สวทช. ต้อนรับคณะผู้ตรวจ อว. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

สวทช. ต้อนรับคณะผู้ตรวจ อว. ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

20​ กรกฎาคม ​2566​ ณ จังหวัดศรีสะเกษ- นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และนายอนุรัตน์​ ธรรมประจำจิต​ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารส่วนราชการในจังหว​ัด ให้การต้อนรับ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา​ วิทยาศาสตร์​ วิจัยและนวัตกรรม​ ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกร 3 กลุ่มในพื้นที่อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่ง สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้โปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านอุ่มแสง ต.ดู่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ: สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี “เอนไซม์เอนอีซ (ENZease)” ให้กลุ่มชาวบ้านบ้านอุ่มแสง เพื่อยกระดับผ้าไหมพื้นเมือง ซึ่งเอนไซม์เอนอีซเป็นสารจากธรรมชาติที่ช่วยทำความสะอาดและลอกแป้งออกจากเส้นใยในขั้นตอนเดียว

สวทช. ชูผลิตภัณฑ์คุณภาพชุมชนป้อนซูเปอร์มาร์เก็ตฝรั่งเศส

สวทช. ชูผลิตภัณฑ์คุณภาพชุมชนป้อนซูเปอร์มาร์เก็ตฝรั่งเศส

สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) นำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพจากชุมชน ให้บริษัท ITM Alimentaire international เจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตกว่า 2,000 สาขาในประเทศฝรั่งเศส 8 มิถุนายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย- ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการ สวทช. และคุณวิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการ สท. นำเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตร พบปะหารือและนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนกับ Mr. Franck Marie (Import Director), Mr. Jean Baptiste Prieur (Import Quality Manager)

สท. ร่วมงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2023)

สท. ร่วมงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. (NAC2023)

ผ่านพ้นไปแล้วกับงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. หรือ NAC2023 เมื่อวันที่ 28-31 มีนาคม 2566 ภายใต้แนวคิด “สวทช. ขุมพลังหลัก วทน. เร่งการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืน” ซึ่งกลับมาจัดในรูปแบบ Onsite เต็มรูปแบบอีกครั้ง พร้อมกับหัวข้อสัมมนาวิชาการที่น่าสนใจมากมาย นิทรรศการผลงานวิจัยของทั้ง สวทช. นวัตกรรมจากภาคเอกชน ตลอดจนการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ (start up) และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้เข้าร่วมกิจกรรมงาน NAC2023 ครั้งนี้ด้วย ทั้งในส่วนการจัดสัมมนาวิชาการ บูธนิทรรศการ และการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชน ภูมิปัญญาผ้าทอไทยเพื่อคนรุ่นใหม่สู่การเป็นนักออกแบบดีไซน์เนอร์ หัวข้อสัมมนาวิชาการที่ สท. จัดขึ้นโดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ การสืบสานผ้าทอไทยในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคุณมีชัย

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอวังเหนือ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายคำ เปิด “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน” ณ สุขใจฟาร์ม ต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พร้อมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การผลิตกล้าคุณภาพและการเพาะต้นอ่อน โดยมี นางวณิชดา ไชยศิริ นายอำเภอวังเหนือ เป็นประธานเปิดงาน “เราเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีองค์ความรู้เกษตรอะไรเลย ได้แต่ดูจากยูทูป กูเกิ้ล ซึ่งไม่สามารถให้องค์ความรู้กับเราได้ 100% จนได้ไปอบรมการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพกับ สวทช.-ม.แม่โจ้ เป็นองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ เอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา ได้ลองผิดลองถูก จนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 6 เราพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ความรู้ให้คนในชุมชนได้ผลิตผักอินทรีย์มีคุณภาพ เราเชื่อว่าความรู้ที่ได้ทำให้คุณภาพของผักและคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงๆ” นายภัทรพล วนะธนนนท์

สวทช. ร่วม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก”

สวทช. ร่วม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก”

เมื่อวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ เพื่อเรา…เพื่อโลก” ในงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 8 ณ สวนสามพราน ต.ยายชา อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่ง สท. ได้ร่วมจัดกิจกรรมเสวนา นิทรรศการให้ความรู้ และกิจกรรมฝึกปฏิบัติการ (workshop) เสวนา “ปลูกผักให้มีคุณภาพ” และ “ห่วงโซ่อาหารโมเดลถั่วเขียว KUML อินทรีย์” สองหัวข้อเสวนาที่ สท. ได้นำเสนอบทบาทการทำงานในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพและการผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์ โดยมีคุณณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท.

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

อยู่ดีมีแฮง..ม่วนหลายกับท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา

“ฉันมีโอกาสได้ไปทำงานและรับบทเป็นนักท่องเที่ยว ไปเที่ยวชุมชนแห่งนี้พร้อมๆ กับพี่ๆ นักท่องเที่ยว 16 คน จากบ้านรวมไทย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อช่วงวันที่ 25-27 มกราคม 2566 นี่เป็นครั้งแรกที่ชุมชนเปิดรับนักท่องเที่ยว ทดลองจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร-สุขภาพได้เต็มรูปแบบต่อไป …จากที่ฉันได้ไปสัมผัสก็บอกได้ทันทีว่าชุมชนฆ้องชัยแห่งนี้ “มีอะไรดี…” น.ส.ขวัญธิดา ดงหลง นักวิชาการ ฝ่ายจัดการความรู้และสร้างความตระหนัก หากอยากปลดปล่อยความเหนื่อยล้าจากการงาน พักสายตากับทุ่งนาเขียวขจี อิ่มหนำกับเมนูอาหารพื้นถิ่นจากแปลงเกษตรอินทรีย์ อิ่มเอมใจกับรอยยิ้มและมิตรภาพของผู้คนแล้วล่ะก็ อยากให้ได้ลองมาสัมผัสบรรยากาศของที่แห่งนี้ “ชุมชนตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์” อากาศดี “โฮมสเตย์กำนันแดง” ตั้งอยู่กลางทุ่งนาเขียวขจี สายหมอกจางๆ ต้องแสงแดดอ่อนยามเช้ารับกับเสียงไก่ขัน ปลุกความสดชื่นให้นักท่องเที่ยวได้สูดรับอากาศบริสุทธิ์เต็มอิ่ม บ้านไม้ชั้นเดียวร่มรื่นด้วยต้นไม้รอบบ้าน ชวนให้ลงเดินเล่นที่นี่ยังเป็นแหล่งเลี้ยงและอนุรักษ์ควายไทย 14 ตัว

ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง

ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เทศบาลตำบลคำพอุงและวิสาหกิจชุมชนกลุ่ม ทสม.อนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ (ภูกุ้มข้าว) จัดกิจกรรม “ส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน ภูกุ้มข้าวงามสง่า ปทุมมาเบ่งบาน หอย 130 ล้านปี แหล่งธรณีคำพอุง” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ณ วัดภูกุ้มข้าว ต.คำพอุง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด ภายใต้โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาและกระเจียวคุณภาพเพื่อการค้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชุมชน และส่งเสริมปทุมมาให้เป็นพืชทางเลือก ส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน ภายในงานมีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ นิทรรศการแสดงการใช้ประโยชน์จากดอกปทุมมา แปลงสาธิตปทุมมาสายพันธุ์จากงานวิจัย การประกวดอาหารพืชถิ่นจากพืชในชุมชน เช่น กระเจียว

งานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขต (ภาคใต้) ประจำปี 2565

งานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขต (ภาคใต้) ประจำปี 2565

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับภาคีพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาในจังหวัดสงขลา นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดสงขลา โดยฉพาะ “ข้าว” ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด ในช่วงวันที่ 20-21 มิถุนายน 2565 สท./สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา จัดนิทรรศการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการผลิตข้าวภายในงานรณรงค์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวระดับเขต (ภาคใต้) เนื่องในวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ประจำ 2565 ณ โรงเรียนบ้านกระอาน ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา โดยนำเสนอเทคโนโลยีด้านการผลิตข้าวของ สวทช. เช่น  พันธุ์ข้าวที่พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. แอพพลิเคชั่นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวพื้นเมืองที่ สวทช. ได้ร่วมทำงานด้วย เป็นต้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาได้นำเสนอพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ที่ได้ศึกษาและรวบรวมไว้ ตลอดจนการทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง สื่อความรู้ที่นำเสนอภายในงาน

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิด “สถานีเรียนรู้ (Training Hub) ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ” ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมีนางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี (สท.) เป็นผู้แทนจาก สวทช. เข้าร่วมงาน ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว สวทช. โดย สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาสถานีเรียนรู้ (Training Hub) เพื่อรองรับการเรียนรู้ระดับภาคสนามให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของทั้งสองหน่วยงานผ่านหลักสูตรการอบรม ฐานเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นจากฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ฟาร์ม 907 ไร่)