สท.-ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ยกระดับเกษตรกรแกนนำทุ่งกุลาร้องไห้ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยตนเอง

สท.-ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ยกระดับเกษตรกรแกนนำทุ่งกุลาร้องไห้ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยตนเอง

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี “การบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวและการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว” ให้เกษตรกรแกนนำผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดมหาสารคาม ณ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ต.แกใหญ่ อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ โดยนายธานี ชื่นบาน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ได้กล่าวต้อนรับเกษตรกรแกนนำทั้ง 50 ราย ที่เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้และศึกษาดูงานกระบวนการจัดการหลังเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการตรวจสอบความงอกและตรวจสอบความบริสุทธิ์เมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของตนเองได้เบื้องต้น  การตรวจสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องมีเปอร์เซ็นต์ความงอกไม่ต่ำกว่า 80% สำหรับการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ด้านกายภาพ 4 ด้าน ได้แก่ เมล็ดพันธุ์สุทธิ (เมล็ดข้าวที่มีเปลือกหุ้ม หรือเปลือกหุ้มหลุดออกแล้ว เมล็ดหักแตกที่มีขนาดใหญ่เกินครึ่งหนึ่ง และเมล็ดเป็นโรคที่ยังคงลักษณะเป็นเมล็ดข้าว ซึ่งเมล็ดพันธุ์สุทธิจะนำไปทดสอบความงอก) สิ่งเจือปน (เช่น

สท. ร่วมงาน Green Day จังหวัดยโสธร ให้ความรู้ปลูกถั่วเขียว KUML พืชหลังนา ใช้น้ำน้อย

สท. ร่วมงาน Green Day จังหวัดยโสธร ให้ความรู้ปลูกถั่วเขียว KUML พืชหลังนา ใช้น้ำน้อย

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมจัดกิจกรรมให้ความรู้ “การปลูกพืชหลังนา ใช้น้ำน้อย : ถั่วเขียว KUML” ในงานเวทีรณรงค์สร้างการรับรู้และการเรียนรู้การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Day) จังหวัดยโสธร ณ แปลงเกษตรกรต้นแบบนายบุญเรือง กองคำ บ้านผักบุ้งหมู่ที่ 6 ต.ดงแคนใหญ่ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร โดยมีนายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานในพิธีเปิดและได้ร่วมกิจกรรมสาธิตการหยอดเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML งาน Green Day ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตร ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร มีเกษตรกรกว่า 200 คนเข้าร่วมกิจกรรมผ่านฐานเรียนรู้ของหน่วยงานต่างๆ อาทิ การไถกลบตอซัง

นักวิชาการ สท. ร่วมเวที สกสว. นำเสนอนวัตกรรมถั่วเขียว KUML ยกระดับข้าวไทยด้วย ววน. ในงาน Thailand Rice Fest 2024

นักวิชาการ สท. ร่วมเวที สกสว. นำเสนอนวัตกรรมถั่วเขียว KUML ยกระดับข้าวไทยด้วย ววน. ในงาน Thailand Rice Fest 2024

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมบรรยายในหัวข้อ “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร (ถั่่วเขียว KUML) โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต” ในงาน Thailand Rice Fest 2024 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยเป็นหนึ่งใน 7 งานวิจัยและนวัตกรรมข้าวที่โดดเด่น พร้อมใช้ประโยชน์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่ง สกสว. มีแนวคิดการยกระดับข้าวและชาวนาไทยด้วย ววน. ด้วย 5 กลยุทธ์ ได้แก่

สท.-ม.แม่โจ้ ให้ความรู้ “ปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนให้ประสบความสำเร็จ”

สท.-ม.แม่โจ้ ให้ความรู้ “ปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนให้ประสบความสำเร็จ”

เมื่อวันที่ 11-12 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาแม่โจ้ ภายใต้ความร่วมมือด้านสถานีเรียนรู้ (Training Hub) ผักและสมุนไพรอินทรีย์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “โอกาสของการปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนให้ประสบความสำเร็จ” ให้เกษตรกรรุ่นใหม่ (Yong Smart Farmer) ทหารพันธุ์ดี ผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านการเกษตร และนักศึกษาหลักสูตรเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวม 119 คน โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิโครงการหลวง และบริษัทเอกชน เป็นวิทยากรให้ความรู้และนำฝึกปฏิบัติในแปลงเรียนรู้ของศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

สท. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการในงาน “ข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 24” จังหวัดร้อยเอ็ด

สท. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการในงาน “ข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 24” จังหวัดร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมจัดแสดงนิทรรศการวิชาการในงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 11-15 ธันวาคม 2567 ณ อ่างเก็บน้ำธวัชชัย ต.มะอึ อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด โดยจัดแสดงผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์จากการดำเนินงานภายใต้โครงการ “การยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปี 2” ได้แก่ ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ประกอบด้วย ข้าวหอมสยาม 2 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 2 ข้าวแดงจรูญ และข้าวนิลละมุน เทคโนโลยีเอนไซม์เอนอีซ เอนไซม์สำหรับลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกออกจากผ้าฝ้ายก่อนย้อมสีในขั้นตอนเดียว นวนุรักษ์: เส้นทางท่องเที่ยวบ่อพันขัน และการยกระดับผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวอาบน้ำและแชมพูผสมสารสกัดข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้

สท.-ไบโอเทค เดินหน้าเติมความรู้ “ปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือน” ให้เกษตรกรรอบเหมืองผาแดง

สท.-ไบโอเทค เดินหน้าเติมความรู้ “ปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือน” ให้เกษตรกรรอบเหมืองผาแดง

เมื่อวันที่ 7-8 ธันวาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการจัดการแบบบูรณาการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การปลูกมะเขือเทศเชอรี่อินทรีย์ในโรงเรือนให้ประสบความสำเร็จ” ให้เจ้าหน้าที่ กลุ่มเกษตรกร คุณครูและนักเรียนในพื้นที่โครงการการอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในพื้นที่เหมืองผาแดง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดตาก รวม 70 คน เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกมะเขือเทศเชอรี่แบบอินทรีย์ในโรงเรือนให้เป็นพืชทางเลือกสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรและชุมชนรอบเหมืองผาแดง ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก โดยใช้มะเขือเทศเชอรี่พันธุ์แดงโกเมนและซันไชน์เป็นต้นแบบการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไบโอเทคและบริษัท ที เค อาร์ แอนด์ ดี จำกัด การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิโครงการหลวง และบริษัทเอกชน ร่วมให้ความรู้และนำฝึกปฏิบัติ ภายใต้ความร่วมมือ Training

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรศรีสะเกษ เดินหน้าขยายผลหนุนเกษตรกร 7 อำเภอปลูกถั่วเขียว KUML

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรศรีสะเกษ เดินหน้าขยายผลหนุนเกษตรกร 7 อำเภอปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ณ โรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกลุ่มเกษตรกรจากอำเภอขุนหาญ อำเภอเมือง อำเภอราษีไศล อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอปรางค์กู่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ รวม 329 คน เข้าร่วมอบรมรับความรู้เรื่อง “เทคนิคการปลูกถั่วเขียวเพื่อยกระดับคุณภาพและปริมาณผลผลิต” และ “การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” จาก รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรศรีสะเกษ ยกระดับเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรศรีสะเกษ ยกระดับเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชน : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้กลุ่มเกษตรกรจากอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอเมืองจันทร์และอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ที่พร้อมยกระดับเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML (Seed) และเจ้าหน้าที่ด้านเกษตรของจังหวัด รวม 89 คน โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้ อีกทั้งได้รับฟังข้อมูลการรับซื้อผลผลิตจากผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ตลาดรับซื้อในจังหวัดศรีสะเกษ

สวทช. นำสำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพผลิตข้าว-พืชหลังนา-เลี้ยงโคเนื้อทุ่งกุลาร้องไห้ จ.สุรินทร์

สวทช. นำสำนักงบประมาณติดตามโครงการยกระดับคุณภาพผลิตข้าว-พืชหลังนา-เลี้ยงโคเนื้อทุ่งกุลาร้องไห้ จ.สุรินทร์

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ดร.มีชัย เซี่ยงหลิว นักวิจัยทีมวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นำคณะนักวิเคราะห์จากสำนักงบประมาณ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในโครงการการยกระดับคุณภาพมาตรฐานการผลิตข้าวและสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้: วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีบ้านโนนทองหลาง จ.สุรินทร์ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ตั้งแต่ปี 2562 โดยมีเป้าหมายในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยียกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อให้เกษตรกรในเขตพื้นที่มีความมั่นคงด้านอาหาร เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต่อมาในปี 2567