“การทำสินค้าให้มีมาตรฐาน คือ การยกระดับผลิตภัณฑ์ของเราให้ดียิ่งขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค” สุรศักดิ์ พุกกะเปรมะ เจ้าของฟาร์มชันโรงสันป่าตองและสวนเกษตรผสมผสาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ บอกถึงเหตุผลที่เขาพัฒนาฟาร์มชันโรงให้ได้มาตรฐาน GAP* จนเป็นฟาร์มชันโรงแห่งแรกของภาคเหนือที่ได้มาตรฐานนี้ *ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ภายใต้โครงการการส่งเสริมกระบวนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรชุมชน เพื่อขับเคลื่อน BCG สาขาท่องเที่ยว ไม่เพียงเป็นฟาร์มชันโรงที่โดดเด่นด้วยการเลี้ยงชันโรงสายพันธุ์ท้องถิ่นในสวนเกษตรผสมผสาน มีต้นมะม่วงที่คัดสรรสายพันธุ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และยังอนุรักษ์สายพันธุ์ชันโรงบางสายพันธุ์ เช่น ชันโรงถ้วยดำ สายพันธุ์ทางเหนือ (Tetragonula testaceitarsis) ที่กำลังสูญหายจากไฟป่าและการตัดไม้ทำลายป่า ที่นี่จึงพร้อมเป็นแหล่งศึกษาวิจัยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากชันโรง แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ สุรศักดิ์ ต้องสั่งสมความรู้และประสบการณ์มาไม่น้อย สุรศักดิ์ เก็บหอมรอมริบจากสายงานบริการนักท่องเที่ยวและงานมัคคุเทศก์กว่า 20 ปี สะสมเป็นเงินทุนทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสานบนพื้นที่ 7.5 ไร่ ก่อนจะเพิ่มเป็น 9
‘ชันโรง’ สร้างระบบนิเวศเกษตรอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกร
“อาชีพเราคือ เกษตรกร เราพัฒนาอาชีพโดยมุ่งเน้นที่ระบบนิเวศเป็นหลัก” ประโยคสั้นๆ แต่บอกถึงการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมีเป้าหมายของ จิราภา พิมพ์แสง ประธานวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดภัยฆ้องชัยพัฒนา และประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ ย้อนไปกว่า 10 ปี พื้นที่ตำบลแห่งนี้เคยมี “ดงสวนผึ้ง” ที่ จิราภา ยังจำได้ดีถึงช่วงเวลาที่เข้าไร่มันสำปะหลังและต้องคอยหลบหลีกผึ้ง “ที่นี่เคยเป็นป่ามีผึ้งเยอะมาก ชาวบ้านตีผึ้ง เก็บน้ำผึ้งขายกัน สมัยก่อนหาง่าย แต่หลังๆ หายากขึ้น” จิราภา ย้อนความถึงป่าที่เคยเป็นบ้านหลังใหญ่ของผึ้ง ด้วยวิธีการเก็บน้ำผึ้งของชาวบ้านที่รมควันแล้วตัดทั้งรัง บวกกับการเช่าพื้นที่ปลูกอ้อยในระบบเคมี ส่งผลให้ประชากรผึ้งลดน้อยลง จึงเป็นจุดเริ่มให้เธอต้องการฟื้น “ดงสวนผึ้ง” เริ่มต้นจากปลูกป่าเพื่อสร้างบ้านให้ผึ้ง โดยชักชวนญาติพี่น้องปลูกป่าในพื้นที่ตนเองคนละงานคนละไร่แทนการปล่อยเช่า เมื่อเริ่มได้พื้นที่ป่าคืนมา แล้วจะทำอย่างไรให้ผึ้งกลับมา เป็นโจทย์ที่เธอต้องการหาคำตอบ “นั่งฟังอาจารย์แล้วรู้สึกว่าทำไมผึ้งขยัน
‘โรงเรือนปลูกพืช’ ตัวช่วย ‘ปลูกผักให้ได้ขาย’ สร้างอำนาจต่อรองตลาดด้วยข้อมูล
“การมีโรงเรือนเป็นการลงทุน ทำให้เราปลูกผักสลัดได้ ถ้าเราไม่มีจะหนักกว่า คำว่าปลูกได้ คือ ปลูกได้ขาย” ทวี ขาวเรือง ประธานวิสาหกิจชุมชนสวนบุญประสิทธิ์เกษตรเพื่อสุขภาพ ต.ท่าซอม อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช บอกถึงความจำเป็นที่ต้องใช้โรงเรือนปลูกผักจากสภาพอากาศฝนแปดแดดสี่ในภาคใต้และตำบลท่าซอมที่อยู่ใกล้ทะเล ในช่วงหน้ามรสุมจึงประสบปัญหาน้ำท่วมขัง และหากมีน้ำทะเลหนุน ชาวบ้านต้องรับสภาพน้ำท่วมเป็นแรมเดือน ขณะที่ช่วงหน้าแล้งขาดแคลนน้ำ ด้วยเป็นตำบลที่อยู่ปลายทางของคลองราชดำริ ส่งผลต่อการทำนา ปลูกผักและสวนผสมผสาน ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่ “บ้านเรามีปัญหาน้ำท่วม ดินเค็ม โรคพืช ราคาผลผลิตที่คนปลูกไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ ก็คิดว่าทำแบบนี้ยิ่งทำยิ่งจน ถ้าทำในรูปแบบกลุ่มจะมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น” อาศัยที่มีบทบาทหลายอย่างทั้งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยไปรษณีย์และเก็บค่าน้ำในพื้นที่ ทำให้ ทวี รับรู้ถึงปัญหาและคิดหาทางออก เขาได้รู้จัก สำราญ ใหม่ยิ้ม และเกรียงไกร ถมแก้ว หรือ หลวงไก่ ซึ่งปลูกผักบริโภคและขายในชุมชน
มีอาชีพ มีรายได้ที่บ้านเกิด ด้วย ‘เกษตรอินทรีย์วิถีสะเมิง’
“ในระยาวเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่แค่ปลูกผักผลไม้ แต่ต่อยอดไปเรื่องท่องเที่ยวได้” มุมมองของ นที มูลแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนสะเมิงออร์แกนิค อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จากประสบการณ์ที่ได้ขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์ในอำเภอสะเมิงมากว่า 5 ปี ซึ่งอำเภอสะเมิงเป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวเชียงใหม่ “Winter of CNX เมียงมองลอง (แอ่ว) เชียงใหม่ในมุมใหม่” ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ และผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมในเชียงใหม่* *กิจกรรมภายใต้โครงการการส่งเสริมกระบวนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรชุมชน เพื่อขับเคลื่อน BCG สาขาท่องเที่ยว แม้เส้นทางอาชีพจะเป็นสายงานวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ด้วยความชอบด้านเกษตร นที ศึกษาเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ควบคู่ไปด้วย จนมาลงหลักปักฐานที่บ้านภรรยาในอำเภอสะเมิง “กลุ่มเรารวมตัวจากที่นายทุนเข้ามาซื้อที่มากขึ้น คนทำเกษตรลดน้อยลง พวกเราที่เป็นคนรุ่นใหม่เห็นว่าเราต้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่แทนที่จะขายให้นายทุน ก็มองกันที่การทำเกษตรอินทรีย์ เพราะรู้อยู่แล้วเกษตรเคมีไม่ดีต่อทั้งคนปลูกและคนกิน เริ่มหาเครือข่ายคนทำเกษตรอินทรีย์ จากที่ต่างคนต่างทำเกษตรก็มาทำงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายให้คนทำเกษตรอยู่ในพื้นที่ได้ด้วยเกษตรอินทรีย์” วิสาหกิจชุมชนสะเมิงออร์แกนิค
ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้มันสำปะหลังอินทรีย์
“ภูมิใจที่เราได้ทำของปลอดภัยให้คนอื่นกิน และยังเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออก ได้ช่วยคนต่างประเทศให้มีสุขภาพที่แข็งแรง” ความรู้สึกของ หลุยส์ ธรรมเที่ยง เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์บ้านผาชัน ต.สำโรง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ไม่ต่างจาก รังสรรค์ อยู่สุข เกษตรกรบ้านคำฮี ต.นาคาย อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี “ดีใจและภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ปลอดภัยที่เริ่มต้นจากเกษตรกร” หลุยส์ และ รังสรรค์ เป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE นำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพ โดยดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษและอำนาจเจริญ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินด้วยเทคโนโลยี Smart NPK
‘ไก่พื้นเมืองแดนใต้’ จัดการด้วยความรู้อย่างมืออาชีพ
“ชาวบ้านใช้เวลาว่างจากการเลี้ยงโคขุนมาเลี้ยงไก่พื้นเมืองใต้เป็นอาชีพเสริม โดยเฉลี่ยเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมืองครอบครัวละ 20–30 ตัว การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้ต้นทุนต่ำ ระยะเวลาเลี้ยงจนถึงจับขายสั้นกว่าการเลี้ยงโคขุน แม้ว่าจะเลี้ยงไก่เป็นอาชีพเสริม เราต้องมีความรู้และจัดการให้ดี ไม่อย่างนั้นจะขายไม่ได้ ไก่หนึ่งตัวก็มีค่า มีต้นทุนทั้งทรัพย์สินและเวลาของเรา การพัฒนาทักษะความรู้และต่อยอดให้มีรายได้เพิ่ม นั่นคือ อาชีพเสริม” วีรชัย นิ่มโอ เจ้าของพี่น้องเจริญฟาร์ม ต.ป่าบอนต่ำ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง แกนนำกลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองจังหวัดพัทลุง และอดีตนักส่งเสริมการเกษตรของฟาร์มไก่บริษัทเอกชน สะท้อนแนวคิดการสร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านนอกจากการทำสวนยางพาราและการเลี้ยงโคขุนที่เป็นอาชีพหลัก “เราต้องการทำเป็นอาชีพและมีรายได้ ไม่ใช่เลี้ยงสะเปะสะปะ พ่อค้ามาเป็นคนกำหนดราคา เราไม่ต้องการแบบนั้น ถ้าจะขายเราต้องเป็นคนกำหนดราคา ตลาดต้องไปแบบนี้นะ ไม่ใช่ต่างคนต่างเลี้ยง ต่างคนต่างขายเหมือนเมื่อก่อน เราก็มาจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้การจัดการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น การเลี้ยง การให้อาหาร การให้วัคซีนจนถึงแปรรูป” แม้จะคลุกคลีกับแวดวงฟาร์มไก่เอกชนมากว่า 10 ปี แต่
พลิกฟื้น รักษา พัฒนา ‘พริกไทยตรัง’ เสริมรายได้ชาวสวนตรัง
แม้จะมีทั้งสวนยางพาราและสวนส้มโอ แต่เมื่อต้องหันหลังให้ชีวิตมนุษย์เงินเดือนในเมืองหลวงกลับมาดูแลพ่อที่เจ็บป่วย กิตติ ศิริรัตนบุญชัย กลับเลือกปลูก “พริกไทย” และต้องเป็น “พริกไทยตรัง” เท่านั้น “ผมอยากให้คนตรังกินพริกไทยตรัง คนอายุ 70-80 ปี เขาภูมิใจพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดตรังมาก ด้วยรสชาติอร่อย เผ็ดร้อน กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ พริกไทยตรังเป็นพันธุ์ที่ดังไปถึงยุโรป แต่หากินไม่ได้แล้ว การปลูกพริกไทยถึงขายไม่ได้วันนี้ ผลผลิตก็ยังทำแห้งและเก็บไว้ได้นาน” ไม่เพียงคิดฟื้นพริกไทยตรังให้กลับคืนมาในพื้นที่อำเภอวังวิเศษ จ.ตรัง แต่ ยังเลือกปลูกพริกไทยเพียงอย่างเดียวและมุ่งเป้าผลิตในเชิงพาณิชย์ ด้วยเชื่อว่า “ถ้าจะทำให้สำเร็จ ต้องทำอย่างเดียว” เขาศึกษาและหาข้อมูลแหล่งปลูกพริกไทยสายพันธุ์ตรังที่แท้จริง สอบถามปราชญ์ชาวบ้าน ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงเอกสารจดหมายเหตุ ควบคู่กับการลงเรียนด้านเกษตร โดยเฉพาะ “การปลูกส้ม” ไม้ผลที่ กิตติ มองว่า หากปลูกส้มได้จะปลูกพืชทุกอย่างได้ “ถ้าไม่สูงต้องเขย่ง ถ้าไม่เก่งต้องขยัน”
ถั่วเขียว KUML อินทรีย์: คุณค่าที่มากกว่าพืชบำรุงดิน
เมล็ดใหญ่และสีสวยสดของถั่วเขียวในแพ็คสุญญากาศ สะดุดตานักช้อปสายสุขภาพให้หยิบจับ เมื่อบวกกับข้อความและตราสัญลักษณ์ “เกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล” ชวนให้หยิบจ่าย 40 บาท (ครึ่งกิโลกรัม) ได้ไม่ยากนัก ต้นทางของถั่วเขียวอินทรีย์นี้มาจากวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์คุณภาพ และเริ่มหันมาจริงจังกับพืชหลังนาอย่าง “ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ได้ไม่นาน …เมื่อ “ถั่วเขียว” เป็นพืชหลังนาที่เกษตรกรคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่เหตุใดพวกเขาจึงให้ความสำคัญมากขึ้น และทำไมต้องเป็นถั่วเขียวพันธุ์ KUML จากนาเคมีสู่นาอินทรีย์ “คนทำเคมีจะมองหญ้าเป็นศัตรู แต่ก่อนเราก็มองแบบนั้น ทำตามรุ่นพ่อรุ่นแม่ ทำนาให้ได้ข้าวเยอะๆ แต่ลืมนึกถึงสภาพแวดล้อม เป็นอันตรายไปหมด” วิรัตน์ ขันติจิตร สมาชิกวิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ย้อนความถึงวิถีการทำนาจากรุ่นสู่รุ่นที่พึ่งพิงสารเคมีเป็นหลัก จนเมื่อได้รับแนวคิดการทำนาที่ไม่ใช้สารเคมีจากการเข้าร่วมอบรมกับชุมชนสันติอโศก บวกกับราคาสารเคมีที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นแรงผลักสำคัญให้พวกเขาปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิถีการทำนา “ปี 2542
‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์
จังหวัดราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ BCG Model สาขาเกษตร ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมทำงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ยกระดับการปลูกผักปลอดภัยและผักอินทรีย์ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ โดยพืชผักที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า มะเขือเปราะ พริก ซึ่งมีแมลงศัตรูพืชหลายชนิด อาทิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ เป็นต้น “ก้อนเชื้อสดบิวเวอเรียและเมตาไรเซียม” จาก อนันต์ กอเจริญ ประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี คืออุปกรณ์สำคัญที่ สท. ใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บิวเวอเรียและเมตาไรเซียมให้เกษตรกร 83 ราย จากกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายสามพรานโมเดลในจังหวัดราชบุรี เกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เกษตรกรแปลงใหญ่ผักดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมืองราชบุรี อนันต์