เพื่อยกระดับการผลิตสมุนไพรให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณผลผลิตให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ตามบริบทของชุมชน เรามองในแง่การพึ่งตนเอง ปลูกขมิ้นชันแล้วเอามาใช้ประโยชน์ทางยาในชุมชน ถ้าใช้เองได้และใช้ดีด้วย ปลายทางก็เป็นเศรษฐกิจได้ -อุทัย บุญดำ- ‘สมุนไพร’ เพื่อการพึ่งตนเอง วิถีของคนใต้คุ้นเคยกับพืชสมุนไพรทั้งตะไคร้ ขิง ข่า ขมิ้น ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในเครื่องแกงใต้ ชาวบ้านจึงมักปลูกไว้ใช้ในครัวเรือน หรือปลูกแซมในสวนยางพารา “ศูนย์ฯ มาเน้นขับเคลื่อนสมุนไพรเมื่อช่วงปี 2562 จัดเวทีแลกเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เชิงการแพทย์จากภูมิปัญญา แล้ว สวทช. ได้เข้ามาทำในเชิงงานวิจัยไปด้วย
รู้หลักและจัดการ สร้างผลผลิตกาแฟ (คุณภาพ) บ้านเลาสู
ที่แปลงสาธิตการจัดการแปลงผลิตกาแฟให้ได้คุณภาพ ตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ย กำจัดมอดเจาะผลกาแฟและเก็บเกี่ยวผลผลิต ลดความเสียหายของผลผลิตจากมอดเหลือเพียง 0.75% จากเดิมเสียหาย 33.4% ด้วยสภาพภูมิประเทศและความสูง 950 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เอื้อต่อการปลูกกาแฟของชาวบ้านเลาสูซึ่งเป็นชนเผ่าเมี่ยนและชนเผ่าอาข่า ต.ปงดอน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ขณะเดียวกันที่นี่ยังเป็นต้นน้ำแม่วัง หนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของภาคเหนือ ซานฟุ แซ่จ๋าว ผู้ใหญ่บ้านเลาสู และประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านเลาสู เล่าว่า ที่นี่ปลูกกาแฟกันมานานมีทั้งหน่วยงานรัฐและพ่อค้ามาส่งเสริมให้ปลูก ปัจจุบันชาวบ้านปลูกกันเกือบทุกครัวเรือน มากบ้างน้อยบ้าง พันธุ์ที่ปลูกเป็นอาราบิก้า สายพันธุ์คาร์ติมอร์ ชาวบ้านปลูกขายให้พ่อค้าคนกลางและกลุ่มวิสาหกิจฯ เอาไปแปรรูป แม้จะปลูกกาแฟกันมานาน แต่การจัดการแปลงปลูกที่ส่งผลต่อคุณภาพเมล็ดกาแฟยังเป็นปัญหาสำคัญของชาวบ้าน ดังที่ ผู้ใหญ่ซานฟุ บอกว่า ปัญหาที่เจอหลักๆ คือ มอด ถ้ามอดเยอะ เมล็ดกาแฟจะลอยน้ำมาก โรงงานก็ไม่อยากรับซื้อ
“ชีวภัณฑ์” ผลิตใช้เอง ผลิตให้ชุมชน เสริมรายได้
ยิ่งเราทำบ่อยก็ยิ่งเชี่ยวชาญ ดูคุณภาพจากสปอร์ฟุ้ง ไม่มีเส้นใย ส่งตรวจมีปริมาณสปอร์ตามมาตรฐานที่ได้รับถ่ายทอดจาก สวทช. -สุนทร ทองคำ- “ไม่ได้มองว่าชีวภัณฑ์ที่เราผลิตจะเป็นรายได้หลัก แต่การส่งเสริมให้คนใช้ เป็นสิ่งที่ต้องทำมากกว่า” คำบอกเล่าจาก สุนทร ทองคำ ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลวังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี บ่งบอกความตั้งใจของเขาบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ที่มี ‘ชีวภัณฑ์’ เป็นอาวุธสำคัญ สุนทร เติบโตในครอบครัวชาวนา เห็นความยากลำบากในงานเกษตรมาแต่เล็ก เขาจึงปฏิเสธที่จะเดินตามอาชีพของครอบครัว มุ่งสู่ชีวิตมนุษย์เงินเดือนที่เอื้อความสะดวกสบาย แต่เมื่อภาระงานประจำที่ถาโถม ทำให้เขาเริ่มหวนคิดถึงห้องทำงานในธรรมชาติ “ตอนนั้นมองทุกอาชีพ ถ้าไปขายของ ก็มองความแน่นอนไม่มี ถ้าจะไปรับจ้าง แล้วเราจะลาออกมาทำไม พรสวรรค์ตัวเองก็ไม่มี ก็เลยมองว่าเกษตรนี่ล่ะน่าจะตอบโจทย์ตัวเองที่สุด” สุนทร วางแผนและเตรียมตัวก่อนลาออกจากงานอยู่ 2 ปี เริ่มต้นเป็น “เกษตรกรวันหยุด” เรียนรู้การทำเกษตรบนพื้นที่
“ฮักษ์น้ำยม” ปุ๋ยอินทรีย์สู่ความยั่งยืนของชุมชน
อยากให้ชาวบ้านได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนการผลิต ถ้าตลาดไปได้ด้วยก็ดี ชาวบ้านมีรายได้ต่อเนื่อง การทำปุ๋ยก็เป็นอาชีพหลักให้ชาวบ้านได้” -อภินันท์ บุญธรรม- “เราทำปุ๋ยอินทรีย์ไปใส่ต้นไม้พืชผลทางเกษตร ปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดินดี ต้นไม้โต พื้นที่สีเขียวเพิ่ม ต้นน้ำของเราก็สมบูรณ์” อภินันท์ บุญธรรม ผู้ใหญ่บ้านดอนไชยป่าแขม ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา อธิบายความหมายของชื่อ “ฮักษ์น้ำยม” ปุ๋ยอินทรีย์ที่ชาวบ้านร่วมกันผลิตจำหน่ายมาได้เกือบ 2 ปี อำเภอปงเป็นต้นน้ำแม่น้ำยม หนึ่งในสี่สายน้ำต้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสายน้ำสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ดังนั้นความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำจึงมีความหมายต่อหลายชีวิตที่ปลายทาง การทำไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยาสูบ เป็นอาชีพหลักของชาวบ้านดอนไชยป่าแขม ด้วยวิถีการผลิตในระบบเกษตรเคมีมายาวนาน ส่งผลต่อคุณภาพของดินและต้นทุนการทำเกษตร การผลิตปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์เป็นหนึ่งทางออกที่ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในพื้นที่ โดยได้รับโรงปุ๋ยและเครื่องจักรมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 “แต่ก่อนรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยใช้กันปีละครั้ง ทำแบบวิธีกลับกอง ทำกันได้ 4-5 ปี
‘ไข่ไก่อารมณ์ดี’ จุดเริ่มต้นล่าฝันเพื่อชุมชน
ใช้หนอนเป็นอาหารเสริมให้ไก่ สิ่งที่เห็นคือเราได้ไข่มากขึ้น ฟองโต เปลือกหนา -อดิศักดิ์ ต๊ะปวน- จากวันที่ยังรวมตัวเป็น “กลุ่มเล่าฝัน” ตามประสาเด็กหนุ่มที่ฝันจะกลับมาสร้างอาชีพของตัวเองในชุมชนและพัฒนาบ้านเกิดไปด้วย พวกเขาเติบโตและพร้อมเปลี่ยนความฝันให้เป็นจริง การรวมตัวกันอีกครั้งในปี พ.ศ.2562 จึงเกิดขึ้น “หลังจากแต่ละคนหมดสัญญาจ้างแรงงานที่ต่างประเทศก็กลับมาเจอกันมาพูดคุยกันอีก หลายคนเริ่มทำตามความฝันตัวเองแล้ว ก็ชวนกันคิดจริงจังที่จะทำความฝันร่วมกันให้ชุมชน โดยตกลงเริ่มจากการเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่ง เป็นอาหารที่ทุกบ้านต้องกิน เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าจะซื้อง่ายขายคล่อง” ยุทธศักดิ์ ยืนน้อย แกนนำกลุ่มแม่ทาล่าฝันและประธานกลุ่มแม่ทาออร์แกนิค ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ย้อนความถึงที่มาของกลุ่มและจุดเริ่มของการเลี้ยงไก่ไข่ ชุมชนแม่ทาเป็นพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์มายาวนาน แต่ยังไม่มีผลผลิตไก่ไข่ปลอดภัย กลุ่มฯ จึงต้องการผลักดันการเลี้ยงไก่ไข่ให้เกิดขึ้นในชุมชน อย่างน้อยได้ไข่ที่ปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือก็ขายในชุมชนหรือส่งขายในตัวเมือง ซึ่งแนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นโครงการและได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ “เราตั้งเป้าการทำงานของโครงการให้เกิดการเกื้อหนุนอาชีพของคนในชุมชน มีกลุ่มคนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ส่งให้เราเพื่อเป็นอาหารให้ไก่ และมีกลุ่มเลี้ยงหนอนเอามาขายให้กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ เนื่องจากอาหารสัตว์อินทรีย์หายากและราคาแพง” หนอนที่ยุทธศักดิ์พูดถึง
“ฟาร์มจิ้งหรีดไทย” สู่สากล ด้วยมาตรฐาน GAP
การเลี้ยงแมลงไม่ส่งกลิ่นเหม็น ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ โปรตีนที่ได้จึงไม่มีสารปนเปื้อน ดูดซึมง่าย นำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ -ณธัชพงศ์ รักศรี- “แมลงเป็นอาหารทางเลือกใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้เป็นอาหารทดแทนโปรตีนจากสัตว์ใหญ่ได้ดี บ้านเรายังส่งออกน้อย เป็นโอกาสของเรา การเลี้ยงแมลงใช้พื้นที่และน้ำไม่มาก ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เลี้ยงในชุมชนได้” ณธัชพงศ์ รักศรี นายธนาคารและผู้ร่วมก่อตั้ง “เปี่ยมสุขฟาร์ม” สะท้อนมุมมองต่อโอกาสทางการตลาดของแมลง ดังเช่น “จิ้งหรีด” ผลผลิตสร้างชื่อของฟาร์ม “เปี่ยมสุขฟาร์ม” เกิดขึ้นจากความต้องการของ ณธัชพงศ์ และ ธนเดช ไชยพัฒรัตนา ลูกพี่ลูกน้อง ที่มองหาอาชีพเสริมและหวังพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว โดยเริ่มต้นจากปรับเปลี่ยนพื้นที่นา 11 ไร่ของครอบครัวเป็นสวนมะนาวด้วยมองเห็นโอกาสทางการตลาดจากราคามะนาวที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี “ด้วยเราทำงานธนาคาร ก็คำนวณล่ะ ปลูกเท่าไหร่ ขายเท่าไหร่
ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า “หม้อห้อมโบราณ”
“ชีวนวัตกรรมเป็นองค์ความรู้ใหม่ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ช่วยต่อยอดภูมิปัญญาการผลิตห้อมตั้งแต่การปลูก ก่อหม้อ การย้อม และได้ผลิตภัณฑ์ที่ขายได้จริง” -รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย- บ้านทุ่งโฮ้ง ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ เป็นแหล่งผลิต “ผ้าหม้อห้อม” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อีกทั้งยังเป็นผ้าพื้นเมืองของชาวแพร่ที่มีอัตลักษณ์ ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นและเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของจังหวัด จากวิถีการย้อมห้อมแบบโบราณที่ใช้กิ่งและใบห้อมหมักในหม้อ ใช้เวลาย้อมหลายวันกว่าสีจะติดทนและสวยงาม เมื่อความนิยมผ้าหม้อห้อมมากขึ้น การผลิตให้ทันตามความต้องการตลาดจึงปรับเปลี่ยนมาใช้สีเคมี ต้นทุนถูกลงและใช้เวลาผลิตรวดเร็วกว่า “เราคนรุ่นเก่าก็หันมาใช้เคมีเหมือนกัน แต่พอทำไปสักระยะก็มาคิดว่าวิธีการย้อมห้อมแบบธรรมชาติตามภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมมา แทบจะไม่หลงเหลือให้เห็น เราต้องกลับมาเป็นผู้อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งเหล่านี้ให้คงอยู่ ให้ลูกหลานได้เห็น ได้ภูมิใจ” วิภา จักรบุตร รองประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าย้อมหม้อห้อมโบราณ บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นการกลับมาอนุรักษ์การผลิตผ้าหม้อห้อมโบราณ และเป็นที่มาของการรวมกลุ่มสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 2561 ในช่วงแรกกลุ่มฯ ซื้อ “ต้นห้อมสด” เพื่อนำมาทำเปอะสำหรับย้อมจากบ้านนาคูหา ต.สวนเขื่อน อ.เมือง
ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม
สวทช. ช่วยผลักดันให้กลุ่มฯ เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องฝ้ายธรรมชาติ สมาชิกมีอาชีพและฝ้ายสามสีบ้านก้อทุ่งเป็นที่รู้จัก -กัลยาณี รุ่นหนุ่ม- “เราคือผู้ปลูกฝ้าย ทอผ้าฝ้าย และจัดจำหน่ายด้วยภูมิปัญญาของคนในชุมชนก้อ ทุกกระบวนการผลิตเราใส่ใจ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่มีคุณค่า และผ้าฝ้ายทอมือที่ดีที่สุด” วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุบ้านก้อทุ่ง ต.ก้อ อ.ลี้ .ลำพูน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2557 จากแรงบันดาลใจของ กัลยาณี รุ่นหนุ่ม หรือ ป้าติ๋ม อดีตครูที่ตั้งใจกลับมาพัฒนาบ้านเกิด เมื่อเห็นผู้สูงอายุในหมู่บ้านเพิ่มจำนวนมากขึ้นและไม่มีอาชีพ ป้าติ๋ม จึงชักชวนผู้สูงอายุมาทอผ้า โดยใช้โรงเรียนร้างที่ต่อมาชุมชนได้ร่วมกันทอดผ้าป่าหาทุนซ่อมแซมปรับปรุง จนกลายเป็นพื้นที่ใช้สอยร่วมกันของชุมชนและเป็นแหล่งทอผ้าของกลุ่มฯ “กลุ่มฯ เริ่มต้นทอผ้าจากฝ้ายย้อมสีเคมี ก็ทำไปแบบสะเปะสะปะ เราก็สู้แหล่งผลิตใหญ่ๆ ไม่ได้ ป้าก็เริ่มคิดหาวิธีจะทำยังไงให้กลุ่มฯ อยู่ได้และพึ่งตัวเองได้ ก็ลองไปเข้าอบรมกับหน่วยงานต่างๆ หลายครั้ง เอาความรู้จากหลายๆ ที่มาปรับใช้
“ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว
แบรนด์ทากิริ เราตระหนักถึงทรัพยากรที่ใช้ไป เราสร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติ ป่าและวิถีชีวิตให้ได้มากที่สุด เพราะเรารู้ดีว่าป่าคือ ชีวิต คือ วิถีชีวิตของพวกเราชาวกะเหรี่ยง -กิติพันธ์ ด่านวนาศรี- “การนำพืชมาใช้ประโยชน์ เราต้องให้ความรู้ชาวบ้านด้วยว่าจะใช้เฉพาะส่วนที่ใช้สีได้ ถากต้นไม้อย่างไรไม่ให้บอบช้ำมากและต้องรักษาแผลต้นไม้อย่างไร เพื่อให้เขาคงอยู่กับธรรมชาติต่อไป ไม่ใช่ตัดโค่นมาทั้งต้น “แบรนด์ทากิริ’ เราตระหนักถึงทรัพยากรที่ใช้ไป เราจะปลูกพืชให้สีในแปลงปลูกของเราเพื่อทดแทนและส่งเสริมการปลูกในพื้นที่ป่า สร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติ ป่าและวิถีชีวิตให้ได้มากที่สุด เพราะเรารู้ดีว่าป่าคือ ชีวิต คือ วิถีชีวิตของพวกเราชาวกะเหรี่ยง” กิติพันธ์ ด่านวนาศรี แกนนำกลุ่มผ้ากะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ต.ทากาศ อ.แม่ทา จ.ลำพูน บอกถึงจุดยืนของ “ทากิริ” แบรนด์ผ้าทอมือของกลุ่มฯ ทากิริ (TAKIRI) เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า ลาย ที่ครอบคลุมถึงลายผ้าทอ ลายผ้าปัก