เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และปศุสัตว์อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีปฏิบัติการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อ นำร่องกับโค 20 ตัวในอำเภอราษีไศล โดยได้รับความสนใจอย่างมากจากกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับจัดการฝูงแม่พันธุ์โคให้ผลิตลูกโคเนื้อได้จำนวนมากในรุ่นเดียวกัน นำไปสู่ระบบการเลี้ยงและการขุนโคเนื้ออย่างเป็นระบบ ลดค่าใช้จ่ายการจัดการฟาร์มและเพิ่มรายได้จากการเสียโอกาสที่แม่โคทิ้งช่วงท้องว่างนาน สท. และหน่วยงานเครือข่ายมีแผนขยายผลเทคโนโลยีปฏิบัติการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด รวม 100 ตัว รวมถึงแผนการผสมเทียมเพื่อยกระดับสายพันธุ์โคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อย่างน้อย 400 ตัว ให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด
สท.-มทร.ศรีวิชัย ยกระดับสิ่งทอภาคใต้-ผ้าทอนาหมื่นศรีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เมื่อวันที่ 18-19 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอในพื้นที่ภาคใต้: วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี” ให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง จำนวน 31 คน เพื่อให้สมาชิกได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ และปรับใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมยกระดับประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยมี รศ.ดร.มาหามะสูไฮมี มะแซ มทร.ศรีวิชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุวิศวกรรมและสิ่งทอ นางดรุณี ภู่ทับทิม และนายประวิทย์ ภู่ทับทิม ปราชญ์ด้านสีย้อมธรรมชาติ กลุ่มดรุณีสีย้อมธรรมชาติ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นวิทยากรให้ความรู้การย้อมสีเส้นไหมโดยใช้สีธรรมชาติจากเปลือกไม้มะฮอกกานีและคลั่ง และการปรับใช้มอร์แดนท์หรือสารช่วยย้อมชนิดต่างๆ เช่น มะขามเปียก สารส้ม
สท.-สนง.เกษตรอำเภอราษีไศล ขยายผลเทคโนโลยียกระดับกลุ่มทอผ้าบ้านกอย
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอราษีไศล จ.ศรีสะเกษ จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) และเทคนิคการสกัดสีจากพืชในท้องถิ่น” ให้สมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านกอย ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดเส้นไหมบ้าน (ได้จากหนอนไหมพันธุ์พื้นเมือง) ช่วยให้ติดสีมากขึ้นและลดระยะเวลาย้อมสีจากเดิม 1 วัน เหลือเพียง 1-2 ชั่วโมง พร้อมทั้งร่วมเรียนรู้การสกัดสีจากก้านบัวแดงและใบสาบเสือ ใช้สารส้ม ปูนขาว โคลนในพื้นที่ทุ่งกุลาและขี้เถ้าเป็นสารมอร์แดนท์ พบว่า ก้านบัวแดงให้โทนสีเทาและเขียว ใบสาบเสือให้สีโทนเหลืองเข้ม น้ำตาล หลังเสร็จสิ้นการอบรม คุณจันทรา คำพัน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมมัดหมี่ ได้ขอรับตัวอย่างเอนไซม์ให้สมาชิกทั้ง 26 คน ได้ทดลองใช้
สท. พร้อมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML อำนาจเจริญ-ยโสธร-ศรีสะเกษ
เมื่อวันที่ 9-12 มกราคม 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยวิจัย ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ลงพื้นที่ติดตาม ให้คำปรึกษาและวางแผนการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ปลูกถั่วเขียว KUML กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: วิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์: สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาเเละไทยเจริญ จำกัด ตำบลสามัคคี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร และวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์เเละข้าวอินทรีย์บ้านคำครตา
สท.-พัฒนาชุมชนยโสธร เสริมความรู้-เพิ่มทักษะชุมชนทอผ้าด้วยเทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี “การใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) และเทคนิคการสกัดสีจากพืชในท้องถิ่น” ให้ชุมชนทอผ้า อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดเส้นไหม ช่วยลดความมันลื่นและย้อมติดสีได้ดี นอกจากนี้ยังได้นำพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ดอกบัว ก้านบัว เปลือกและใบของสบู่เลือด (พรรณไม้เถา) มาต้มสกัดสีนำไปย้อมเส้นไหมที่ทำความสะอาดแล้ว โดยใช้สารส้มและปูนแดงเป็นสารมอแดนท์ ได้เส้นไหม 9 เฉดสี ก้านบัวให้โทนสีเทาเข้ม ดอกบัวให้โทนสีเขียวใส เปลือกและใบของสบู่เลือดให้โทนสีน้ำตาลเหลือง ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในงานทอผ้าของชุมชน ซึ่ง สท. จะลงพื้นที่ติดตามอีกครั้งเพื่อผลักดันและเพิ่มทักษะให้ชุมชนต่อไป
สท.-ไบโอเทค ผนึกพันธมิตร ส่งต่อความรู้ “การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์”
เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) จังหวัดชลบุรี และศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัดจันทบุรี จัดกิจกรรมอบรม “การจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์” ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านมาบชโอน ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี และผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีนายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดงานและบรรยายในหัวข้อ “ทิศทางตลาดทุเรียนปลอดภัย” และมีทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมชีวภาพ ไบโอเทค เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “การใช้ชีวภัณฑ์และคู่มือปฏิบัติงานเบื้องต้นในสวนทุเรียน” “การสำรวจและควบคุมแมลงศัตรูพืชในสวนทุเรียน” และ “การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนด้วยราไตรโคเดอร์มา” นายปัญญา ประดิษฐสาร เกษตรจังหวัดจันทบุรี ดร.อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมชีวภาพ ไบโอเทค
สท.-พัฒนาชุมชนศรีสะเกษยกระดับผลิตผ้าไหมพื้นเมืองด้วยเทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับโครงการส่งเสริมศิลปาชีพอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยี “ยกระดับการผลิตผ้าไหมพื้นเมือง” ให้กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการทอผ้ามาตรฐานนกยูง จำนวน 25 คน ได้ร่วมเรียนรู้และทดลองใช้เอนไซม์ ENZease กำจัดกาวไหม โดยแช่เส้นไหมในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงในการต้ม และประหยัดเวลามากกว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้เรียนรู้การสกัดสีธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่น ได้แก่ ใบยูคาลิปตัสและเปลือกมะพร้าวอ่อน โดยใช้สารส้ม ปูนแดงและสนิมเป็นสารมอร์แดนท์ ได้ 6 เฉดสี ได้แก่ สีโทนเทา
สท.-สนง.เกษตรอำเภอราษีไศลยกระดับกลุ่มผลิตผ้าไหมสีธรรมชาติด้วยเทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 21-23 ธันวาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ สำนักงานเกษตรอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การใช้เทคโนโลยีเอนไซม์และการออกแบบลายอัตลักษณ์สิ่งทอพื้นเมือง” ให้วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหมสีธรรมชาติ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มผลิตผ้าไหมที่ได้รับรองตรานกยูงพระราชทาน* มีนายกนก วงศ์รัฐปัญญา น.ส.ปวีณา ทองเกร็ด นักวิจัย สวทช. และนายวิวัฒน์ พร้อมพูน ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้คุณสมบัติของเอนไซม์กับการทำความสะอาดเส้นไหม ทำให้ได้เส้นไหมนุ่ม ลื่น ติดสีได้ดีขึ้น ผู้เข้าอบรมร่วมทดสอบนำเส้นไหมมาย้อมสีธรรมชาติจากสะเดาและเปลือกอะลาง โดยใช้โคลน สารส้มและปูนใสเป็นสารมอร์แดนท์ ทำให้เกิดโทนสีน้ำตาลมากกว่า 6 เฉดสี นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้รับความรู้เรื่องการออกแบบลายผ้าอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์
สท.-ม.กาฬสินธุ์ เสริมความรู้มัดย้อมฝ้าย-สกัดสีจากพืชท้องถิ่น ต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้ชุมชน
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยลัยกาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการมัดย้อมฝ้าย” ให้กลุ่มผ้ามัดย้อมบ้านหนองชำไฮ ตำบลด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซทำความสะอาดผ้าฝ้าย การสกัดสีจากพืชในชุมชน เช่น ใบมะม่วงให้สีเหลืองอ่อน เปลือกเพกาให้สีเหลืองเข้ม โดยใช้สารส้ม น้ำปูนใสและดินทุ่งกุลาเป็นสารมอร์แดนท์* ทำให้เม็ดสีเข้มขึ้นและสีย้อมติดทนนาน ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติมัดย้อมผ้าเช็ดหน้าและเสื้อเป็นลวดลายต่างๆ พร้อมต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มฯ และทดสอบจำหน่ายในงานกาชาดของจังหวัดศรีสะเกษช่วงปลายปีนี้ *มอร์แดนท์หรือสารช่วยย้อม คือ วัตถุธาตุที่ใช้ผสมสีเพื่อให้สีติดแน่นกับผ้าที่ย้อม มีทั้งที่ได้จากเคมีและธรรมชาติ เช่น เหล็ก ทองแดง สารส้ม ดิน เปลือกไม้