สร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา เสริมเศรษฐกิจชุมชน ด้วย ‘นวัตกรรมและเทคโนโลยี’

สร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา เสริมเศรษฐกิจชุมชน ด้วย ‘นวัตกรรมและเทคโนโลยี’

“เราต้องรู้ว่าเราทำอะไร เพื่ออะไร และต้องลงลึกไปทิศทางไหน ถ้าไม่รู้ เราก็พัฒนาไปไม่ได้” ประโยคที่บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นในการทำงานของ ณฐนนท เจริญรมย์ ผู้จัดการบริษัท สไมล์ รับเบอร์ จำกัด และผู้ประกอบการเกษตร โดยมี “ที่นอนปุ่มยางพารา” สินค้าเพื่อสุขภาพที่ได้รับการขึ้นทะเบียนนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566 เป็นหนึ่งผลลัพธ์ที่สะท้อนประโยคข้างต้นได้ดี ทำเกษตรไม่รวยแต่ไม่จน มีกินมีใช้ คำพูดของพ่อที่เป็นทั้งผู้ใหญ่บ้านเนินสว่างและเป็นเกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง มะพร้าว สับปะรดและอ้อย ก่อนเปลี่ยนมาทำสวนยางพาราทั้งหมดเมื่อปี พ.ศ. 2543 และส่งยางแผ่นเข้าโรงงาน ปัจจุบันพื้นที่กว่า 80% ของบ้านเนินสว่าง อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เป็นสวนยางพารา ชาวบ้านส่วนใหญ่รับจ้างกรีดยาง หลังเรียนจบปริญญาตรีด้านบริหารการตลาดและกำลังจะไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ ณฐนนท ต้องเปลี่ยนเส้นทางมุ่งสู่บ้านเกิดเพื่อดูแลธุรกิจยางพาราของครอบครัว หลังจากที่พ่อล้มเจ็บและจากไป

‘ไก่พื้นเมืองแดนใต้’ จัดการด้วยความรู้อย่างมืออาชีพ

‘ไก่พื้นเมืองแดนใต้’ จัดการด้วยความรู้อย่างมืออาชีพ

“ชาวบ้านใช้เวลาว่างจากการเลี้ยงโคขุนมาเลี้ยงไก่พื้นเมืองใต้เป็นอาชีพเสริม โดยเฉลี่ยเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมืองครอบครัวละ 20–30 ตัว การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้ต้นทุนต่ำ ระยะเวลาเลี้ยงจนถึงจับขายสั้นกว่าการเลี้ยงโคขุน แม้ว่าจะเลี้ยงไก่เป็นอาชีพเสริม เราต้องมีความรู้และจัดการให้ดี ไม่อย่างนั้นจะขายไม่ได้ ไก่หนึ่งตัวก็มีค่า มีต้นทุนทั้งทรัพย์สินและเวลาของเรา การพัฒนาทักษะความรู้และต่อยอดให้มีรายได้เพิ่ม นั่นคือ อาชีพเสริม” วีรชัย นิ่มโอ เจ้าของพี่น้องเจริญฟาร์ม ต.ป่าบอนต่ำ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง แกนนำกลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองจังหวัดพัทลุง และอดีตนักส่งเสริมการเกษตรของฟาร์มไก่บริษัทเอกชน สะท้อนแนวคิดการสร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านนอกจากการทำสวนยางพาราและการเลี้ยงโคขุนที่เป็นอาชีพหลัก “เราต้องการทำเป็นอาชีพและมีรายได้ ไม่ใช่เลี้ยงสะเปะสะปะ พ่อค้ามาเป็นคนกำหนดราคา เราไม่ต้องการแบบนั้น ถ้าจะขายเราต้องเป็นคนกำหนดราคา ตลาดต้องไปแบบนี้นะ ไม่ใช่ต่างคนต่างเลี้ยง ต่างคนต่างขายเหมือนเมื่อก่อน เราก็มาจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้การจัดการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น การเลี้ยง การให้อาหาร การให้วัคซีนจนถึงแปรรูป” แม้จะคลุกคลีกับแวดวงฟาร์มไก่เอกชนมากว่า 10 ปี แต่

พลิกฟื้น รักษา พัฒนา ‘พริกไทยตรัง’ เสริมรายได้ชาวสวนตรัง

พลิกฟื้น รักษา พัฒนา ‘พริกไทยตรัง’ เสริมรายได้ชาวสวนตรัง

แม้จะมีทั้งสวนยางพาราและสวนส้มโอ แต่เมื่อต้องหันหลังให้ชีวิตมนุษย์เงินเดือนในเมืองหลวงกลับมาดูแลพ่อที่เจ็บป่วย กิตติ ศิริรัตนบุญชัย กลับเลือกปลูก “พริกไทย” และต้องเป็น “พริกไทยตรัง” เท่านั้น “ผมอยากให้คนตรังกินพริกไทยตรัง คนอายุ 70-80 ปี เขาภูมิใจพริกไทยพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดตรังมาก ด้วยรสชาติอร่อย เผ็ดร้อน กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ พริกไทยตรังเป็นพันธุ์ที่ดังไปถึงยุโรป แต่หากินไม่ได้แล้ว การปลูกพริกไทยถึงขายไม่ได้วันนี้ ผลผลิตก็ยังทำแห้งและเก็บไว้ได้นาน”  ไม่เพียงคิดฟื้นพริกไทยตรังให้กลับคืนมาในพื้นที่อำเภอวังวิเศษ จ.ตรัง แต่ ยังเลือกปลูกพริกไทยเพียงอย่างเดียวและมุ่งเป้าผลิตในเชิงพาณิชย์ ด้วยเชื่อว่า “ถ้าจะทำให้สำเร็จ ต้องทำอย่างเดียว” เขาศึกษาและหาข้อมูลแหล่งปลูกพริกไทยสายพันธุ์ตรังที่แท้จริง สอบถามปราชญ์ชาวบ้าน ตรวจสอบย้อนกลับไปถึงเอกสารจดหมายเหตุ ควบคู่กับการลงเรียนด้านเกษตร โดยเฉพาะ “การปลูกส้ม” ไม้ผลที่ กิตติ มองว่า หากปลูกส้มได้จะปลูกพืชทุกอย่างได้ “ถ้าไม่สูงต้องเขย่ง ถ้าไม่เก่งต้องขยัน”

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้พัฒนาความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยกระดับการผลิตและผลิตภัณฑ์ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยดำเนินงานผ่านโครงการดังนี้ โครงการบ่มเพาะเกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเป็น Top Smart New Gen (ปี 2564) มีผู้ได้รับการสนับสนุน 20 ราย โครงการพัฒนาศักยภาพ New Gen, Smart Farmer และ Young Smart Farmer ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ ธ.ก.ส. ปี 2565-2566) มีผู้ได้รับการสนับสนุน 30 ราย

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์”

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์”

เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” และ “เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดมิลค์กี้เชิงพาณิชย์” โดยได้รับความสนใจจากเกษตรกร ผู้ประกอบการและนักศึกษารวมกว่า 60 คน ทั้งนี้การอบรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี การอบรมในหัวข้อ “การจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ่อและการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ” จัดขึ้น ณ ห้องประชุมประถม ใจจิตร อาคารกุลละวณิชย์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี โดยมี ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข นักวิจัย สวทช. เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “สิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ และโมเดลการเลี้ยงกุ้งแบบธรมชาติ: ลดต้นทุน

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา”

สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา”

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมออนไลน์หัวข้อ “การเพิ่มผลผลิตทุเรียนภายใต้ปรากฎการณ์เอลนีโญ-ลานีญา” โดยมี ผศ.ดร.ยศพล ผลาผล ประธานกลุ่มสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี เป็นวิทยากรให้ความรู้เกษตรกรชาวสวนทุเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือการผลิตทุเรียนในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง คลิกชมวิดีโอย้อนหลัง อนึ่ง กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี” โดยความร่วมมือระหว่าง สวทช.-มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี‎