28 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องออดิทอเรียม บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดสัมมนาโครงการต่อยอด New Gen, Smart Farmer และ Young Smart Farmer เพื่อสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจร่วมกับเครือข่ายธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่และผู้ประกอบการเกษตรจำนวน 450 ราย และเกิดเกษตรกรต้นแบบจำนวน 30 ราย ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ภาคการเกษตรเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศ สวทช.
สท. เปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022
18 พฤศจิกายน 2565 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี- สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) จำนวน 80 ท่าน เข้าเยี่ยมชม AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร โดยได้จัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร ทั้งเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีด้านสารชีวภัณฑ์และนวัตกรรมด้านการเกษตรอื่นๆ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากคณะผู้เยี่ยมชม
สท. พร้อมเปิด AGRITEC Station ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม Asian Seed Congress 2022
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. เตรียมพร้อมเปิด AGRITEC Station สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมประชุมงานประชุมเมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี 2565 (Asian Seed Congress 2022) ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 โดยจะนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ อาทิ โรงเรือนอัจฉริยะ, ไวมาก: ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT, HandySense: ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ เทคโนโลยีด้านเมล็ดพันธุ์ จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชจากผลงานวิจัยของ สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร อาทิ พริกพันธุ์อัคนีพิโรธ เพชรมอดินแดง เรดซันอีสาน หยกขาวมอดินแดง มะเขือเทศพันธุ์นิลมณี ชายนี่ ควีน ซัมเมอร์ซัน
สวทช. ผนึกพันธมิตรยกระดับคุณภาพ-มาตรฐานการปลูกพืชสมุนไพร ใช้กลไกตลาดนำการผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลา
(วันที่ 17 กันยายน 2565) ณ ห้องประชุมศรีพฤทเธศวร ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “การยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม: ด้านพืช สมุนไพร” ร่วมกับ 3 จังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม รวมทั้งสถาบันการศึกษาในพื้นที่ นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับการปลูกพืชสมุนไพร นำร่องขิง ไพล ฟ้าทะลายโจร พร้อมเชื่อมโยงบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) และบริษัท กุยลิ้มฮึ้ง จำกัด รับซื้อผลผลิตคุณภาพตอบโจทย์ความต้องการตลาด เปิดช่องทางการตลาดใหม่ สร้างเศรษฐกิจชุมชนและฐานรากให้ยั่งยืนโดยใช้ฐานทรัพยากรในพื้นที่ ศาสตราจารย์
สวทช. ผนึก มทร.อีสาน พัฒนา-ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ พลิกทุ่งกุลาให้ “ยิ้มได้”
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้” ใช้กลไก Training Hub สถานีกระจายความรู้สร้างทักษะให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้นแบบขยายผลการใช้เทคโนโลยีให้ครอบคลุมพื้นที่เขตทุ่งกุลาร้องไห้ ตั้งเป้ายกระดับรายได้เกษตรกรก้าวพ้นขีดความยากจน สอดรับการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งให้ประชาชนอยู่ดีกินดี นายเชวงศักดิ์ พลเยี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมีประวัติศาสตร์ ประเพณี และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มุ่งเน้นพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นฐานแหล่งผลิต สร้างมูลค่าข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง และเป็นเมืองน่าเที่ยว น่าอยู่ การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานในบันทึกข้อตกลงนี้สอดคล้องกับพันธกิจของจังหวัดทั้ง 3 ประการ คือ 1) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในนวัตกรรมเพิ่มศักยภาพในการบริหารทรัพยากรและสินค้าเกษตรให้เป็นเกษตรที่ปลอดภัย เกษตรอินทรีย์
สวทช.-อุบลไบโอเอทานอล เดินหน้า “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ยกระดับมันสำปะหลังอินทรีย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ภายใต้โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเกษตรอินทรีย์ ต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง “อุบลโมเดล” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ “อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม” ขยายพื้นที่ทำงานครอบคลุม 4 จังหวัดแหล่งผลิตมันสำปะหลังสำคัญของภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และอำนาจเจริญ ยกระดับการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต้นทางวัตถุดิบคุณภาพสู่การแปรรูป “ฟลาวมันสำปะหลัง” อาหารแห่งอนาคต ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า
อว. -สวทช. จับมือภาคเอกชน ปูพรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 5 จังหวัด พื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG
รัฐมนตรีฯ กระทรวง อว. นำนักวิจัย สวทช. ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ชุมชน ยกระดับ-เพิ่มมูลค่าผ้าทอของทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีนาโน พร้อมหนุนปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ เป็นพืชหลังนา จับมือภาคเอกชนรับซื้อผลผลิต สร้างอาชีพ เสริมรายได้ สอดคล้องพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ประชาชนอยู่ดี กินดี คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีรายได้เพิ่ม ข้ามพ้นความยากจน ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง
มูลนิธิโครงการหลวง-สวทช. ลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนงานวิจัย ถ่ายทอดเทคโนโลยี พัฒนาคน ยกระดับอาชีพและคุณภาพชีวิตชุมชนบนพื้นที่สูง
มูลนิธิโครงการหลวงและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” สอดคล้องตามแนวทางของมูลนิธิที่มุ่งให้ “เกษตรกรมีรายได้พอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ป่าต้นน้ำลำธารได้รับการฟื้นฟู” นายจรัลธาดา กรรณสูต ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง กล่าวว่า สวทช. เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศที่สนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย สอดคล้องตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดงานของมูลนิธิโครงการหลวงให้เป็นไปตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงก่อตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2512 ที่ได้พระราชทานแนวทางสำคัญของการดำเนินงาน คือ “เมื่อไม่รู้ต้องวิจัย” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสู่การพัฒนาพื้นที่สูงสู่ความยั่งยืน “มูลนิธิโครงการหลวงได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก สวทช. ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่หน่วยงานต่างๆ ได้เข้ามาศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่บุคลากรและเกษตรกรของมูลนิธิฯ มาอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนบนพื้นที่สูงในทุกมิติให้ดีขึ้น การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะได้ร่วมกับโครงการในการต่อยอดและขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่โครงการหลวง เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมั่นคงในทุกมิติ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน
สวทช. เดินหน้า “ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วย “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม”
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สท.) และฝ่ายบริหารวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ สวทช. ลงพื้นที่ร่วมกับภาคเอกชน กระชับความร่วมมือกับ 5 ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ และ 3 มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ขับเคลื่อน “โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” กำหนดโจทย์มุ่งเป้าและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน ให้สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG ตั้งเป้ายกระดับคนจนเป้าหมายในมิติเศรษฐกิจพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีรายได้ก้าวพ้นเส้นความยากจน ยกระดับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้มาตั้งแต่ปี 2562 โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปพัฒนาทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ตลอดจนพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ นวัตกรชุมชน เชื่อมโยงการตลาดกับภาคเอกชน รวมถึงยกระดับเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สวทช.