ประวัติความเป็นมา “ปทุมมา” ในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา “ปทุมมา” ในประเทศไทย

ปทุมมา เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberaceae) สกุลขมิ้น (Curcuma) มีถิ่นกำเนิดแถบอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร คนไทยในภาคเหนือและภาคตะวันนออกเฉียงเหนือรู้จักกันดีในช่วงฤดูฝน ซึ่งพืชในสกุลขมิ้นจะเจริญเติบโตและออกดอกในช่วงฤดูฝน สามารถนำดอกมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกและยังเป็นพืชสมุนไพร พระยาวินิจวนันดร นักธรรมชาติวิทยาที่มีชื่อเสียงของไทย ได้พบความงามของดอกไม้พื้นเมืองในสกุลขมิ้นจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “กระเจียวบัว” จึงได้นำดอกไม้พื้นเมืองนี้ถวายแด่ พระวินัยโกศล แห่งวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ปทุมมาท่าน้อง” และ “บัวสวรรค์” และเป็นชื่อ “ปทุมมา” ในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2510 บุคคลสำคัญอีกท่านที่ได้ให้ความสนใจดอกไม้พื้นเมืองของไทย คือ ดร.พิศิษฐ์ วรอุไร ได้นำดอกไม้สกุลขมิ้นปลูกในพื้นที่วิจัยของโครงการหลวง บริเวณห้วยทุ่งจ๊อ และในปี

งาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ”

งาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ”

จากความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตร สอดคล้องกับแผน นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาของจังหวัดอุดรธานี ที่จะยกระดับความเป็นเมืองท่องเที่ยวและ Mice City ของจังหวัด สท. จึงได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี พัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ต่อยอดจากการปลูกไม้ดอกส่งจำหน่าย โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนทั้งการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตปทุมมา ตั้งแต่สายพันธุ์ วิธีการปลูก การเก็บหัวพันธุ์จำหน่าย การใช้ประโยชน์จากดอกปทุมมา ตลอดจนการสนับสนุนปทุมมาสายพันธุ์ใหม่ “พันธุ์ห้วยสำราญ” ที่พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  ให้ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” ปลูกขยายเป็นจุดสาธิตการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปทุมมาและส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความรู้​ในพื้นที่ งาน “ปทุมมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 กันยายน-31 ตุลาคม

เมื่อ “ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่” จะผลิบานที่ “ห้วยสำราญ”

เมื่อ “ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่” จะผลิบานที่ “ห้วยสำราญ”

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มีความร่วมมือกับจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปพัฒนาและส่งเสริมการทำเกษตรในพื้นที่ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี เป็นหนึ่งกลุ่มเกษตรกรที่ สท. ได้ร่วมดำเนินงานด้วย ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ” โดยมุ่งหวังให้เป็นจุดสาธิตการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปทุมมาและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความรู้ด้าน วทน. “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี มีสมาชิก 104 ราย ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายพันธุ์ เช่น มะลิร้อยมาลัย เบญจมาศ ดาวเรือง ดอกพุด คัตเตอร์ กุหลาบร้อยมาลัย เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับของกลุ่มวิสาหกิจฯ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในช่วงฤดูไม้ดอกผลิบาน เว้นแต่ในช่วงฤดูฝนที่ยังขาดพันธุ์ไม้ดอกที่หลากหลาย จากนโยบายของจังหวัดอุดรธานีที่ต้องการพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยสำราญให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เปิดรับผู้คนได้ตลอดทั้งปี จึงได้ร่วมกับ สท. นำร่องจัดอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตปทุมมาให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ

“เมล่อนคุณภาพ” ผลผลิตจากโรงเรือนอัจฉริยะ

“เมล่อนคุณภาพ” ผลผลิตจากโรงเรือนอัจฉริยะ

กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผลผลิตเมล่อนจำนวนกว่า 250 ลูก จากโรงเรือนอัจฉริยะ บริเวณ AGRITEC Station อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ส่งมอบถึงบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และเทศบาลเมืองท่าโขลง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมกับบริษัท นาวิต้าฟู้ดส์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล่อนมากว่า 30 ปี ทดลองปลูกเมล่อน 4 สายพันธุ์ในระบบโรงเรือนอัจฉริยะ ได้แก่ พันธุ์เพิร์ลเมล่อน เนื้อสีส้ม พันธุ์เพิร์ลเมล่อน เนื้อสีเขียว พันธุ์กาเลียเมล่อน และพันธุ์เมล่อนเนื้อสีทอง โดยใช้ความสามารถของระบบ IoT (Internet of Thing) ในโรงเรือนอัจฉริยะ บริหารจัดการการปลูก

สวทช.-ม.แม่โจ้ ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

สวทช.-ม.แม่โจ้ ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

สวทช. ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และผศ.พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี ม.แม่โจ้ ร่วมลงนามภายในงาน สวทช.-วิทย์สัญจร จ.เชียงใหม่ ประจำปี 2563 เพื่อร่วมพัฒนาองค์ความรู้ หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และความร่วมมือวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของภาคการเกษตรไทย พร้อมกันนี้คณะผู้บริหาร สวทช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ม.แม่โจ้ สัมผัสตัวอย่างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่แปลงวิจัยลำไย ทดสอบการใช้เทคโนโลยีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศเพื่อการเกษตร และระบบการให้น้ำอัตโนมัติสำหรับพืชไร่และพืชสวน ผ่าน Smart IoT รวมถึงเยี่ยมชมแปลงทดสอบผลิตมะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ของ สวทช.

สวทช.-พันธมิตรจับมือจังหวัดร้อยเอ็ด เดินหน้า Smart Tambon Model

สวทช.-พันธมิตรจับมือจังหวัดร้อยเอ็ด เดินหน้า Smart Tambon Model

(20 พฤศจิกายน 2562) ที่เทศบาลตำบลคำพอุง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด – สวทช. ลงนามบันทึกความร่วมมือกับจังหวัดร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และเครือเบทาโกร เดินหน้าโครงการ Smart Tambol Model นำร่องที่เทศบาลตำบลคำพอุง พัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม 5 ด้านด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) กล่าวว่า การส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวมในระดับตำบล หรือ Smart Tambon Model เป็นต้นแบบการพัฒนาท้องถิ่นที่เกิดจากการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม 5

สท. ผนึกสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา บ่มเพาะเส้นทางอาชีพเกษตรสมัยใหม่

สท. ผนึกสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา บ่มเพาะเส้นทางอาชีพเกษตรสมัยใหม่

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการฝึกอบรมและบ่มเพาะบุคลากรสายอาชีพด้านเกษตรสมัยใหม่ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เพื่อเสริมสร้างบุคลากรสายอาชีพให้เกิดนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรสู่ภาคเกษตรกรรมของประเทศ ณ อาคาร 60 พรรษาราชสุดาสมภพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

สวทช. จับมือ ปตท. ผลักดันวิทย์ฯ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน​

สวทช. จับมือ ปตท. ผลักดันวิทย์ฯ ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน​

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับ คุณชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือในโครงการ “การนำผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์” โดยมีคุณวิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. คุณกฤษณ์ อิ่มแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคุณณภัค กรรณสูต ผู้จัดการฝ่ายสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการนำเอาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ สวทช.