มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี พัฒนาสถานีเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร (Training Hub) โดยมุ่งเน้นเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีด้านเกษตรและประมง บูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญของบุคลากรของ สวทช. และมหาวิทยาลัยฯ เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (reskill) ให้เกษตรกรและชุมชนผ่านหลักสูตรการอบรมและกิจกรรม กิจกรรม/ประชาสัมพันธ์ สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เสริมความรู้ด้าน “สัตว์น้ำ” สร้างอาชีพ “เพาะเห็ดมิลกี้เชิงพาณิชย์” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี เติมความรู้ชาวสวน “เพิ่มผลผลิตทุเรียนในสภาวะเอลนีโญ-ลานีญา” สท.-ม.บูรพาฯ จันทบุรี จัดเต็มอบรม “เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ด้วยระบบ IoT” สท.-ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จัดอบรมเกษตรกรเสริมความรู้การทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร

วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ

วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ

จากบันทึกความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรร่วมกันนั้น สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้รับมอบหมายให้พัฒนาความร่วมมือ “การพัฒนาสถานีเรียนรู้ด้านเกษตร” กับวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ จึงได้นำร่องจัดตั้งแหล่งเรียนรู้การเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย หรือหนอน BSF จากเศษขยะอินทรีย์ และแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการแปลงปทุมมา สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม กิจกรรม สื่อความรู้ กิจกรรม สท. นำร่อง “หนอน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ในปี พ.ศ. 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) มีความร่วมมือพัฒนาสถานีเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อเป็นพื้นที่สาธิต ทดสอบและเรียนรู้การปรับใช้เทคโนโลยีเกษตร/เกษตรสมัยใหม่ ให้เกษตรกรได้เข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกษตร ยกระดับทักษะความรู้บุคลากรภาคการเกษตร พัฒนาเกษตรกรแกนนำ เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) อีกทั้งเป็นพื้นที่ขยายผลองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสวทช. สู่ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเกษตรปลอดภัยและผลิตสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยนำร่องในจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา การบริหารจัดการสถานีเรียนรู้ด้านการเกษตร (Training Hub) ในพื้นที่ภาคใต้ ดำเนินการโดยสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย มีคณะกรรมการกำกับ ติดตาม

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

จาก ‘ศูนย์ (0)’ สู่ ‘ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน: สุขใจฟาร์ม’

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานเกษตรอำเภอวังเหนือ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายคำ เปิด “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน” ณ สุขใจฟาร์ม ต.วังทรายคำ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง พร้อมกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การผลิตกล้าคุณภาพและการเพาะต้นอ่อน โดยมี นางวณิชดา ไชยศิริ นายอำเภอวังเหนือ เป็นประธานเปิดงาน “เราเริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีองค์ความรู้เกษตรอะไรเลย ได้แต่ดูจากยูทูป กูเกิ้ล ซึ่งไม่สามารถให้องค์ความรู้กับเราได้ 100% จนได้ไปอบรมการผลิตผักอินทรีย์คุณภาพกับ สวทช.-ม.แม่โจ้ เป็นองค์ความรู้ตามหลักวิชาการ เอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเรา ได้ลองผิดลองถูก จนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 6 เราพร้อมเป็นศูนย์เรียนรู้เผยแพร่ความรู้ให้คนในชุมชนได้ผลิตผักอินทรีย์มีคุณภาพ เราเชื่อว่าความรู้ที่ได้ทำให้คุณภาพของผักและคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงๆ” นายภัทรพล วนะธนนนท์

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

‘แปลงผักสุขใจ’ สู่ ‘สายใยรัก’

“เขาเป็นคนพิการ แต่เขาไม่ได้ทำให้ดูเป็นคนพิการเลย เขาทำงานได้เหมือนคนปกติ ถากหญ้าได้ ทำโน่นนี่ได้ ขนาดเขาไม่ปกติ เขายังสู้เลย” น้องแนน-นางสาวนลินี พรมสังข์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สะท้อนความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากที่ “โรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำ” ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เสร็จสมบูรณ์ น้องแนนและเพื่อนๆ ชั้นปี 4 จากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นแรงกำลังสำคัญสร้างโรงเรือนไม้ไผ่ปลูกพืชต้นทุนต่ำและปรับปรุงแปลงผักบนพื้นที่ของ “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” อ.เวียงเหนือ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2563 จากความร่วมมือของสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักกี้ซี้ด อโกร และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด “ชมรมคนพิการสายใยรักตำบลร่องเคาะ” เป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์ของนายภัทราพล วนะธนนนท์ เจ้าของ

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เสวนา เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน

เก็บตก!! งานสัมมนาและแสดงนวัตกรรม สวทช. – วิทย์สัญจร วิจัยเข้มแข็งเสริมแกร่งภูมิภาค ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา จัดโดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสร้างสรรค์ พันธมิตรร่วมใจ ล้านนาก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจคือ “เกษตรอินทรีย์: ทางเลือก ทางรอดของชุมชน” ชีวิตที่เลือกเป็น “เกษตรกร” จากอดีตลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ตัดสินใจนำเงินเก็บสะสมไปซื้อที่ดินในอ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เพื่อเป็นเกษตรกรเมื่อปี 2532 เริ่มต้นจากปลูกสับปะรด ข้าวโพดอ่อน แต่การรับซื้อที่ถูกกดราคา