สท. จับมือ สนง.เกษตรฯ ศรีสะเกษและภาคเอกชนลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรปลูกถั่วเขียว KUML

สท. จับมือ สนง.เกษตรฯ ศรีสะเกษและภาคเอกชนลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 21-23 ตุลาคม 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเกษตรอำเภอจาก 7 อำเภอของศรีสะเกษ (อ.น้ำเกลี้ยง อ.เมืองศรีสะเกษ อ.ราษีไศล อ.อุทุมพรพิสัย อ.ปรางค์กู่ อ.เมืองจันทร์ อ.ขุนหาญ) และห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ผู้รับซื้อผลผลิตถั่วเขียว KUML ลงพื้นที่ประเมินศักยภาพเกษตรกรเพื่อคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรผลิตถั่วเขียว KUML และยกระดับเป็นกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว (seed) และกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดถั่วเขียว (grain) ภายใต้โครงการการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ

สท.-ไบโอเทคขยายผลผลิต-ใช้ราไตรโคเดอร์มาจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนจันท์

สท.-ไบโอเทคขยายผลผลิต-ใช้ราไตรโคเดอร์มาจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนจันท์

เมี่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 น.ส.เสาวนีย์ ปานประเสริฐกุล นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) น.ส.รัศมี หวะสุวรรณ ผู้ช่วยวิจัยอาวุโส และน.ส.วชิราภรณ์ ถูปาอ่าง ผู้ช่วยวิจัย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ (IBCT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ลงพื้นที่ให้ความรู้และพัฒนาทักษะการผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ TBRC4734 แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาคุณภาพทุเรียนและการเกษตรบ้านมาบโอน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เพื่อใช้ควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โดยสมาชิกฯ ได้ฝึกปฏิบัติผลิตก้อนเชื้อสดราไตรโคเดอร์มาตามหลักวิธีของไบโอเทค และยังได้เรียนรู้วิธีตรวจสอบเชื้อราไฟทอปธอร่าและพิเทียมในดินสวนทุเรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการโรคได้อย่างทันท่วงที สท. และไบโอเทค ได้ร่วมกันขยายผลการบริหารจัดการโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา สายพันธุ์ TBRC4734 ให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดระยองและจันทบุรี ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นผลงานวิจัยและพัฒนาโดยไบโอเทค พบว่าการใช้เชื้อราไตโคเดอร์มาสามารถควบคุมโรคเน่าโคนเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้จัดทำคู่มือการจัดการศัตรูทุเรียนด้วยชีวภัณฑ์แบบครบวงจร (Standard Operating Procedure

สท.-สนง.เกษตรยโสธร-ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรร่วมปลูกถั่วเขียว KUML

สท.-สนง.เกษตรยโสธร-ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ประเมินเกษตรกรร่วมปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคม 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และทีมงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร เกษตรอำเภอและเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ลงพื้นที่ชี้แจงโครงการและประเมินศักยภาพกลุ่มเกษตรกรที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต โดยมีเกษตรกรจาก 8 อำเภอของจังหวัดยโสธรให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ตำบลกุดน้ำใส อำเภอค้อวัง ตำบลม่วง อำเภอมหาชนะชัย ตำบลดงแคนใหญ่และตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมืองยโสธร ตำบลไผ่และตำบลดุลาด อำเภอทรายมูล ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม ตำบลคำไผ่ อำเภอไทยเจริญ ตำบลโคกสำราญและตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ ตลาดรับซื้อผลผลิตได้ร่วมลงพื้นที่สร้างความเชื่อมั่นการรับซื้อผลผลิตถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรด้วย

สท. ผนึกกรมส่งเสริมการเกษตร-ธ.ก.ส. เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรยโสธรปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท. ผนึกกรมส่งเสริมการเกษตร-ธ.ก.ส. เดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรยโสธรปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. โดยน.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส และทีมงาน ประชุมชี้แจงและสร้างความร่วมมือกับสำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดยโสธร สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาและไทยเจริญ จำกัด ซึ่งเป็นตลาดรับซื้อในพื้นที่ และประธานกลุ่มเกษตรกรที่จะยกระดับเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML โดยมีเกษตรอำเภอจากทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมรับฟังข้อมูลและกระบวนการทำงานร่วมกัน จากการประชุมมีแผนการขยายพื้นที่ปลูกถั่วเขียว KUML ในจังหวัดยโสธรในฤดูกาลผลิต 2567/2568 จำนวน 350 ไร่ นอกจากการประชุมสร้างความเข้าใจการทำงานร่วมกันแล้ว ทีมนักวิชาการ สท. ยังได้ลงพื้นที่ในช่วงวันที่ 8-11 ตุลาคมนี้ เพื่อประชุมชี้แจงโครงการและประเมินศักยภาพกลุ่มเกษตรกรที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา โดยใช้กลไกตลาดนำการผลิต

นักวิชาการ สท. นำเสนอผลงานโครงการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML-มันสำปะหลังอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตในงาน TRIUP Fair 2024

นักวิชาการ สท. นำเสนอผลงานโครงการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML-มันสำปะหลังอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตในงาน TRIUP Fair 2024

เมื่อวันที่ 24-26 กันยายน 2567 น.ส.ณิฎฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. หัวหน้าโครงการ “การผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” และนายชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการ สท./สวทช. หัวหน้าโครงการ “การผลิตมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากการดำเนินโครงการฯ ในโซน Innovation Showcase ภายในงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี ๒๕๖๗ (TRIUP Fair 2024)” ด้วยแนวคิด “Impact Journey to Ignite Thailand” ณ รอยัลพารากอน ฮอลล์

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรอุบลฯ หนุนความรู้ปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกร PGS

สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรอุบลฯ หนุนความรู้ปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกร PGS

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และกรมส่งเสริมการเกษตร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เกษตรกรเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ PGS อุบลราชธานี จากอำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอเขมราฐ อำเภอเขื่องใน อำเภอตาลสุม อำเภอนาจะหลวย อำเภอเมือง อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอสำโรง อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเหล่าเสือโก้ก และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับเกียรติจากนายถิรพุทธิ์ คานทอง เกษตรจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดการอบรม ซึ่งผู้เข้าอบรมทั้ง 60 คน ได้รับความรู้จาก รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ

สท.-ม.เกษตรศาสตร์ จับมือสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า เติมความรู้-ขยายผลถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรอินทรีย์มาตรฐานอียู

สท.-ม.เกษตรศาสตร์ จับมือสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า เติมความรู้-ขยายผลถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรอินทรีย์มาตรฐานอียู

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช.  ร่วมกับสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายสมาคมเกษตรก้าวหน้า โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “เทคนิคการปลูกถั่วเขียวเพื่อยกระดับคุณภาพ-ปริมาณผลผลิต” และ “การเก็บเกี่ยว-การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง” รวมทั้งได้ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งปลูกถั่วเขียวอินทรีย์มาตรฐานสหภาพยุโรป (EU) และมาตรฐานไบโอสวิส (BIO SUISSE) และมีกระบวนการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์อินทรีย์แบบควบคุมปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน ป้องกันการเกิดมอด

สวทช. ผนึกหน่วยงานท้องถิ่นร้อยเอ็ด ประเมินความพร้อมชุมชนจัดพื้นที่ท่องเที่ยว “บ่อพันขัน”

สวทช. ผนึกหน่วยงานท้องถิ่นร้อยเอ็ด ประเมินความพร้อมชุมชนจัดพื้นที่ท่องเที่ยว “บ่อพันขัน”

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ประชุมหารือ “การจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวบ่อพันขัน จังหวัดร้อยเอ็ด” ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชงคลอีสาน (มทร.อีสาน) สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด เทศบาลตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสว่าง อำเภอโพนทราย องค์การบริหารส่วนตำบลเด่นราษฎร์ อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนและประเมินความพร้อมการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวบ่อพันขัน นำไปสู่การขับเคลื่อนแผนงานการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม การประชุมหารือครั้งนี้ ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน มทร.อีสาน ได้นำเสนอข้อมูลทรัพยากรของชุมชน วิถีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา พร้อมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์งานวิจัยการพัฒนาชุมชนบ่อพันขัน นอกจากนี้นายสายฝน แก้วสมบัติ ผู้ใหญ่บ้านหญ้าหน่อง พระปลัดขาว คุตฺตธมโม เจ้าอาวาสวัดเกาะบ่อพันขันรัตนโสภณ และชมรมท่องเที่ยวบ่อเกลือพันขัณฑ์

สท.-หน่วยงานพันธมิตร จัดเวทีเสวนา “เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตอาหารโคคุณภาพ” ยกระดับโคเนื้อจังหวัดฉะเชิงเทรา

สท.-หน่วยงานพันธมิตร จัดเวทีเสวนา “เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตอาหารโคคุณภาพ” ยกระดับโคเนื้อจังหวัดฉะเชิงเทรา

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตวสระแกว ปศุสัตว์อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ จัดเสวนา “การเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคเนื้อและการผลิตอาหารโคคุณภาพ” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา โดยได้รับเกียรติจากนายทวี สาธุชาติ นายก อบต.ท่าตะะเกียบ เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรมเสวนาครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรแกนนำร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์การเลี้ยงโคเนื้อ ได้แก่ นายกฤษณะ เกาะแก้ว ปศุสัตว์อำเภอท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา นายอดิศักดิ์ แพทย์พิพัฒน์ นักวิชาการสัตวบาล ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดสระแก้ว รศ. ดร.สินีนาฏ พลโยราช สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง น.ส.สมจิต สาธุชาติ ประธานกลุ่มโคเนื้อท่าตะเกียบ