เมื่อวันที่ 20-22 มีนาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่ติดตามการส่งเสริมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรพืชตระกูลถั่ว: ถั่วเขียวพันธุ์ใหม่ KUML 4 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการนำร่องส่งเสริมการปลูกถั่วเขียว KUML ที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดแรก เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีกระจายสู่ระบบการผลิตในชุมชน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชตระกูลถั่ว ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภายใต้โครงการนำร่องฯ มีเกษตรกรเข้าร่วม 130 ราย พื้นที่เพาะปลูกปลูกรวม 260 ไร่ ในอำเภอหนองไผ่ (เกษตรกร 60 ราย พื้นที่เพาะปลูก 120 ไร่) อำเภอชนแดน (เกษตรกร
สวทช.-โอสถสภา-หน่วยงานพันธมิตร ชู ‘สมุนไพร-ถั่วเขียว’ ยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
เมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ อ.เมืองศรีสะเกษ และตำบลเมืองหลวง ตำบลผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ : ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ชาติ (สวทช.) นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) พร้อมด้วยนักวิจัย สวทช. ประกอบด้วย ดร.ยี่โถ ทัพภะทัต ทีมวิจัยนวัตกรรมโรงงานผลิตพืชสมุนไพร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.ประเดิม วณิชชนานันท์ นักวิจัยไบโอเทค ดร.วีรกัญญา มณีประกรณ์ นักวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
สวทช. จับมือหน่วยงานพันธมิตรจัดงานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML อินทรีย์ พร้อมเปิดตัวศูนย์เรียนรู้ระดับชุมชน
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สำนักงานเกษตรอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ และบริษัท ข้าวดินดี จำกัด จัดกิจกรรม “งานวันเก็บเกี่ยวถั่วเขียว KUML และเปิดตัวศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML อินทรีย์ระดับชุมชน กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง: จากงานวิจัยสู่แปลงผลิตด้วยความรู้และเทคโนโลยี” ณ กลุ่มวิสาหกิจร่วมใจโนนค้อทุ่ง ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ โดยได้รับเกียรติจาก ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานเปิดงาน กิจกรรมครั้งนี้ดำเนินงานภายใต้ “โครงการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ
สวทช.-สวก.-กรมส่งเสริมการเกษตร ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ นำร่อง 160 ราย พื้นที่ 500 ไร่ ผลผลิตเพิ่ม 20-30%
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ แปลงเกษตรกรต้นแบบ (นายรังสรรค์ อยู่สุข) หมู่ 10 ต.นาคาย อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี: นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดผลงานวิจัยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินสำหรับมันสำปะหลังอินทรีย์สู่เกษตรกรเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปี 2567 โดยมีนางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เกษตรจังหวัดอุบลราชธานี ภาคเอกชนและเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมงาน นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีความมุ่งมั่นส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยได้รับการส่งเสริมพัฒนาขีดความสามารถการผลิตและจัดการสินค้าตามความต้องการของตลาดได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยได้รับบริการทางการเกษตรและองค์ความรู้จากการศึกษา
สท.-ม.เกษตรศาสตร์-สนง.เกษตรฯ สุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามการผลิตถั่วเขียว KUML
เมื่อวันที่ 17–22 กุมภาพันธ์ 2567 นักวิชาการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ ผศ.ดร.กนกวรรณ เที่ยงธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ ลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำการปลูกถั่วเขียว KUML ของเกษตรกรในอำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูมและอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ภายใต้โครงการ “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต” ซึ่งเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้รับการอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจรถั่วเขียวสายพันธุ์ KUML พร้อมทั้งได้รับเมล็ดพันธุ์ KUML#4 สำหรับฤดูกาลผลิตปี 2566/2567 เกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ที่ได้รับเมล็ดพันธุ์ KUML#4 ประกอบด้วย เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ กลุ่มแก้จนชุมชนยะวึก ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์หอมมะลิ 105 ต.ชุมพลบุรี
สท. ผนึกหน่วยงานเครือข่าย เดินหน้ายกระดับผลิตโคเนื้อในพื้นที่ทุ่งกุลาฯ ตั้งเป้าผสมเทียมโคคุณภาพ 400 ตัว
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด และปศุสัตว์จังหวัดยโสธร ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อใน 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ สุรินทร์ ยโสธร มหาสารคาม ศรีสะเกษ และร้อยเอ็ด ด้วย 3 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีด้านการพัฒนาพันธุ์และการดูแลโคเนื้อ กลุ่มเทคโนโลยีด้านอาหารโคเนื้อ และกลุ่มเทคโนโลยีด้านมาตรฐานฟาร์มโคเนื้อและการเพิ่มมูลค่าโคเนื้อ หลังจากเมื่อกลางเดือนมกราคมได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีปฏิบัติการตามโปรแกรมการเหนี่ยวนำให้เกิดการตกไข่และผสมเทียมโคเนื้อให้แม่พันธุ์โคเนื้อจำนวน 100 ตัวแรก ใน 5 จังหวัดพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ นักวิชาการ สท. พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานเครือข่ายได้ลงพื้นที่อีกครั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อถอด
สท.-ม.กาฬสินธุ์ เดินหน้ายกระดับ “ผ้าไหมทอมือพื้นเมืองสุรินทร์” ด้วยเทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติ์ธนัตถ์ ญาณพิสิษฐ์ ผู้อำนวยศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอพื้นเมืองแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับคุณภาพผ้าไหมทอมือพื้นเมืองบ้านแสนสุข ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ โดยมีคุณเอี้ยง วันดี ผู้นำกลุ่มผ้าไหมทอมือประยุกต์บ้านแสนสุข และสมาชิกในชุมชนกว่า 40 คน ร่วมเรียนรู้และทดสอบใช้เอนไซม์เอนอีซ (ENZease) ทำความสะอาดเส้นไหมของกลุ่มฯ กว่า 10 กิโลกรัม พร้อมทั้งสำรวจและเก็บตัวอย่างพืชในชุมชนเพื่อนำมาสกัดสี ได้แก่ เปลือกต้นธนนไชย (ภาษาเขมรเรียก หล่งจี๊) ใบต้นสะแบง (ภาษาเขมรเรียก ตราย) ร่วมกับการใช้มอร์แดนท์ต่างๆ ทำให้ได้สีทั้งหมด 6
เกษตรกรเฮปลูกถั่วเขียวคุณภาพ KUML รายได้ไม่ธรรมดา สวทช.-พันธมิตรหนุนปลูกครบวงจรใช้กลไก ‘ตลาดนำการผลิต’
เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2567 ณ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดศรีสะเกษ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร (Press Tour) เพื่อเยี่ยมชมความสำเร็จโครงการการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ปีงบประมาณ 2566 นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้ ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และ รศ. ดร.ประกิจ
สท.-มทร.อีสาน-เทศบาลเมืองบัว ร้อยเอ็ด ทดสอบ 2 เส้นทางท่องเที่ยวทุ่งกุลาฯ ก่อนชูจุดเช็คอินที่ต้องมา
เมื่อวันที่ 26-27 มกราคม 2567 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ และเทศบาลเมืองบัว ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จัดกิจกรรมจำลองเส้นทางท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เชื่อมโยงกับฐานทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เสน่ห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตอันดีงามของชุมชน โดยมุ่งหวังให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีส่วนร่วมบริหารจัดการ วางแผน จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวและนำเสนอเรื่องราว (Storytelling) แหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยว กิจกรรมครั้งนี้มีหน่วยงานจากส่วนราชการในจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด สภาวัฒนธรรมตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เข้าร่วมประเมินและให้ข้อคิดเห็น เพื่อพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป กิจกรรมครั้งนี้นำร่องโปรแกรมการท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน กับสองเส้นทางท่องเที่ยวในตำบลกู่กาสิงห์และตำบลเมืองบัว