สท. ถ่ายทอดความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ-สกัดสีธรรมชาติให้กลุ่มผู้ทอผ้าอำเภอราษีไศล

สท. ถ่ายทอดความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ-สกัดสีธรรมชาติให้กลุ่มผู้ทอผ้าอำเภอราษีไศล

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีเอนไซม์เอนอีซและการสกัดสีธรรมชาติ ให้กลุ่มผู้ทอผ้าเครือข่ายเกษตรอำเภอและเครือข่ายสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอราษีไศล จำนวน 61 คน โดยมีนายวิวัฒน์ พร้อมพูน ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย สวทช. บรรยายให้ความรู้การใช้เอนไซม์เอนอีซ และร่วมกับผู้เข้าอบรมทดสอบการใช้เอนไซม์เอนอีซ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ สวทช. ที่ใช้กำจัดสิ่งสกปรกและลอกแป้งเส้นใยฝ้ายในขั้นตอนเดียว เอนไซม์เอนอีซยังช่วยให้เส้นใยฝ้ายสะอาด สัมผัสนิ่มขึ้น ไม่ต้องต้มฝ้าย ขณะที่การทำความสะอาดเส้นใยต้องต้มไม่น้อยกว่า 2-3 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดพลังงาน ลดการใช้สารเคมี และเมื่อนำมาย้อมจะติดสีได้ดีและสีสม่ำเสมอกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้เอนไซม์ นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ได้ถ่ายทอดความรู้วิธีการสกัดสีธรรมชาติจากเปลือกต้นเพกาให้สีเหลือง ดินทุ่งกุลาให้สีดำ

สท.-กรมส่งเสริมการเกษตรนำร่องอบรมเกษตรกรเพชรบูรณ์ปลูกถั่วเขียว KUML ตามแผนส่งเสริมขยายผลปี 67

สท.-กรมส่งเสริมการเกษตรนำร่องอบรมเกษตรกรเพชรบูรณ์ปลูกถั่วเขียว KUML ตามแผนส่งเสริมขยายผลปี 67

เมื่อวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตรและสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML แบบครบวงจร ให้เกษตรกร 130 ราย ในอำเภอชนแดน อำเภอหล่มเก่า และอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดแรกตามแผนดำเนินงานส่งเสริมและขยายผลการปลูกถั่วเขียว KUML ใน 32 จังหวัด ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2567 ของกรมส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรผู้เข้าอบรมได้รับความรู้จาก รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผช.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และได้รับไรโซเบียมและเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML

สท.-เกษตรอำเภอเมืองจันทร์ ศรีสะเกษ หนุนความรู้-ขยายผลแปลงสาธิตถั่วเขียว KUML

สท.-เกษตรอำเภอเมืองจันทร์ ศรีสะเกษ หนุนความรู้-ขยายผลแปลงสาธิตถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทร์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML ณ หอประชุมอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเกษตรกรจากตำบลหนองใหญ่ ตำบลตาโกน และตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ รวม 139 คน เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งรับฟังข้อมูลการรับซื้อผลผลิตจากห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นจุดรับซื้อในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้เทศบาลตำบลเมืองจันทร์ เทศบาลตำบลหนองใหญ่และองค์การบริหารส่วนตำบลตาโกน ได้สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมอบรมและจัดซื้อจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML เบอร์ 4 จำนวน 525 กิโลกรัม

สท.-สนง.เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เติมความรู้ หนุนผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML

สท.-สนง.เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เติมความรู้ หนุนผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานเกษตรอำเภอห้วยทับทัน จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ผักไหม มีเกษตรกรจากอำเภอห้วยทับทัน อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอราษีไศลและอำเภอปรางค์กู่ เข้าร่วมกิจกรรมรวม 93 คน และมีห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด ร่วมให้ข้อมูลการรับซื้อผลผลิตในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้ สท. มีแผนขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน ให้เป็นศูนย์เรียนรู้การผลิตและเก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML ไว้ใช้เองในระดับชุมชน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลผักไหมได้สนับสนุนงบประมาณการจัดซื้อตะแกรงร่อนถั่วเขียวให้กลุ่มฯ นายวิชัย ศรีโพธิ์งาม เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรม

สวทช.-จังหวัดศรีสะเกษต่อยอดพัฒนาแกนนำผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML

สวทช.-จังหวัดศรีสะเกษต่อยอดพัฒนาแกนนำผลิตถั่วเขียวคุณภาพ KUML

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ จัดกิจกรรม “การพัฒนาแกนนำ (Train the trainer) เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ให้เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอทั้ง 22 อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ เจ้าหน้าส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลและเกษตรกร รวม 121 คน เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีแนะนำเกษตรกรได้ถูกต้อง ตลอดจนขยายผลการปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกร นอกจากองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมยังได้ข้อมูลด้านตลาดรับซื้อจากผู้ประกอบการเอกชน ได้แก่ บริษัท กิตติทัต จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล และบริษัท เอสซีพีฟู้ด (ไทยแลนด์) จำกัด นายอนุรัตน์

สวทช.-มรฏ.สุรินทร์ เดินหน้าแก้จนเกษตรกรชุมพลบุรี หนุนปลูกถั่วเขียว KUML สร้างรายได้

สวทช.-มรฏ.สุรินทร์ เดินหน้าแก้จนเกษตรกรชุมพลบุรี หนุนปลูกถั่วเขียว KUML สร้างรายได้

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ จัดกิจกรรมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML แบบครบวงจร ณ โรงเรียนบ้านยะวึก (ผจงราษฎร์วิทยาคาร) ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ภายใต้ BCG Model พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดสุรินทร์ และโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ นำร่องในพื้นที่ตำบลยะวึกและตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี โดยมุ่งให้ผู้มีรายได้น้อยปลูกถั่วเขียวสร้างรายได้และใช้กลไกตลาดนำการผลิตเพื่อยกระดับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรีให้เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวคุณภาพดี พร้อมเชื่อมโยงบริษัท กิตติทัต จำกัด เป็นตลาดรับซื้อ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมอบรม 46 คน อนึ่ง โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

สวทช.-มรฎ.สุรินทร์-สนง.เกษตรจังหวัดสุรินทร์ ขยายผลถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML ขับเคลื่อน BCG ทุ่งกุลาร้องไห้

สวทช.-มรฎ.สุรินทร์-สนง.เกษตรจังหวัดสุรินทร์ ขยายผลถั่วเขียวพันธุ์ดี KUML ขับเคลื่อน BCG ทุ่งกุลาร้องไห้

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์: สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML เป็นพืชหลังนาให้กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อสร้างรายได้เสริมจากการขายผลผลิตเมล็ดถั่วเขียว (grain) อีกทั้งยังได้ปุ๋ยพืชสดคุณภาพสำหรับปรับปรุงบำรุงดิน ลดต้นทุนการใส่ปุ๋ยในนาข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพให้เกษตรกรอีกด้วย กิจกรรมครั้งนี้เกษตรกรได้รับความรู้เรื่อง “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” จาก รศ.ดร.ประกิจ สมท่า ผช.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน คุณแคทลิยา เอกอุ่น นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ และคุณมนตรี สมงาม บริษัท กิตติทัต จำกัด

สท. จับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนอบรมผลิตถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท. จับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชนอบรมผลิตถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ และบริษัท ข้าวดินดี จำกัด จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร  “เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร: ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” ณ กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง  ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ โดยมี รศ.ดร.ประกิจ สมท่า ผช.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน    และคุณแคทลิยา เอกอุ่น นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากบริษัท ข้าวดินดี จำกัด ร่วมให้ข้อมูลการรับซื้อผลผลิตคุณภาพ

สวทช.- ม.ราชภัฏอุดรธานี ผนึกกำลังด้านการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร

สวทช.- ม.ราชภัฏอุดรธานี ผนึกกำลังด้านการวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเกษตร

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุมใหญ่สามพร้าว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี: นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรสมัยใหม่ครบวงจร เพื่อร่วมกันสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตรและเกษตรสมัยใหม่ พัฒนาหลักสูตรและขยายผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ รวมถึงส่งเสริมอาชีพ สร้างเศรษฐกิจรายได้ ยกระดับทักษะความรู้และเพิ่มขีดความสามารถด้านการเกษตรของบุคลากรทั้งสองฝ่าย ตลอดจนผลักดันให้เกิดกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรและเกษตรสมัยใหม่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ทดสอบ สาธิตการปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชน ซึ่งการลงนามความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง “ความร่วมมือเครือข่ายและการเปลี่ยนผ่านชุมชนท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน” ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย 36 หน่วยงาน  ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร