“โค” เป็นส่วนหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตของพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนใต้ ชาวบ้านนิยมเลี้ยงโคพื้นเมืองเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้บริจาคทานในช่วงเทศกาลรอมฎอน หรือที่เรียกว่า วัวบุญ ซึ่งทำให้ความต้องการโคมีสูงมาก จึงมีโคจากที่ต่างๆ ส่งมาขายในพื้นที่และที่นี่จึงเป็นตลาดโคที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศก็ว่าได้ เมื่อปริมาณความต้องการโคในพื้นที่มีมาก แต่เม็ดเงินจากการซื้อขายโคกลับไม่หมุนเวียนถึงเกษตรกรในพื้นที่ จึงมีความพยายามของหลายหน่วยงานที่จะสนับสนุนและยกระดับการเลี้ยงโคให้เป็นอาชีพหลักในพื้นที่นี้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เล่าว่า วิถีการเลี้ยงโคในพื้นที่ยังเลี้ยงแบบดั้งเดิม คือปล่อยให้โคหากินตามสวนหรือพื้นที่ว่างเปล่า การพัฒนาการเลี้ยงแบบจริงจังในเชิงธุรกิจหรือยกระดับให้เป็นอาชีพหลัก จึงต้องให้ความรู้เกษตรกรและมีช่องทางตลาดที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรได้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล มาหะมะนาเซ และฆาเยาะ หรือ ฎอน นั่นจึงเป็นที่มาของ สหกรณ์โคเนื้อมือนารอ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมมากขึ้น นอกจากสหกรณ์ฯ รับซื้อ ชำแหละ จำหน่ายและแปรรูปเนื้อโคแล้ว สหกรณ์ฯ ยังเป็นแหล่งความรู้การเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมและการขุนโคให้ได้คุณภาพ รวมถึงเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารโคคุณภาพให้สมาชิก “ตอนเริ่มต้นตั้งสหกรณ์ฯ มีสมาชิก
สืบสาน ต่อยอด ‘จกโหล่งลี้’ ลายผ้าโบราณด้วยนวัตกรรม
“ผ้าจกโหล่งลี้” ผ้าทอโบราณลายจกของชุมชนโหล่งลี้ที่สืบเชื้อสายไทยญวน ด้วยเทคนิคการขึ้นลายแบบ “จก” และ “ยกผสมจก” สร้างลวดลายและสีสันที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชาวลำพูนภาคภูมิใจ โดยมี กลุ่มทอผ้าบ้านปวงคำ ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน และเป็นศูนย์เรียนรู้หม่อนไหมผ้าจกโหล่งลี้ รับหน้าที่สืบสานสู่คนรุ่นหลังผ่านผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ในครัวเรือน “ปัจจุบันผ้าซิ่นตีนจกมีหลงเหลือเพียงไม่กี่แห่งในประเทศ ซึ่งผ้าจกโหล่งลี้พบได้ที่นี่ที่เดียว เป็นลายที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ปู่ย่าตายายสร้างสรรค์ลวดลายจากจินตนาการไม่มีแบบหรือแม่พิมพ์ การขึ้นลายใช้ทักษะและประสบการณ์เฉพาะของผู้ทอ” สุนี ทองสัมฤทธิ์ ข้าราชการครูเกษียณผู้รับบทบาทรองประธานกลุ่มฯ บอกเล่าถึงการสืบค้นลายผ้าจกโบราณประจำถิ่น ซึ่งกลุ่มฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เทศบาลตำบลลี้ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน รวบรวมและจัดเก็บไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ฯ พร้อมกับแกะลายการทอให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ การทอผ้าทอลายจกของกลุ่มฯ ต้องอาศัยความชำนาญและความประณีต จึงใช้เวลาทอประมาณ 2-4 เดือน ซึ่งผ้าซิ่นลายจก 1 ผืน
‘กล้า’ สร้างสุข กับ ‘สุขใจฟาร์ม’
คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครสักคนที่ใช้ชีวิตท่ามกลางแสงสี เสียงและเงินทองในเมืองกรุงมาค่อนชีวิต จะหันหลังให้ความสุขสนุกแล้วมาลงแรงปลูกผักที่บ้านเกิด ที่แวดล้อมด้วยแสง สีและเสียงของธรรมชาติ สุขใจ คือชื่อเล่นของ ภัทราพล วนะธนนนท์ ที่แม่ตั้งให้ด้วยหวังให้ชีวิตลูกมีความสุข จากเด็กน้อยที่เติบโตในชุมชนเล็กๆ ของต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ก่อนไปใช้ชีวิตในเมืองเชียงใหม่และโลดแล่นในวงการบันเทิงที่กรุงเทพฯ พลิกชีวิตช่วงวัยกลางคนสู่อาชีพ “เกษตรกร” ที่ไม่มีใครคิดว่าเขาจะทำได้ เพียง 3 ปีบนเส้นทาง “เกษตรอินทรีย์” ผลผลิตคุณภาพของ ‘สุขใจฟาร์ม’ เดินทางสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และยังสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ จากประสบการณ์การทำงานในฐานะผู้จัดการร้านถ่ายภาพที่จับงานเองทุกขั้นตอนกว่า 8 ปี นำทางสู่สายงานภาพยนตร์กับบริษัทดังในหน้าที่จัดหานักแสดง ทิ้งทวนชีวิตวงการมายาด้วยบทบาทผู้กำกับภาพยนตร์ก่อนกลับคืนถิ่นที่บ้านเกิด “เราทำงานในวงการบันเทิงห้อมล้อมด้วยแสงสี ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย กินดื่มเที่ยวสารพัด ไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีพอ พอเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ไม่มีใครดูแลเราเลย คนที่ดูแลเราคือแม่และคนในครอบครัว
ข้าวพื้นเมืองใต้…สำคัญอย่างไร
ภาคใต้ถือได้ว่ามี “ข้าวพันธุ์พื้นเมือง” ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของไทย ซึ่งศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุงได้เคยรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ไว้ได้ถึง 162 สายพันธุ์ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคใต้หรือแม้แต่จำนวนชาวนาลดน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการมีอยู่ของสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ได้ เวทีเสวนา “ข้าวพื้นเมืองใต้ …สำคัญอย่างไร” ในงาน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 ณ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา จึงได้ชวนนักวิชาการมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้และหนทางการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง เป็นแนวทางต่อลมหายใจพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ข้าวพื้นเมือง มรดกทางวัฒนธรรม “ข้าวไทยและพันธุกรรมมีความสำคัญในแง่เดียวกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เพราะเป็นสิ่งที่อยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับการคัดเลือกและสร้างสรรค์จากบรรพบุรุษ” ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ให้มุมมองถึงความสำคัญของข้าวพื้นเมือง อาจารย์ภัทรพร ฉายภาพข้าวพื้นเมืองของประเทศไทยว่า
เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี
เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม่เพียงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ หากยังเป็นปัจจัยที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพให้ผลผลิตอีกด้วย การเรียนรู้และทำความเข้าใจเมล็ดพันธุ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ชาวนาไม่ควรมองข้าม “หัวใจสำคัญของเมล็ดพันธุ์คือ ต้องมีสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า ต้นอ่อน (embrio) มีเนื้อแป้งข้าวและเปลือก ถ้าไม่มีต้นอ่อน จะไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ จะเรียกว่า ข้าวเปลือก” ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อธิบายความแตกต่างของเมล็ดพันธุ์และข้าวเปลือก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรู้การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้อง การใช้เมล็ดพันธุ์ดีทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากใช้ในปริมาณน้อยกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ลดต้นทุนการผลิต เพราะผ่านการคัดเลือกรวงที่สมบูรณ์แล้ว จึงลดเชื้อโรคและการใช้สารเคมีกำจัดโรค ผลผลิตสูง และทำให้กำไรต่อพื้นที่มากกว่า แล้วจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีได้อย่างไร จำเป็นต้องรู้จัก “ชั้นเมล็ดพันธุ์” เพื่อรู้ที่มาและการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ ซึ่งชั้นเมล็ดพันธุ์ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์คัด (breeder seed) เป็นชั้นเมล็ดพันธุ์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งชาวนาสามารถเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยเฉพาะในภาคใต้ซึ่งใช้ “แกระ” เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวที่สามารถคัดเลือกรวงสมบูรณ์ ถูกต้องตามพันธุ์ เมล็ดพันธุ์หลัก
ก้าวทันสมาร์ทเทคโนโลยีที่สถานีเรียนรู้ “โรงเรือนอัจฉริยะ”
“ตื่นเต้น รู้สึกว่าเท่ แปลกใหม่ โรงเรือนที่เคยเห็นก็ธรรมดา ไม่มีเทคโนโลยี” มายด์-สุภนิดา นามโบราณ นักเรียนทวิศึกษาสาขาเกษตรนวัต โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ โรงเรียนวังจันทร์วิทยา เล่าถึงความรู้สึกแรกที่ได้รู้จักโรงเรือนอัจฉริยะ “โรงเรือนอัจฉริยะ” คือโรงเรือนปลูกพืชที่ติดตามและควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในโรงเรือน ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความชื้นอากาศ ความเข้มแสง และความชื้นดิน โดยใช้ชุดเซนเซอร์และระบบควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยอัตโนมัติตามความต้องการของพืช สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ติดตั้งโรงเรือนอัจฉริยะ ณ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จ.ระยอง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดระยองและใกล้เคียง ขณะเดียวกันยังเป็นหนึ่งในหัวข้อเรียนรู้ของนักเรียนหลักสูตร “เกษตรนวัต” อีกหนึ่งโครงการความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2562 เหล่านักเรียนเกษตรนวัตจำนวน 21 คน ใช้เวลาช่วงบ่ายในแต่ละวันเรียนรู้เรื่องพืช
“ข้อมูล” อาวุธสำคัญของเกษตรยุคใหม่
ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ “ไร่เพื่อนคุณ ผักและผลไม้ไร้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 100%” ริมถนนโชคชัย-เด่นอุดม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เชื้อชวนให้คนรักสุขภาพแวะจับจ่ายผลผลิต ภายในพื้นที่ 26 ไร่ถูกจัดสรรเป็นโรงเรือนเพาะปลูก 48 โรงเรือนที่หมุนเวียนปลูกพืชหลักอย่างเมล่อนและแตงโม สลับกับพืชผักอย่างถั่วฝักยาว คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา ขณะที่ด้านหน้ามีห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพพืชผัก ห้องประชุม ร้านค้าและร้านอาหาร “ไร่เพื่อนคุณ” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 โดย มงคล สุระสัจจะ อดีตข้าราชการที่เห็นปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ การกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เขาจึงตั้งใจที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณทำศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกร โดยยึดแนวทางสำคัญ “3 ปลอดภัย 3 เอาชนะ” คือ เกษตรกรปลอดภัย สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัย และเอาชนะกลไกตลาด
รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้
“ผมไม่ได้มองว่าต้องประสบความสำเร็จที่รุ่นผม แต่ทำเพื่อสร้างพื้นฐานให้รุ่นต่อไป การทำเกษตรทุกวันนี้สาหัสทั้งจากการใช้ยาเคมี ปัจจัยการผลิตและภูมิปัญญาที่หายไป แล้วก็คนไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นต้นเหตุด้วย …อาชีพเกษตรยังต้องอยู่กับประเทศ ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีจะสร้างความยั่งยืนให้เกษตรได้” ชนะพล โห้หาญ อดีตพนักงานบริษัทที่หันมาทำสวนผลไม้ตั้งแต่ปี 2543 บนพื้นที่ 16 ไร่ของภรรยา ในตำบลตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี เริ่มต้นทำสวนมังคุดด้วยความรู้ที่เท่ากับศูนย์ อาศัยขอความรู้และทำตามเกษตรกรเพื่อนบ้าน แต่ผลผลิตกลับได้ไม่เท่าเขาและยังเสียหายมากกว่า “ช่วง 3-4 ปีแรกยังใช้สารเคมี ทำสวนแบบไม่มีความรู้ ทำตามเขา ใช้ยาเคมี ก็ใช้ไม่เป็น จนมีช่วงที่เกษตรกรตื่นตัวเรื่องน้ำหมักชีวภาพ ได้ไปอบรม ก็รู้สึกว่าตรงจริตเรา ไม่ต้องซื้อ ใช้วัตถุดิบในสวนมาใช้ได้” ชนะพล เริ่มใช้น้ำหมักชีวภาพในสวนโดยลดสัดส่วนการใช้สารเคมี เพื่อตอบโจทย์ “ทำอย่างไรให้ได้ผลผลิต” ซึ่งเขาก็ไม่ผิดหวัง และเห็นคล้อยตามเกษตรกรคนอื่นที่ว่า “ผลผลิตดีขึ้นเพราะน้ำหมัก” แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่
กว่าจะเป็น “ไม้ผลอินทรีย์” บนเส้นทางของการ “เรียนรู้”
“ทุเรียน สื่อถึงไม้ผลที่ปลูกในระบบอินทรีย์ยากที่สุด ส่วนผึ้ง เป็นตัวแทนแมลงที่ดีในระบบนิเวศ” รัฐไท พงษ์ศักดิ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี บอกถึงความหมายของโลโก้ “ปัถวีโมเดล” ที่มีสมาชิก 22 สวนในอ.มะขาม จ.จันทบุรี และเครือข่ายอีกกว่า 20 สวนจาก 6 อำเภอในจังหวัดจันทบุรีที่ผลิตผลไม้อินทรีย์ภายใต้มาตรฐาน Organic Thailand รัฐไท เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชอินทรีย์ ปี 2562 เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่พลิกวิถีการทำสวนไม้ผลจากระบบเคมีเป็นระบบอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2541 ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างจากคนหัวใจอินทรีย์อีกหลายคน นั่นคือ ผลกระทบต่อสุขภาพ เขาเริ่มต้นจากหยุดการใช้สารเคมี ปรับลดการใช้ปุ๋ยเคมี และแสวงหาสิ่งที่จะทดแทนสารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช โดยหาความรู้จากทุกแหล่งทั้งจากปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอิสระอย่างศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ที่ทำให้เขาได้แนวคิด “ศรัทธาว่าต้องทำได้”