เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้กลุ่มเกษตรกรจากอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอเมืองจันทร์และอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ที่พร้อมยกระดับเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML (Seed) และเจ้าหน้าที่ด้านเกษตรของจังหวัด รวม 89 คน โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้ อีกทั้งได้รับฟังข้อมูลการรับซื้อผลผลิตจากผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ตลาดรับซื้อในจังหวัดศรีสะเกษ
สวทช. นำสำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพผลิตข้าว-พืชหลังนา-เลี้ยงโคเนื้อทุ่งกุลาร้องไห้ จ.สุรินทร์
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ดร.มีชัย เซี่ยงหลิว นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นำคณะนักวิเคราะห์จากสำนักงบประมาณ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในโครงการการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีบ้านโนนทองหลาง จ.สุรินทร์ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ตั้งแต่ปี 2562 โดยมีเป้าหมายในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยียกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อให้เกษตรกรในเขตพื้นที่มีความมั่นคงด้านอาหาร เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต่อมาในปี 2567
สวทช.-สำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตทุ่งกุลาร้องไห้: จ.ศรีสะเกษ กลุ่มผู้ปลูกผักเกษตรอินทรีย์–ปลูกขิงมาตรฐาน GAP
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยนางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. พร้อมด้วย นางสาวรัตนา วรปัสสุ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย แผนงาน และงบประมาณ สวทช. นำคณะนักวิเคราะห์จากสำนักงบประมาณ นำโดย นางสาวเบญจมาศ มหาวงศ์ขจิต นางสาวกรกช ลีลาศิลป์ นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2567 เพื่อติดตามความก้าวหน้าการทำงานของ สวทช.
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรเพชรบูรณ์รุกเติมความรู้-หนุนเกษตรกรปลูกถั่วเขียวคุณภาพ KUML
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้กลุ่มเกษตรกรและเจ้าหน้าที่เกษตรจากอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอวังโป่ง อำเภอหล่มเก่า และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ รวม 111 คน เพื่อให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ได้รับความรู้การปลูกถั่วเขียว KUML (Grain) ให้ได้คุณภาพ โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้ นอกจากนี้เกษตรกรยังได้รับข้อมูลการรับซื้อผลผลิตจากคุณวีณา รังสิกรรพุม
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรสุพรรณบุรี เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรปลูกถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่จากอำเภอดอนเจดีย์ อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภออู่ทอง อำเภอเดิมบางนางบวช และอำเภอสามชุก ณ สหกรณ์การเกษตรสามชุก จำกัด โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้การปลูกถั่วเขียว KUML (Grain) ให้ได้คุณภาพดี รวมทั้งคุณมนตรี สมงาม บริษัท
สท.-มรภ.อุบลฯ หารือเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อทุ่งกุลาฯ พร้อมติดตามการขยายผลความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อโคขุน
เมื่อวันที่ 4–8 พฤศจิกายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วยน.ส.อดิศัย เรืองจิระชูพร นักวิเคราะห์ นายนิคม กันยานะ นักวิชาการ และ ผศ.กฤษฎา บูรณารมย์ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ร่วมประชุมหารือแผนงานการเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายโคเนื้อระหว่างเกษตรกรเลี้ยงโคแม่พันธุ์ผลิตลูกกับเกษตรกรเลี้ยงโคขุนคุณภาพ ภายใต้การดำเนินงานโครงการ “การพัฒนายกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมปีที่ 2” นอกจากนี้ได้ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อและโคขุนหารือแผนงานการผลิตโคเนื้อลูกผสม สายพันธุ์ชาโรเล่ แองกัส และวากิว ที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งขายให้กับ อัมรีฟาร์ม ต.ปราสาท อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุนสุรินทร์โกเบครบวงจร ต.สลักได อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย อ.เกษตรวิสัย
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรร่วมปลูกถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 29-31 ตุลาคม 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และทีมงาน ลงพื้นที่ร่วมกับ รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ และสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก อำเภอวิเชียรบุรีและอำเภอวังโป่ง เพื่อประเมินศักยภาพเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมปลูกถั่วเขียว KUML ภายใต้ “โครงการการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จากการลงพื้นที่พบว่า เกษตรกรให้ความสนใจถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่นี้ โดยโครงการฯ จะจัดถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรจังหวัดเพชรบูรณ์อีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนิ้
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรเพชรบูรณ์ เติมความรู้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ และสำนักงานเกษตรอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้กลุ่มเกษตรกรถั่วเขียวแปลงใหญ่ตำบลท่าแดง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ (seed) เพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML แก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ซึ่งกลุ่มเกษตรกรถั่วเขียวแปลงใหญ่ตำบลท่าแดง เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562
สท.-ไบโอเทค-ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ติดตามแปลงเกษตรกรทุ่งกุลาฯ ทดสอบปลูกข้าว 6 สายพันธุ์ใหม่
เมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 2567 นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับนักวิจัยกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ใหม่และพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบแปลงนาในพื้นที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อำเภอชุมพลบุรี และอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีข้าวสายพันธุ์ใหม่และการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เพื่อยกระดับการผลิตข้าวของเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” โดยมีแปลงเกษตรกร 5 ราย ร่วมทดสอบผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ หอมสยาม 2 ไรซ์เบอร์รี่ 2 แดงจรูญ นิลละมุน ธัญสิรินต้นเตี้ย และข้าวเหนียวดำ จากการลงพื้นที่ครั้งนี้พบว่า ข้าวสายพันธุ์ใหม่สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ของจังหวัดมหาสารคามและสุรินทร์ เกษตรกรยังสนใจทดสอบผลิตข้าวสายพันธุ์ใหม่ตามความสนใจ ได้แก่ หอมสยาม 2 จำนวน