“ผ้าสมัยยุค 1.0 แต่เดี๋ยวนี้ยุค 4.0 แล้ว เราจึงต้องปรับตัว การอนุรักษ์ผ้า ไม่ใช่แค่ทำผ้านุ่งผ้าผืน ทำแค่นั้นเท่ากับรอเวลาให้กลุ่มตาย ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้าทำแล้วต่อยอดพัฒนา ชีวิตเขาต้องดีขึ้นด้วย” เกษม อินทโชติ กำนันตำบลบ้านปึก อ.เมือง จ.ชลบุรี หัวเรือใหญ่ผู้ต่อลมหายใจผ้าทอบ้านปึก-อ่างศิลา หรือ “ผ้าทอคุณย่าท่าน” ให้มุมมองต่อการสืบสานผ้าทอลายโบราณของชุมชน ในอดีตชุมชนบ้านปึกประกอบอาชีพทำนา ทำน้ำตาลโตนด ทำสวนมะพร้าว และงานหัตถกรรมผ้าทอที่มีประวัติความเป็นมากว่าร้อยปี จากอาชีพเสริมที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่ชาวบ้าน กลายเป็นอาชีพหลักให้หลายครัวเรือน จวบจนกาลเวลาแปรเปลี่ยน งานผ้าทออันเป็นเอกลักษณ์เริ่มเลือนลาง เหลือช่างทอน้อยคนที่ยังทอผ้าส่งขายตลาดอ่างศิลา แม้วันนี้ สาย เสริมศรี หรือป้าไอ๊ หนึ่งในสองช่างทอท้องถิ่นและผู้ร่วมก่อตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านปึก
ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
“ผ้าล๊อตเดียวกัน สีเหมือนกัน ตัดเย็บเหมือนกัน ระยะเวลาผ่านไปสักระยะ ผ้าที่ไม่ได้เคลือบด้วยเทคโนโลยีนาโน หมองคล้ำ ไม่ขาวสดใสเหมือนผ้าที่ผ่านการเคลือบคุณสมบัติพิเศษ” “เราไม่เคยรู้เลยว่าแค่เปลือกผลไม้ ใบไม้ สามารถให้สีสันที่สวยงาม เพิ่มมูลค่าให้เสื้อเราได้ตัวละหลายร้อยบาท” คำบอกเล่าจาก เจษฎา ปาระมี ประธานกลุ่มปิ๊กมาดี จ.ลำปาง และ ดรุณี ภู่ทับทิม ประธานกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมตำบลหินตก จ.นครศรีธรรมราช สองกลุ่มอาชีพจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับอาชีพกลุ่มสตรีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) เพื่อยกระดับการผลิตสิ่งทอของชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่ม จากจุดเริ่มที่เป็นเพียง “ศูนย์ประสานเพื่อความช่วยเหลือผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส” ส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานท้องถิ่น เจษฎา ปาระมี และ กฤษฎา เทพภาพ สองหนุ่มนักพัฒนาของตำบลวอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์เมื่อปี 2559 ในนาม “ปิ๊กมาดี” ที่สื่อความถึงการที่ผู้พิการ
“Inspector” ผู้ปิดทองขับเคลื่อน “ข้าวอินทรีย์”
การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวเพื่อให้ได้มาตรฐาน Organic Thailand ภายใต้โครงการเกษตรอินทรีย์ล้านไร่ของภาครัฐ กำหนดระยะเวลาปรับเปลี่ยนไว้ 3 ปี แบ่งเป็น ระยะปรับเปลี่ยนปี 1 (T1) ระยะปรับเปลี่ยนปี 2 (T2) และระยะปรับเปลี่ยนปี 3 (T3) มีข้อกำหนดปฏิบัติและการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้นในแต่ละระยะ และที่สำคัญเป็นการตรวจรับรองแบบกลุ่ม นั่นหมายถึงสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องผ่านการตรวจ หากคนใดคนหนึ่งไม่ผ่าน ทั้งกลุ่มจะไม่ได้รับการรับรอง สมาชิกจึงต้องร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติให้ได้ตามข้อกำหนด โดยมีผู้ตรวจสอบภายใน หรือ Inspector ประจำกลุ่ม ทำหน้าที่ทั้ง “ผู้ตรวจ” และ “ผู้ขับเคลื่อน” ให้การผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเดินหน้าได้สำเร็จ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมให้ความรู้ “กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อขอรับรองกระบวนการกลุ่ม” และ “การตรวจรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์แบบกลุ่ม เพื่อสร้างผู้ตรวจสอบภายในองค์กร
“ข้าวเหนียวธัญสิริน” ต้านทานโรคไหม้ หอมนุ่มนาน อีกทางเลือกของผู้ปลูกผู้บริโภค
กลางปี 2562 สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านร่องคำ ต.ป่าสังข์ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด กว่า 30 คน ซึ่งปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ได้เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี” ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดขึ้น นอกจากได้เรียนรู้การทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ตั้งแต่กระบวนการเตรียมแปลง การเก็บเกี่ยว และการผลิตเพื่อจำหน่ายอย่างถูกต้องตาม พรบ. เมล็ดพันธุ์ข้าว แล้ว ในวันนั้นพวกเขายังได้รู้จักพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า “ธัญสิริน” “เขาบอกว่าต้นแข็งแรง ไม่ล้ม ให้ผลผลิตเยอะ ต้านทานโรคด้วย สนใจที่ต้นไม่ล้มนี่ล่ะ” สุพัฒน์ ศิลศร ประธานกลุ่มฯ ย้อนความถึงจุดเด่นของสายพันธุ์ข้าวนี้ที่ดึงดูดความสนใจให้เขาและสมาชิก ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวขึ้นชื่อในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อจำหน่าย แต่สำหรับการบริโภคนั้น “ข้าวเหนียว” เป็นอาหารหลักของคนแถบนี้ ซึ่งข้าวเหนียว
สถานีปูนาเมืองบัว: เรียนรู้เพื่อรักษาและต่อยอด
“เลี้ยงปูนาปีแรกเหมือนคนบ้า อยู่คอกปูทั้งวัน ส่องไฟฉายดูพฤติกรรมปูตลอด จะไปไหนก็ห่วงก็คิดถึง” ประชา เสนาะศัพท์ และปรีชา ยินดี คู่หูผู้เลี้ยงปูนา เล่าถึงความผูกพันที่เกิดขึ้นกับสัตว์ตัวน้อยนี้ ในวันที่พวกเขาเริ่มต้น “เลี้ยงปูนา” เพื่อหวังอนุรักษ์ ประชา หนุ่มสุรินทร์มาเป็นเขยเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด มาเกือบ 20 ปี เขาเล่าว่า แต่ก่อนที่นี่ปูนาเยอะมาก แต่ช่วง 10 ปีหลัง ปูหายหมดเพราะยาฆ่าปู เพื่อไม่ให้ปูกัดต้นข้าว ถึงแม้ว่าจะไม่มีปูแล้ว แต่ชาวบ้านยังหว่านยา เพื่อความมั่นใจ เมื่อสัตว์ที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศการทำนาข้าว ถูกจัดให้เป็น “ศัตรูพืช” ของนาข้าว และวิถีการทำนาที่ใช้สารเคมี จำนวนปูนาจึงลดน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงวงจรในระบบนิเวศจะแหว่งวิ่น หากยังสะเทือนถึงวิถีการดำเนินชีวิตผู้คนไม่น้อยที่มี “ปูนา” เป็นวัตถุดิบในมื้ออาหาร
ทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความรู้และเชื่อมั่น
‘เซ่ง ผลจันทร์’ ‘ขวัญเรือน นามวงศ์’ และ ‘ธนากร ทองศักดิ์’ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการผลิตพืชผักจากโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ที่มุ่งให้เกษตรกรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับประยุกต์การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐานและคุณภาพ เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แม้ล่วงสู่วัย 62 ปี เซ่ง ผลจันทร์ หรือลุงเซ่ง สมาชิกสหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้ จำกัด อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ดูแลจัดการแปลงผักขนาดพื้นที่ 200 ตารางวา ตัดผักส่งสหกรณ์ฯ สัปดาห์ละ 3 วัน และผลิตผักส่งตามออเดอร์จากท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้ไม่ขาด มีรายได้หลักหมื่นต่อเดือน
“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”
กลางปี 2562 ดิเรก ขำคง เจ้าของฟาร์ม Be Believe Organic Farm จ.ราชบุรี และ ภัทรนิษฐ์ ภุมมา เจ้าของสวนกล้วยภัทรนิษฐ์ จ.นครปฐม ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มภายใต้เครือข่ายสามพรานโมเดล เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีไว้ใช้เอง” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใครจะคิดว่าหลังการอบรมวันนั้นเพียง 6 เดือน ชีวิตของเขาทั้งสองได้เปลี่ยนไป ดิเรก อดีตวิศวกรหนุ่มที่อิ่มตัวกับงานประจำ จับพลัดจับผลูเดินบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์กับผลผลิต “ต้นอ่อนผักบุ้ง” ที่เขาและภรรยาใช้เวลาถึงสองปีลองผิดลองถูกเพื่อหวังเป็นอาชีพใหม่ “แฟนผมแพ้เคมีทุกอย่าง แม้แต่ผงชูรส ตอนนั้นต้นอ่อนผักบุ้งมีน้อย เป็นต้นสั้นและใช้เคมี เรามองว่าถ้าปลูกเป็น ใช้เวลา 7 วันก็สร้างรายได้ แต่ข้อมูลการปลูกต้นอ่อนผักบุ้งแทบไม่มี เราต้องลองผิดลองถูกกันเอง ทิ้งไปเยอะมาก กว่าจะได้ความยาวต้นที่เหมาะ
ถั่วเขียว KUML …จากพืชหลังนา สู่สินค้าส่งออก
“ผมเห็นกองถั่วเขียวก็นึกย้อนไปสมัยเด็ก เราเคยรับจ้างเก็บถั่ว แล้วแถวนี้ก็ไม่เคยมีคนค้าถั่ว น่าจะเป็นไปได้ที่จะลองทำ แล้วยังได้ช่วยชุมชนให้มีรายได้เสริม แทนที่จะทิ้งนาไว้เฉยๆ หรือรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล” มนตรี สมงาม ลูกหลานเกษตรกรบ้านหนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี คนรุ่นใหม่ที่เชื่อมต่อถั่วเขียวจากแปลงนาสู่บริษัทแปรรูป เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนบ้านเกิด หลังหาข้อมูลและติดต่อจนได้บริษัทรับซื้อถั่วเขียวเพื่อแปรรูป เขากลับมาชักชวน นิมิตร สว่างศรี ผู้เป็นลุงและเป็นแกนนำเกษตรกรบ้านหนองผักนาก ซึ่งปลูกถั่วเขียวไว้บำรุงดินและบริโภคอยู่แล้ว “ตอนนั้นผมเพิ่งลองส่งถั่วเขียวให้ตลาดที่อำเภอชัยบาดาล จ.ลพบุรี เขาให้ราคา 32 บาท/กก. ซึ่งสูงมาก พอมนตรีมาชวนให้ส่งกับบริษัทที่เขาติดต่อได้ ให้ราคาพอกันและยังมีรถมารับถึงที่ ผมก็ตอบตกลงและไปชวนชาวบ้านให้ปลูกถั่วเขียว” ช่วงปี 2558 นิมิตร และชาวบ้านอีกสองรายเริ่มผลิตถั่วเขียวส่งให้ มนตรี โดยปลูกสายพันธุ์ชัยนาท 84-1 พื้นที่ผลิตประมาณ 100 ไร่ ได้ผลผลิตรอบแรกราว
ร่วมกันรู้ ปลูกพริกแบบปลอดภัย
ยินดีต้อนรับสู่ “โครงการศูนย์ร่วมกันรู้ การปลูกพริกแบบปลอดภัย” ข้อความเชื้อเชิญหน้าทางเข้าพื้นที่ราว 50 ไร่ของบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จำกัด (มหาชน) ต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน พื้นที่แห่งนี้นอกจากให้ชาวบ้านเช่าเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และยาสูบแล้ว บริษัทฯ ยังแบ่งพื้นที่ทดลองปลูกพริกแบบปลอดภัยเพื่อเป็นวัตถุดิบทำเครื่องปรุงสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ “เราเป็นบริษัทผลิตอาหารสำเร็จรูป เราให้ความสำคัญและใส่ใจวัตถุดิบทุกชนิดที่ประกอบเป็นอาหารตั้งแต่การผลิตในแปลงปลูกไปจนถึงการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย” ประพิณ ลาวิณย์ประเสริฐ ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเจตจำนงของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นความปลอดภัยของวัตถุดิบเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค แม้ผลผลิตพริกที่ได้จะไม่มากพอเนื่องจากปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช แต่บริษัทฯ มิได้ย่อท้อ ยังคงมุ่งมั่นที่จะผลิตพริกให้ได้คุณภาพและปลอดภัย จนในปี 2562 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดทำ “โครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพริกคุณภาพแบบปลอดภัย” ร่วมกับบริษัทฯ เพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้การผลิตพริกคุณภาพแบบปลอดภัยและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ซึ่ง สท. ได้เชื่อมโยง