สท. ส่งต่อความรู้เกษตรกร-ชุมชนผลิตหนอน BSF ลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์

สท. ส่งต่อความรู้เกษตรกร-ชุมชนผลิตหนอน BSF ลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 นางณัฐชลธร ชยุตพงค์พันธุ์ นักวิชาการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และคณะทำงาน จัดอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ “การผลิตและการใช้ประโยชน์แมลงทหารดำ (Black Soldier Fly: BSF) เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์” ณ ข่วงชีวิตวิถียั่งยืน ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่-ไก่พื้นเมือง ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐจากจังหวัดลำปางและเชียงใหม่เข้าร่วม 70 คน กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้ การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงหนอน BSF จากเกษตรกรแกนนำวิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค การศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติ เช่น เตรียมอาหารสำหรับล่อแมลง คัดแยกหนอน BSF ทั้งนี้ สท. ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สท.-ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรพักชำระหนี้สร้างอาชีพเสริมปลูกถั่วเขียว KUML

สท.-ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรพักชำระหนี้สร้างอาชีพเสริมปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้การผลิตถั่วเขียวแบบครบวงจร ภายใต้หัวข้อ “สร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เกษตรมูลค่าสูง ผลิตเมล็ดพันธุ์ปลูกพืชระยะสั้น” ให้เกษตรกรอำนาจเจริญในโครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าพักชำระหนี้ หลักสูตรฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเดิม สร้างอาชีพเสริม เพิ่มอาชีพใหม่ จัดโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ณ ห้องประชุมอาคารศูนย์เรียนรู้ข้าวหอมมะลิอำนาจเจริญ สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้ร่วมขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตของ สท./สวทช. โดยส่งเสริมให้เกษตรกรพักชำระหนี้ปลูกถั่วเขียว KUML พร้อมทั้งสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้เกษตรกร

สท. จับมือกรมส่งเสริมการเกษตรหารือขยายผลปลูก “ถั่วเขียวคุณภาพพันธุ์ KUML” ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท. จับมือกรมส่งเสริมการเกษตรหารือขยายผลปลูก “ถั่วเขียวคุณภาพพันธุ์ KUML” ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผช.ผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมประชุมกับ น.ส.วัลภา ปันต๊ะ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อสร้างความร่วมมือการทำงานส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML เป็นพืชหลังนาด้วยกลไกตลาดนำการผลิต โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และนักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท. คณะทำงานโครงการ “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” เข้าร่วมประชุมด้วย โครงการดังกล่าวฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมประชุมหารือการส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายวิชัย ศรีโพธิ์งาม เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุม นายอนุวัตร โสภา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ธ.ก.ส. และนางขวัญญรัตน์ จงเสรีจิตต์ ผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ผู้รับซื้อถั่วเขียว KUML ในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมหารือแนวทางการทำงานภายใต้กลไกตลาดนำการผลิต นอกจากนี้ สวทช. โดย สท. และ ธ.ก.ส. ยังได้หารือร่วมกับนายวัชรากร กิจตรงศิริ ผู้บริหารบริษัท

สท.-มรภ.อุดรธานี ติวเข้มเกษตรกรปลูกปทุมมา สร้างรายได้เสริม-พร้อมรับมหกรรมพืชสวนโลกปี 2569

สท.-มรภ.อุดรธานี ติวเข้มเกษตรกรปลูกปทุมมา สร้างรายได้เสริม-พร้อมรับมหกรรมพืชสวนโลกปี 2569

เมื่อวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการแปลงปลูกปทุมมาอย่างมีประสิทธิภาพ” ให้สมาชิกเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกปทุมมาจังหวัดอุดรธานีและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีนายลิขิต มณีสินธุ์ นักปรับปรุงพันธุ์ปทุมมา เป็นวิทยากรให้ความรู้การบริหารจัดการดินและปุ๋ยในแปลงปลูกปทุมมา นางสาวพรนิภา นาเมือง นักวิชาการ สท. เป็นวิทยากรให้ความรู้การจัดการแปลงปลูกปทุมมาและการควบคุมศัตรูพืชปทุมมาโดยวิธีผสมผสาน และนางสาวพาริณี โลมาอินทร์ นักวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นวิทยากรให้ความรู้การเตรียมหัวพันธุ์ปทุมมาก่อนปลูก นอกจากนี้ยังมีนายบุญถม กองทอง เกษตรกรผู้ผลิตปทุมมานำร่องบ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลูกปทุมมาตัดดอก ทั้งนี้คณะวิทยากรยังได้ลงพื้นที่สาธิตการปลูกปทุมมาที่แปลงเกษตรกรเครือข่ายนำร่อง และติดตามให้คำแนะนำปรึกษา กิจกรรมดังกล่าวดำเนินงานภายใต้การพัฒนาศูนย์ร่วมรู้การผลิตและใช้ประโยชน์จากปทุมมาแบบครบวงจรด้วยเศรษฐกิจ BCG ผลักดันปทุมมาเป็นไม้ดอกอัตลักษณ์จังหวัดอุดรธานีและขยายผลเป็นพืชทางเลือกให้เกษตรกร รวมทั้งเพื่อจัดแสดงปทุมมาในมหกรรมพืชสวนโลกปี

สท. เติมความรู้ชาวสวนทุเรียน “จัดการธาตุอาหารพืชและใช้ปุ๋ยคีเลต” เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต

สท. เติมความรู้ชาวสวนทุเรียน “จัดการธาตุอาหารพืชและใช้ปุ๋ยคีเลต” เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ “การจัดการธาตุอาหารพืชและปุ๋ยคีเลต: นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน” ณ สวนบัวแก้ว ต.วังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง โดยมี ผศ.ดร.ยศพล ผลาผล อาจารย์ประจำภาควิชาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “การจัดการธาตุอาหารพืชไม้ผล (ทุเรียน)” ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “ปุ๋ยคีเลต นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน” และนายสมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนบัวแก้ว ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน เช่น เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ)

สท.-มรภ.อุดรฯ เติมความรู้เกษตรกรขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยไบโอเทคโนโลยี

สท.-มรภ.อุดรฯ เติมความรู้เกษตรกรขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยไบโอเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” ให้สมาชิกเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกปทุมมาจังหวัดอุดรธานี และพื้นที่ใกล้เคียง โดยมี ดร.วิบูล เป็นสุข และคณะอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นวิทยากรให้ความรู้พื้นฐานของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปทุมมา ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) และนายสันติ อาริยะ ผู้ช่วยนักวิจัย สวทช. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเพาะเลี้ยงเนื้อปทุมมาอย่างง่ายทำได้ที่บ้าน   นอกจากนี้ สท. และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้ส่งมอบหัวพันธุ์ปทุมมาให้เกษตรกรเครือข่ายนำร่อง 9 ราย ภายใต้การพัฒนาศูนย์ร่วมรู้การผลิตและใช้ประโยชน์จากปทุมมาแบบครบวงจรด้วยเศรษฐกิจ

สท. ร่วมติดตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตถั่วเขียว KUML นำร่องจังหวัดเพชรบูรณ์ที่แรก

สท. ร่วมติดตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตถั่วเขียว KUML นำร่องจังหวัดเพชรบูรณ์ที่แรก

เมื่อวันที่ 20-22 มีนาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการส่งเสริมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรพืชตระกูลถั่ว: ถั่วเขียวพันธุ์ใหม่ KUML 4 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการนำร่องส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML ที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดแรก เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีกระจายสู่ระบบการผลิตในชุมชน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชตระกูลถั่ว ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภายใต้โครงการนำร่องฯ มีเกษตรกรเข้าร่วม 130 ราย พื้นที่เพาะปลูกปลูกรวม 260 ไร่ ในอำเภอหนองไผ่ (เกษตรกร 60 ราย พื้นที่เพาะปลูก 120 ไร่) อำเภอชนแดน (เกษตรกร

สวทช.-โอสถสภา-หน่วยงานพันธมิตร ชู ‘สมุนไพร-ถั่วเขียว’ ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

สวทช.-โอสถสภา-หน่วยงานพันธมิตร ชู ‘สมุนไพร-ถั่วเขียว’ ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ อ.เมืองศรีสะเกษ และตำบลเมืองหลวง ตำบลผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ : ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ชาติ (สวทช.) นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วยนักวิจัย สวทช. ประกอบด้วย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.ประเดิม วณิชชนานันท์ นักวิจัยไบโอเทค ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ