สท.-สนง.เกษตรศรีสะเกษ-เอกชน นำร่อง 6 อำเภอ ขยายผลปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท.-สนง.เกษตรศรีสะเกษ-เอกชน นำร่อง 6 อำเภอ ขยายผลปลูกถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ: สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) โดย น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส นายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วย รศ.ดร.ประกิจ สมท่า และ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คณะทำงานโครงการ “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตปี 2” ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ประชุมชี้แจงและสร้างความร่วมมือการดำเนินโครงการฯ กับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ภาคเอกชนที่รับซื้อผลผลิต และเกษตรอำเภอจาก 6 อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองจันทร์

สท. จับมือ สนง.เกษตรจังหวัดสงขลา เติมความรู้ลดความเสี่ยงผลิตผักอินทรีย์

สท. จับมือ สนง.เกษตรจังหวัดสงขลา เติมความรู้ลดความเสี่ยงผลิตผักอินทรีย์

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) โดย น.ส.เลอทีชา เมืองมีศรี นักวิชาการ และคณะทำงาน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา จัดกิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการ ประเมิน วิเคราะห์และวางแผนการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงการผลิตผัก ณ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนใต้ร่มบุญเกษตรอินทรีย์ บ้านควนขี้แรด ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีสมาชิกเครือข่ายจากอำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอคลองหอยโข่งและอำเภอรัตภูมิ รวม 50 คน เข้าร่วมกิจกรรมวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตผักของกลุ่มฯ ด้วยเครื่องมือ SWOT Analysis และการประเมินความเสี่ยงการผลิตผักของกลุ่มและรายบุคคล ที่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือช่วยให้เกษตรกรวางแผนบริหารจัดการให้ได้ผลผลิตคุณภาพและปริมาณตามความต้องการของตลาด โดยหลังจากนี้เกษตรกรจะได้รับถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผักอินทรีย์จาก สท. และ สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา เพื่อลดความเสี่ยงการผลิตผักและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น กิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้โครงการ

สท. ส่งต่อความรู้เกษตรกร-ชุมชนผลิตหนอน BSF ลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์

สท. ส่งต่อความรู้เกษตรกร-ชุมชนผลิตหนอน BSF ลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 นางณัฐชลธร ชยุตพงค์พันธุ์ นักวิชาการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และคณะทำงาน จัดอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ “การผลิตและการใช้ประโยชน์แมลงทหารดำ (Black Soldier Fly: BSF) เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์” ณ ข่วงชีวิตวิถียั่งยืน ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่-ไก่พื้นเมือง ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐจากจังหวัดลำปางและเชียงใหม่เข้าร่วม 70 คน กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้ การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงหนอน BSF จากเกษตรกรแกนนำวิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค การศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติ เช่น เตรียมอาหารสำหรับล่อแมลง คัดแยกหนอน BSF ทั้งนี้ สท. ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

สท.-ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรพักชำระหนี้สร้างอาชีพเสริมปลูกถั่วเขียว KUML

สท.-ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรพักชำระหนี้สร้างอาชีพเสริมปลูกถั่วเขียว KUML

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 น.ส.ณิฏฐา คุ้มโต นักวิชาการอาวุโส สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และนายชนะชัย แสนทวีสุข ผู้ช่วยปฏิบัติงานวิจัย ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้การผลิตถั่วเขียวแบบครบวงจร ภายใต้หัวข้อ “สร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เกษตรมูลค่าสูง ผลิตเมล็ดพันธุ์ปลูกพืชระยะสั้น” ให้เกษตรกรอำนาจเจริญในโครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้าพักชำระหนี้ หลักสูตรฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเดิม สร้างอาชีพเสริม เพิ่มอาชีพใหม่ จัดโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ณ ห้องประชุมอาคารศูนย์เรียนรู้ข้าวหอมมะลิอำนาจเจริญ สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้ร่วมขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตของ สท./สวทช. โดยส่งเสริมให้เกษตรกรพักชำระหนี้ปลูกถั่วเขียว KUML พร้อมทั้งสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยให้เกษตรกร

สท. จับมือกรมส่งเสริมการเกษตรหารือขยายผลปลูก “ถั่วเขียวคุณภาพพันธุ์ KUML” ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

สท. จับมือกรมส่งเสริมการเกษตรหารือขยายผลปลูก “ถั่วเขียวคุณภาพพันธุ์ KUML” ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผช.ผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมประชุมกับ น.ส.วัลภา ปันต๊ะ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมพืชน้ำมันและพืชตระกูลถั่ว สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อสร้างความร่วมมือการทำงานส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML เป็นพืชหลังนาด้วยกลไกตลาดนำการผลิต โดยมี รศ. ดร.ประกิจ สมท่า ผศ. ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และนักวิชาการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สท. คณะทำงานโครงการ “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” เข้าร่วมประชุมด้วย โครงการดังกล่าวฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

สท.-ธ.ก.ส.-กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายผลส่งเสริมปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้จังหวัดศรีสะเกษ-อำนาจเจริญ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 น.ส.วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมประชุมหารือการส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML ให้เกษตรกรพักชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายวิชัย ศรีโพธิ์งาม เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุม นายอนุวัตร โสภา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ธ.ก.ส. และนางขวัญญรัตน์ จงเสรีจิตต์ ผู้บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริบูรณ์จงเจริญไพศาล ผู้รับซื้อถั่วเขียว KUML ในจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมหารือแนวทางการทำงานภายใต้กลไกตลาดนำการผลิต นอกจากนี้ สวทช. โดย สท. และ ธ.ก.ส. ยังได้หารือร่วมกับนายวัชรากร กิจตรงศิริ ผู้บริหารบริษัท

สท.-มรภ.อุดรธานี ติวเข้มเกษตรกรปลูกปทุมมา สร้างรายได้เสริม-พร้อมรับมหกรรมพืชสวนโลกปี 2569

สท.-มรภ.อุดรธานี ติวเข้มเกษตรกรปลูกปทุมมา สร้างรายได้เสริม-พร้อมรับมหกรรมพืชสวนโลกปี 2569

เมื่อวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการแปลงปลูกปทุมมาอย่างมีประสิทธิภาพ” ให้สมาชิกเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกปทุมมาจังหวัดอุดรธานีและพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีนายลิขิต มณีสินธุ์ นักปรับปรุงพันธุ์ปทุมมา เป็นวิทยากรให้ความรู้การบริหารจัดการดินและปุ๋ยในแปลงปลูกปทุมมา นางสาวพรนิภา นาเมือง นักวิชาการ สท. เป็นวิทยากรให้ความรู้การจัดการแปลงปลูกปทุมมาและการควบคุมศัตรูพืชปทุมมาโดยวิธีผสมผสาน และนางสาวพาริณี โลมาอินทร์ นักวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นวิทยากรให้ความรู้การเตรียมหัวพันธุ์ปทุมมาก่อนปลูก นอกจากนี้ยังมีนายบุญถม กองทอง เกษตรกรผู้ผลิตปทุมมานำร่องบ้านห้วยสำราญ ต.หนองไฮ อ.เมือง จ.อุดรธานี ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลูกปทุมมาตัดดอก ทั้งนี้คณะวิทยากรยังได้ลงพื้นที่สาธิตการปลูกปทุมมาที่แปลงเกษตรกรเครือข่ายนำร่อง และติดตามให้คำแนะนำปรึกษา กิจกรรมดังกล่าวดำเนินงานภายใต้การพัฒนาศูนย์ร่วมรู้การผลิตและใช้ประโยชน์จากปทุมมาแบบครบวงจรด้วยเศรษฐกิจ BCG ผลักดันปทุมมาเป็นไม้ดอกอัตลักษณ์จังหวัดอุดรธานีและขยายผลเป็นพืชทางเลือกให้เกษตรกร รวมทั้งเพื่อจัดแสดงปทุมมาในมหกรรมพืชสวนโลกปี

สท. เติมความรู้ชาวสวนทุเรียน “จัดการธาตุอาหารพืชและใช้ปุ๋ยคีเลต” เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต

สท. เติมความรู้ชาวสวนทุเรียน “จัดการธาตุอาหารพืชและใช้ปุ๋ยคีเลต” เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ “การจัดการธาตุอาหารพืชและปุ๋ยคีเลต: นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน” ณ สวนบัวแก้ว ต.วังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง โดยมี ผศ.ดร.ยศพล ผลาผล อาจารย์ประจำภาควิชาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “การจัดการธาตุอาหารพืชไม้ผล (ทุเรียน)” ดร.คมสันต์ สุทธิสินทอง นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “ปุ๋ยคีเลต นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน” และนายสมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนบัวแก้ว ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน เช่น เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ)

สท.-มรภ.อุดรฯ เติมความรู้เกษตรกรขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยไบโอเทคโนโลยี

สท.-มรภ.อุดรฯ เติมความรู้เกษตรกรขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยไบโอเทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การขยายต้นพันธุ์ปทุมมาปลอดโรคด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ” ให้สมาชิกเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกปทุมมาจังหวัดอุดรธานี และพื้นที่ใกล้เคียง โดยมี ดร.วิบูล เป็นสุข และคณะอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นวิทยากรให้ความรู้พื้นฐานของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปทุมมา ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เป็นวิทยากรให้ความรู้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชโดยระบบไบโอรีแอคเตอร์ (Bioreactor) และนายสันติ อาริยะ ผู้ช่วยนักวิจัย สวทช. ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเพาะเลี้ยงเนื้อปทุมมาอย่างง่ายทำได้ที่บ้าน   นอกจากนี้ สท. และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้ส่งมอบหัวพันธุ์ปทุมมาให้เกษตรกรเครือข่ายนำร่อง 9 ราย ภายใต้การพัฒนาศูนย์ร่วมรู้การผลิตและใช้ประโยชน์จากปทุมมาแบบครบวงจรด้วยเศรษฐกิจ