สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

สวทช. จับมือมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พัฒนางานวิจัย-ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาสวนดุสิต ภายใต้ “การพัฒนางานวิจัยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยและผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สาธิต และทดสอบเทคโนโลยีด้านเกษตรและอาหาร โดยบูรณาการองค์ความรู้จากทั้งสองหน่วยงานและเครือข่ายพันธมิตร เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรที่รองรับการเรียนรู้ในระดับภาคสนามและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ชุมชนโดยเน้นการลงมือปฏิบัติ นำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง เพื่อสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ให้เกิดการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน ที่ผ่านมา สวทช. ได้พัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งด้านการเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งเร่งผลักดันให้เกิดการสาธิตและขยายผล พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรและชุมชน ให้เกิดการเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อให้ชุมชนและเกษตรกรได้นำผลงานวิจัยไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สร้างมูลค่าและรายได้ เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือจากภาคการผลิตสู่ภาคการตลาด ทั้งนี้ สวทช. ได้ผนึกกำลังและสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

สวทช.-ม.แม่โจ้ เปิดตัว “สถานีเรียนรู้ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ”

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิด “สถานีเรียนรู้ (Training Hub) ด้านเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ” ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมีนางสาวกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี (สท.) เป็นผู้แทนจาก สวทช. เข้าร่วมงาน ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว สวทช. โดย สท. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พัฒนาสถานีเรียนรู้ (Training Hub) เพื่อรองรับการเรียนรู้ระดับภาคสนามให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของทั้งสองหน่วยงานผ่านหลักสูตรการอบรม ฐานเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มต้นจากฐานเรียนรู้การผลิตผักอินทรีย์ในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ฟาร์ม 907 ไร่)

บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด

บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด

ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เริ่มขึ้นเมื่อปี 2562  มุ่งเน้นให้เกษตรกรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับประยุกต์การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐานและคุณภาพ เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยได้นำร่องกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักของบริษัทฯ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ สหกรณ์รักษ์ศรีเทพ อ.ศรีเทพ สหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้ จำกัด อ.หล่มสัก สหกรณ์รวมกลุ่มการเกษตรน้ำหนาว อ.น้ำหนาว รวมถึงส่งเสริมและสร้างอาชีพให้ชุมชนบ้านสะอุ้ง อ.หล่มเก่า ซึ่งมีข้อจำกัดพื้นที่การผลิตสินค้าเกษตร สท. และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้ขยายพื้นที่การดำเนินงานร่วมกันอีก 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน กาฬสินธุ์ นครปฐม เพชรบุรี และตรัง เพื่อให้เกษตรกรหรือชุมชนได้เข้าถึงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

ทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความรู้และเชื่อมั่น

ทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความรู้และเชื่อมั่น

‘เซ่ง ผลจันทร์’ ‘ขวัญเรือน นามวงศ์’ และ ‘ธนากร ทองศักดิ์’ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการผลิตพืชผักจากโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ที่มุ่งให้เกษตรกรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับประยุกต์การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐานและคุณภาพ เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แม้ล่วงสู่วัย 62 ปี เซ่ง ผลจันทร์ หรือลุงเซ่ง สมาชิกสหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้ จำกัด อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ดูแลจัดการแปลงผักขนาดพื้นที่ 200 ตารางวา ตัดผักส่งสหกรณ์ฯ สัปดาห์ละ 3 วัน และผลิตผักส่งตามออเดอร์จากท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้ไม่ขาด มีรายได้หลักหมื่นต่อเดือน

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

กลางปี 2562 ดิเรก ขำคง เจ้าของฟาร์ม Be Believe Organic Farm จ.ราชบุรี และ ภัทรนิษฐ์ ภุมมา เจ้าของสวนกล้วยภัทรนิษฐ์ จ.นครปฐม ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มภายใต้เครือข่ายสามพรานโมเดล เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีไว้ใช้เอง” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใครจะคิดว่าหลังการอบรมวันนั้นเพียง 6 เดือน ชีวิตของเขาทั้งสองได้เปลี่ยนไป ดิเรก อดีตวิศวกรหนุ่มที่อิ่มตัวกับงานประจำ จับพลัดจับผลูเดินบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์กับผลผลิต “ต้นอ่อนผักบุ้ง” ที่เขาและภรรยาใช้เวลาถึงสองปีลองผิดลองถูกเพื่อหวังเป็นอาชีพใหม่ “แฟนผมแพ้เคมีทุกอย่าง แม้แต่ผงชูรส ตอนนั้นต้นอ่อนผักบุ้งมีน้อย เป็นต้นสั้นและใช้เคมี เรามองว่าถ้าปลูกเป็น ใช้เวลา 7 วันก็สร้างรายได้ แต่ข้อมูลการปลูกต้นอ่อนผักบุ้งแทบไม่มี เราต้องลองผิดลองถูกกันเอง ทิ้งไปเยอะมาก กว่าจะได้ความยาวต้นที่เหมาะ

ร่วมกันรู้ ปลูกพริกแบบปลอดภัย

ร่วมกันรู้ ปลูกพริกแบบปลอดภัย

ยินดีต้อนรับสู่ “โครงการศูนย์ร่วมกันรู้ การปลูกพริกแบบปลอดภัย” ข้อความเชื้อเชิญหน้าทางเข้าพื้นที่ราว 50 ไร่ของบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จำกัด (มหาชน) ต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน พื้นที่แห่งนี้นอกจากให้ชาวบ้านเช่าเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และยาสูบแล้ว บริษัทฯ ยังแบ่งพื้นที่ทดลองปลูกพริกแบบปลอดภัยเพื่อเป็นวัตถุดิบทำเครื่องปรุงสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ “เราเป็นบริษัทผลิตอาหารสำเร็จรูป เราให้ความสำคัญและใส่ใจวัตถุดิบทุกชนิดที่ประกอบเป็นอาหารตั้งแต่การผลิตในแปลงปลูกไปจนถึงการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย” ประพิณ ลาวิณย์ประเสริฐ ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเจตจำนงของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นความปลอดภัยของวัตถุดิบเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค แม้ผลผลิตพริกที่ได้จะไม่มากพอเนื่องจากปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช แต่บริษัทฯ มิได้ย่อท้อ ยังคงมุ่งมั่นที่จะผลิตพริกให้ได้คุณภาพและปลอดภัย จนในปี 2562 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดทำ “โครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพริกคุณภาพแบบปลอดภัย” ร่วมกับบริษัทฯ เพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้การผลิตพริกคุณภาพแบบปลอดภัยและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ซึ่ง สท. ได้เชื่อมโยง

“Smart Tambon Model” ยกระดับคุณภาพชีวิตท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

“Smart Tambon Model”  ยกระดับคุณภาพชีวิตท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

Smart Tambon Model หรือโครงการส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาชุมชนพื้นที่แบบองค์รวมในระดับตำบล เป็นอีกหนึ่งโครงการความร่วมมือที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ผลักดันให้เกิดเป็นต้นแบบการพัฒนาประเทศที่บูรณาการความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมพัฒนาที่ดิน และบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงจากระดับตำบลสู่วงกว้าง โดยมีวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นเครื่องมือช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านอาชีพ สุขภาพ การศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม สท. ได้เริ่มดำเนินงาน Smart Tambon Model ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2562 โดยลงพื้นที่ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน และเจ้าหน้าที่ของบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เก็บข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพื่อจัดทำแผนดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีและสนับสนุนส่งเสริมความรู้ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่