สานพลังพิชิต ฝ่าวิกฤตโรคใบด่างมันสำปะหลัง

สานพลังพิชิต ฝ่าวิกฤตโรคใบด่างมันสำปะหลัง

ประเทศไทยผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแปรรูปมากเป็นอันดับต้นของโลก โดยในปี 2564 กรมการค้าต่างประเทศรายงานว่าประเทศไทยส่งออกมันสำปะหลังแปรรูปเป็นมูลค่ารวมสูงกว่า 1.23 แสนล้านบาท แต่ทว่าหลังจากช่วงปี 2562 ที่ไทยเริ่มพบรอยโรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava ​Mosaic Disease: CMD) และประกาศการระบาดอย่างเป็นทางการในปี 2565 อุตสาหกรรมมันสำปะหลังกลับต้องเผชิญกับความสั่นคลอนจากการขาดแคลนวัตถุดิบเรื่อยมา เพราะโรค CMD นอกจากจะทำให้หัวมันแคระแกร็นและคุณภาพผลผลิตตกต่ำแล้ว ยังเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้ง่าย รวดเร็ว แต่ยับยั้งการแพร่ระบาดยากเพราะมีแมลงหวี่ขาวเป็นตัวกระจายโรค พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่ของไทยจึงกลายไปเป็นพื้นที่สีแดงหรือพื้นที่ที่ต้องเผชิญปัญหาโรค CMD ระบาดภายในระยะเวลาเพียง 2-3 ปี อย่างไรก็ตามท่ามกลางวิกฤตใหญ่ที่ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ยังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลังที่เลือกยืนหยัดหาแนวทางฝ่าฟันวิกฤตนี้ เพราะพวกเขาเชื่อว่า ‘การสู้ไปด้วยกันจะนำไปสู่การผ่านพ้นวิกฤตได้’ ปัญหาเกิด ‘ตัวกลางเร่งขยับ’ ชวินทร์ ปลื้มเจริญ นักวิชาการ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)

เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ผลผลิตที่ได้ราคา

เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ผลผลิตที่ได้ราคา

“เมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยหลักของเกษตรกร ถ้าขายแต่ข้าวให้โรงสี เกษตรกรอยู่ไม่รอด เพราะราคาอยู่ที่เขาจะกำหนด แต่เมล็ดพันธุ์เรากำหนดราคาได้ เป็นรายได้ที่เกษตรกรสามารถทำได้” ธนากรณ์ พาโคมทม  ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด วิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ บอกเล่าถึงการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร ชีวิตที่เติบโตมากับผืนนาข้าวในตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด หนึ่งในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่เป็นแหล่งปลูกพันธุ์ข้าวหอมมะลิเลื่องชื่อ ก่อนโยกย้ายไปทำงานมนุษย์เดือนและตัดสินใจคืนถิ่นมาช่วย ประสาน พาโคมทม ผู้เป็นแม่ ขับเคลื่อนการทำงานของวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐาน Organic Thailand เมื่อมองเห็นโอกาสสร้างรายได้จากเมล็ดพันธุ์ ธนากรณ์ จึงชักชวนสมาชิกวิสาหกิจฯ รวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยอบรมเติมความรู้จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ดและสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. จนสามารถยกระดับเป็นศูนย์ข้าวชุมชนวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ เป็นกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอปทุมรัตต์ และจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2564 เพื่อจำหน่ายข้าวอินทรีย์และเมล็ดพันธุ์ข้าวของกลุ่มฯ “สท./สวทช. และศูนย์ข้าวฯ เข้ามาให้ความรู้และผลักดันให้ผลิตเมล็ดพันธุ์

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงที่ร้อนแรง มัสสา โยริบุตร ในวัย 65 ปี ขี่มอเตอร์ไซค์นำทางลัดเลาะไปยังผืนนาที่แปรเปลี่ยนเป็นทุ่งปอเทืองและถั่วเขียวบนพื้นที่ 6 ไร่ เป็นพืชหลังนาที่ มัสสา เลือกปลูกเพื่อบำรุงดินก่อนปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่ “สมัยรุ่นพ่อแม่ ไม่มีปลูกพืชหลังนาหรอก ทำนาเสร็จ ก็ปล่อยแปลงว่างไว้ ไม่ทำอะไร” มัสสา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ย้อนภาพแปลงนาในวัยเยาว์ จวบจนถึงวัยที่เธอเดินตามรอยเส้นทางอาชีพของพ่อแม่ มัสสา มีโอกาสเข้าถึงการอบรมต่างๆ จากหน่วยงานราชการ ทำให้เธอได้รู้จักพืชหลังนา “ได้อบรมเป็นหมอดินอาสา ทำให้รู้จักพืชหลังนาอย่างปอเทือง ถั่วเขียวว่าเป็นปุ๋ยพืชสด มีไนโตรเจนสูง ไถกลบแล้วช่วยให้หน้าดินนุ่ม ร่วนซุย เมื่อปลูกข้าวรอบใหม่ก็ใช้ปุ๋ยน้อยลง” มัสสา มีพื้นที่นาทั้งหมด 53 ไร่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด

ผักแซ่บๆ ปลูกด้วยความรู้ ดีต่อกาย ดีต่อรายได้

ผักแซ่บๆ ปลูกด้วยความรู้ ดีต่อกาย ดีต่อรายได้

“แต่ก่อนไม่มีรายได้จากผัก เดี๋ยวนี้ได้วันละ 40-50 บาท บางวันได้ 100-200 บาท ผักที่เราปลูกเองกินอร่อยกว่า ไม่ต้องซื้อผักจากตลาดแล้ว” วันเพ็ญ บุญเชิด เล่าด้วยรอยยิ้มระหว่างที่รดน้ำแปลงผักน้อยๆ ของเธอ วันเพ็ญ เป็นสมาชิกกลุ่มปลูกผักบ้านบุตาโสม ต.เมืองบัว อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เธอได้รับจัดสรรพื้นที่ขนาด 1.5×7 เมตร เป็นหนึ่งในแปลงผักนับสิบแปลงบนพื้นที่เกือบ 1 ไร่ ด้านหลังโรงเรียนบ้านบุโสม จากพื้นที่รกร้าง สภาพดินที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นแปลงผักเขียวขจีเต็มพื้นที่ ด้วยความตั้งใจของ เสมอ กระจ่างจิต ผู้ใหญ่บ้านบุตาโสม ที่ต้องการให้ลูกบ้านได้รับประทานผักปลอดภัย “ชาวบ้านพบสารเคมีตกค้างในเลือดกันทุกคน เราทำนาปีละครั้ง การรับสารเคมีอาจไม่เยอะเท่าผักที่เราซื้อกินทุกวัน วิธีที่เราพอจะป้องกันได้ก็คือ ปลูกผักกินเอง” เสมอ ใช้เวลากว่า 2

Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ สร้างมูลค่าทุเรียนจันท์

Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ สร้างมูลค่าทุเรียนจันท์

ถุงแดงบนต้นทุเรียนเป็นภาพที่พบเห็นในสวนทุเรียนหลายแห่งในช่วงหลายปีนี้ “ถุงแดง” หรือ “Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง” ผลงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เป็นเทคโนโลยีวัสดุเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คัดเลือกช่วงแสงช่วง 400-700 nm ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี ป้องกันแมลงศัตรูพืชและสัตว์ฟันแทะ (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า สัตว์กัดแทะ) ลดการใช้สารเคมีและเพิ่มคุณภาพผลผลิต สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมกับทีมวิจัยขยายผลการใช้ถุงแดงในพื้นที่ภาคตะวันออก ดังที่จังหวัดจันทบุรีซึ่งมีทั้งแปลงเรียนรู้ของหน่วยงานรัฐ แปลงทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและแปลงทุเรียนระบบเกษตรอินทรีย์ ‘ถุงแดง’ กับ ‘การใช้สารเคมี’ ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัดจันทบุรี ต.ท่าหลวง อ.มะขาม จ.จันทบุรี หรือที่มักคุ้นในชื่อ “สวนของพ่อ” เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตไม้ผล สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและยังเป็นสนามทดสอบการใช้ถุงแดงกับทุเรียนหมอนทองในช่วงปี พ.ศ.2564-2565 “ปัญหาของทุเรียนคือ เพลี้ยแป้ง ใช้สารเคมีฉีดพ่นทุกๆ 10-14

‘ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ’ ตัวช่วยของชาวสวนทุเรียน

‘ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ’ ตัวช่วยของชาวสวนทุเรียน

“เราดูตัวเลขความชื้นดินในระบบ ค่าตัวเลขเท่านี้ สภาพต้นทุเรียนได้ เราจะประคองการให้น้ำไว้ที่ค่าตัวเลขนี้ แต่ก่อนไม่เคยรู้ความชื้นในดินและไม่รู้ว่าทุเรียนแต่ละช่วงการเติบโตต้องการน้ำไม่เท่ากัน เราให้น้ำเท่ากันตลอด” อนุชา ติลลักษณ์ เจ้าของสวน ผช.เก่ง ต.บ้านแลง อ.เมือง จ.ระยอง เล่าถึงวิธีการให้น้ำสวนทุเรียนที่เปลี่ยนไปหลังจากได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบควบคุมการให้น้ำโดยใช้เซนเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศและความชื้นดิน (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ) อดีตช่างเครื่องยนต์เริ่มฝึกมือทำสวนทุเรียนอยู่กว่า 4 ปี ก่อนตัดสินใจปรับเปลี่ยนป่ายาง 10 ไร่ เป็นสวนทุเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ลงมือลงแรงทำสวนจริงจังจนได้ผลผลิตครั้งแรก 5 ตัน เมื่อปี พ.ศ. 2565 “อาศัยหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตและเรียนรู้จากคนอื่น เราต้องเป็นคนน้ำไม่เต็มแก้ว ถ้าน้ำเต็มแก้ว ก็ไม่มีคนคุยกับเรา ลองผิดลองถูกแล้วปรับให้เหมาะกับสวนเราเอง ต้องหาจุดตัวเองให้เจอ” หลังผลผลิตแรกผลิดอกออกผล สวน ผช.เก่ง

ลด ‘ต้นทุนทำสวนทุเรียน’ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ลด ‘ต้นทุนทำสวนทุเรียน’ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

“ต้นทุนทำสวนทุเรียนต้องอยู่ที่ 50 บาท/กก. การแข่งขันทุเรียนมากขึ้น ถ้าทำต้นทุนได้ต่ำเท่าไหร่ เราก็ยิ่งได้กำไร” สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้ว อ.วังจันทร์ จ.ระยอง และรองประธานกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนบ้านวังจันทร์ บอกถึงตัวเลขเป้าหมายต้นทุนทำสวนทุเรียนของเขา สมบูรณ์ เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำสวนทุเรียน ด้วยมองเห็นแนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของตลาดทุเรียน จะทำอย่างไรให้อาชีพชาวสวนที่เขาทำมาเกือบทั้งชีวิต ยังคงสร้างรายได้ให้เขาต่อไปได้ “ก่อนมาเจอ สวทช. ต้นทุนทำสวนทุเรียนของผมอยู่ที่ 70 บาท/กก. ผมต้องการลดต้นทุนลง เริ่มจากใช้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำของ สวทช. ช่วยลดค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าแรงได้ ต้นทุนเหลือ 60 บาท/กก. แต่ต้นทุนสวนยังมีเรื่องปุ๋ยอีก ก็ต้องการให้ต้นทุนอยู่ที่ 50 บาท/กก. ถ้าราคาทุเรียนตกมาที่ 60 บาท ผมก็ยังมีกำไร”

‘ปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกอง’ ตัวช่วยบำรุงดิน ผักงามสร้างรายได้

‘ปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกอง’ ตัวช่วยบำรุงดิน ผักงามสร้างรายได้

อยากกินผักปลอดภัยและมีรายได้เสริม เป็นคำตอบที่มักได้จากเกษตรกรที่หันมาปลูกผัก เช่นเดียวกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยบ้านป่าสีเสียด ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง จากที่เคยต่างคนต่างปลูก พวกเขารวมกลุ่มกันในปี พ.ศ. 2560 เพื่อเติมเต็มความรู้ปลูกผักเป็นรายได้เสริมจากทำสวนยางพาราและปลูกมันสำปะหลัง โดยมีพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านเป็นแปลงเรียนรู้ร่วมกัน “พอไปอบรมหาความรู้ที่โครงการศูนย์บริการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริจังหวัดระยองกันแล้ว เราก็อยากมาเรียนรู้และทำแปลงต้นแบบด้วยกัน ก็เลยขอใช้พื้นที่จาก อบต.” พะเยาว์ บัณฑิตธรรม ประธานกลุ่มฯ ย้อนถึงที่มาแปลงผักบนพื้นที่ 6 ไร่*  ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยบ้านป่าสีเสียด แหล่งเรียนรู้การปลูกผัก การผลิตปุ๋ยหมัก การป้องกันโรคพืชและแมลงศัตรูพืช เมื่อมีพื้นที่ได้ลองมือลองวิชา สมาชิกร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชผักระยะสั้นและผักใบ เช่น กวางตุ้ง คะน้า โหระพา มะกรูด มะนาว โดยเน้นปลูกเพื่อบริโภค เหลือจึงขาย “ช่วงแรกปลูกแล้วไม่ค่อยได้ผลผลิต เพราะดินไม่ดี เป็นดินถม เราก็ไปเรียนรู้แก้ปัญหาดินที่โครงการพระราชดำริฯ

สร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา เสริมเศรษฐกิจชุมชน ด้วย ‘นวัตกรรมและเทคโนโลยี’

สร้างมูลค่าเพิ่มยางพารา เสริมเศรษฐกิจชุมชน ด้วย ‘นวัตกรรมและเทคโนโลยี’

“เราต้องรู้ว่าเราทำอะไร เพื่ออะไร และต้องลงลึกไปทิศทางไหน ถ้าไม่รู้ เราก็พัฒนาไปไม่ได้” ประโยคที่บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นในการทำงานของ ณฐนนท เจริญรมย์ ผู้จัดการบริษัท สไมล์ รับเบอร์ จำกัด และผู้ประกอบการเกษตร โดยมี “ที่นอนปุ่มยางพารา” สินค้าเพื่อสุขภาพที่ได้รับการขึ้นทะเบียนนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566 เป็นหนึ่งผลลัพธ์ที่สะท้อนประโยคข้างต้นได้ดี ทำเกษตรไม่รวยแต่ไม่จน มีกินมีใช้ คำพูดของพ่อที่เป็นทั้งผู้ใหญ่บ้านเนินสว่างและเป็นเกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง มะพร้าว สับปะรดและอ้อย ก่อนเปลี่ยนมาทำสวนยางพาราทั้งหมดเมื่อปี พ.ศ. 2543 และส่งยางแผ่นเข้าโรงงาน ปัจจุบันพื้นที่กว่า 80% ของบ้านเนินสว่าง อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เป็นสวนยางพารา ชาวบ้านส่วนใหญ่รับจ้างกรีดยาง หลังเรียนจบปริญญาตรีด้านบริหารการตลาดและกำลังจะไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ ณฐนนท ต้องเปลี่ยนเส้นทางมุ่งสู่บ้านเกิดเพื่อดูแลธุรกิจยางพาราของครอบครัว หลังจากที่พ่อล้มเจ็บและจากไป