ขาดทุนจากลองทำ ถ้าเราไม่ลงมือทำ สมาชิกเราก็ไม่ได้ ส่วนกำไร เราได้ทั้งความรู้ ได้เพื่อนและได้บุญ -มนูญ แสงจันทร์สิริ- “ช่วยตานูนเท่ากับช่วยสมาชิก เท่ากับช่วยเครือข่าย” ประโยคคำพูดสั้นๆ ที่ มนูญ แสงจันทร์สิริ หรือ ตานูน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม่อนผลแปรรูปกลุ่มใต้ร่มบุญ จ.สงขลา บอกไว้ในเวทีหารือความร่วมมือที่มีหน่วยงานรัฐและเอกชนเข้าร่วมกว่า 10 แห่ง ซึ่งล้วนเป็นหน่วยงานสนับสนุนการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของ ตานูน มาเกือบสิบปี ชีวิตที่ผ่านงานรับจ้างมาหลากหลายทั้งกรีดยาง ทหารพราน เซลล์ขายของ รองผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนมาเป็นนายตัวเองกับอาชีพเกษตรกรด้วยการเลี้ยงแพะ และได้มารู้จักต้นหม่อนหรือมัลเบอร์รี่ที่มีโปรตีนสูง ใช้เป็นอาหารเลี้ยงแพะได้ “ปลูกหม่อนใบเพื่อเอามาเลี้ยงแพะ แล้วมารู้ว่าหม่อนผลมีโปรตีนสูงเหมือนกัน ก็เรียนรู้วิธีปลูก ทำไปทำมาก็เริ่มคิดแล้วว่าจะอยู่เฝ้าแพะแบบนี้ไปเรื่อยๆ มันไม่ใช่ล่ะ เลยลองเอาผลหม่อนมาแปรรูปเป็นน้ำหม่อนไปวางขาย ปรากฏว่าขายดี ก็จุดประกายอาชีพให้เรา” จากแปรรูปหม่อนในระดับครัวเรือน
“ฟาร์มฝันแม่” ความฝัน ความจริง และความรู้เกษตรอินทรีย์
จะปลูกพืชชนิดไหน ต้องหาความรู้ว่าพืชต้องการอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อลดความเสี่ยงการผลิต แล้วจัดการให้ได้ ผลผลิตก็จะได้ 100% -ภิญญา ศรีสาหร่าย- “กลับบ้านเถอะลูก พ่อปลูกต้นท้อไว้รอเจ้า กลับบ้านสู่บ้านเรา ไหนว่าเจ้าไปเพื่อเรียน หลายปีผ่านไป สุขทุกข์อย่างไร พ่อรออยู่ ดอกท้อชู ช่อชู ไกลสุดกู่ หรืออย่างไร พ่อทำฝนเทียมและห้วนฝาย ไว้คอยเจ้า พร้อมเมล็ดพันธุ์ชนิดใหม่ๆ เจ้าจงมาเตรียมการหว่านไถ่ เพื่อจะได้มีอยู่ มีกิน กลับบ้านเถอะลูก เจ้ากลับบ้านถูกใช่ไหม เจ้าจงมาเป็นชีวิตใหม่ เป็นแสงตะเกียงและเสียงพิณ ให้ผู้อยู่ถิ่น…ได้ชื่นใจ” “แม่ไม่เคยบอกให้ลาออกจากงานมาปลูกผัก แม่ไม่เคยรู้ว่าได้เงินเดือนเท่าไหร่ ทุกเดือนแม่ยังส่งเงินให้” ภิญญา ศรีสาหร่าย สมาชิกกกลุ่มร่มโพธิ์ เครือข่ายมูลนิธิสังคมสุขใจ สามพรานโมเดล อดีตวิศวกรเงินเดือนเฉียดแสน
“สมุนไพรอินทรีย์” สร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรชีวภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน
ประเทศไทยมีสมุนไพรกว่า 10,000 ชนิด โดยร้อยละ 15.5 ของชนิดสมุนไพร สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งการสนับสนุนส่งเสริมองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรตั้งแต่แปลงปลูกถึงการแปรรูป เป็นสิ่งสำคัญที่จะหนุนเสริมศักยภาพของสมุนไพรไทยให้ได้ทั้งคุณภาพและมาตรฐาน เพิ่มโอกาสการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชุมชนไปพร้อมกับการสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของทรัพยากรทางชีวภาพของไทย สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตพืชสมุนไพรอินทรีย์ให้กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง ลำปางและตาก เพื่อยกระดับการผลิตสมุนไพรให้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณผลผลิตให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ตามบริบทของชุมชน เรามองในแง่การพึ่งตนเอง ปลูกขมิ้นชันแล้วเอามาใช้ประโยชน์ทางยาในชุมชน ถ้าใช้เองได้และใช้ดีด้วย ปลายทางก็เป็นเศรษฐกิจได้ -อุทัย บุญดำ- ‘สมุนไพร’ เพื่อการพึ่งตนเอง วิถีของคนใต้คุ้นเคยกับพืชสมุนไพรทั้งตะไคร้ ขิง ข่า ขมิ้น ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในเครื่องแกงใต้ ชาวบ้านจึงมักปลูกไว้ใช้ในครัวเรือน หรือปลูกแซมในสวนยางพารา “ศูนย์ฯ มาเน้นขับเคลื่อนสมุนไพรเมื่อช่วงปี 2562 จัดเวทีแลกเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เชิงการแพทย์จากภูมิปัญญา แล้ว สวทช. ได้เข้ามาทำในเชิงงานวิจัยไปด้วย
รู้หลักและจัดการ สร้างผลผลิตกาแฟ (คุณภาพ) บ้านเลาสู
ที่แปลงสาธิตการจัดการแปลงผลิตกาแฟให้ได้คุณภาพ ตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ย กำจัดมอดเจาะผลกาแฟและเก็บเกี่ยวผลผลิต ลดความเสียหายของผลผลิตจากมอดเหลือเพียง 0.75% จากเดิมเสียหาย 33.4% ด้วยสภาพภูมิประเทศและความสูง 950 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เอื้อต่อการปลูกกาแฟของชาวบ้านเลาสูซึ่งเป็นชนเผ่าเมี่ยนและชนเผ่าอาข่า ต.ปงดอน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ขณะเดียวกันที่นี่ยังเป็นต้นน้ำแม่วัง หนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของภาคเหนือ ซานฟุ แซ่จ๋าว ผู้ใหญ่บ้านเลาสู และประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านเลาสู เล่าว่า ที่นี่ปลูกกาแฟกันมานานมีทั้งหน่วยงานรัฐและพ่อค้ามาส่งเสริมให้ปลูก ปัจจุบันชาวบ้านปลูกกันเกือบทุกครัวเรือน มากบ้างน้อยบ้าง พันธุ์ที่ปลูกเป็นอาราบิก้า สายพันธุ์คาร์ติมอร์ ชาวบ้านปลูกขายให้พ่อค้าคนกลางและกลุ่มวิสาหกิจฯ เอาไปแปรรูป แม้จะปลูกกาแฟกันมานาน แต่การจัดการแปลงปลูกที่ส่งผลต่อคุณภาพเมล็ดกาแฟยังเป็นปัญหาสำคัญของชาวบ้าน ดังที่ ผู้ใหญ่ซานฟุ บอกว่า ปัญหาที่เจอหลักๆ คือ มอด ถ้ามอดเยอะ เมล็ดกาแฟจะลอยน้ำมาก โรงงานก็ไม่อยากรับซื้อ
“ชีวภัณฑ์” ผลิตใช้เอง ผลิตให้ชุมชน เสริมรายได้
ยิ่งเราทำบ่อยก็ยิ่งเชี่ยวชาญ ดูคุณภาพจากสปอร์ฟุ้ง ไม่มีเส้นใย ส่งตรวจมีปริมาณสปอร์ตามมาตรฐานที่ได้รับถ่ายทอดจาก สวทช. -สุนทร ทองคำ- “ไม่ได้มองว่าชีวภัณฑ์ที่เราผลิตจะเป็นรายได้หลัก แต่การส่งเสริมให้คนใช้ เป็นสิ่งที่ต้องทำมากกว่า” คำบอกเล่าจาก สุนทร ทองคำ ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลวังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี บ่งบอกความตั้งใจของเขาบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ที่มี ‘ชีวภัณฑ์’ เป็นอาวุธสำคัญ สุนทร เติบโตในครอบครัวชาวนา เห็นความยากลำบากในงานเกษตรมาแต่เล็ก เขาจึงปฏิเสธที่จะเดินตามอาชีพของครอบครัว มุ่งสู่ชีวิตมนุษย์เงินเดือนที่เอื้อความสะดวกสบาย แต่เมื่อภาระงานประจำที่ถาโถม ทำให้เขาเริ่มหวนคิดถึงห้องทำงานในธรรมชาติ “ตอนนั้นมองทุกอาชีพ ถ้าไปขายของ ก็มองความแน่นอนไม่มี ถ้าจะไปรับจ้าง แล้วเราจะลาออกมาทำไม พรสวรรค์ตัวเองก็ไม่มี ก็เลยมองว่าเกษตรนี่ล่ะน่าจะตอบโจทย์ตัวเองที่สุด” สุนทร วางแผนและเตรียมตัวก่อนลาออกจากงานอยู่ 2 ปี เริ่มต้นเป็น “เกษตรกรวันหยุด” เรียนรู้การทำเกษตรบนพื้นที่
“ฮักษ์น้ำยม” ปุ๋ยอินทรีย์สู่ความยั่งยืนของชุมชน
อยากให้ชาวบ้านได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนการผลิต ถ้าตลาดไปได้ด้วยก็ดี ชาวบ้านมีรายได้ต่อเนื่อง การทำปุ๋ยก็เป็นอาชีพหลักให้ชาวบ้านได้” -อภินันท์ บุญธรรม- “เราทำปุ๋ยอินทรีย์ไปใส่ต้นไม้พืชผลทางเกษตร ปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดินดี ต้นไม้โต พื้นที่สีเขียวเพิ่ม ต้นน้ำของเราก็สมบูรณ์” อภินันท์ บุญธรรม ผู้ใหญ่บ้านดอนไชยป่าแขม ต.ออย อ.ปง จ.พะเยา อธิบายความหมายของชื่อ “ฮักษ์น้ำยม” ปุ๋ยอินทรีย์ที่ชาวบ้านร่วมกันผลิตจำหน่ายมาได้เกือบ 2 ปี อำเภอปงเป็นต้นน้ำแม่น้ำยม หนึ่งในสี่สายน้ำต้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสายน้ำสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ดังนั้นความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำจึงมีความหมายต่อหลายชีวิตที่ปลายทาง การทำไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยาสูบ เป็นอาชีพหลักของชาวบ้านดอนไชยป่าแขม ด้วยวิถีการผลิตในระบบเกษตรเคมีมายาวนาน ส่งผลต่อคุณภาพของดินและต้นทุนการทำเกษตร การผลิตปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์เป็นหนึ่งทางออกที่ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในพื้นที่ โดยได้รับโรงปุ๋ยและเครื่องจักรมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 “แต่ก่อนรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยใช้กันปีละครั้ง ทำแบบวิธีกลับกอง ทำกันได้ 4-5 ปี
‘ไข่ไก่อารมณ์ดี’ จุดเริ่มต้นล่าฝันเพื่อชุมชน
ใช้หนอนเป็นอาหารเสริมให้ไก่ สิ่งที่เห็นคือเราได้ไข่มากขึ้น ฟองโต เปลือกหนา -อดิศักดิ์ ต๊ะปวน- จากวันที่ยังรวมตัวเป็น “กลุ่มเล่าฝัน” ตามประสาเด็กหนุ่มที่ฝันจะกลับมาสร้างอาชีพของตัวเองในชุมชนและพัฒนาบ้านเกิดไปด้วย พวกเขาเติบโตและพร้อมเปลี่ยนความฝันให้เป็นจริง การรวมตัวกันอีกครั้งในปี พ.ศ.2562 จึงเกิดขึ้น “หลังจากแต่ละคนหมดสัญญาจ้างแรงงานที่ต่างประเทศก็กลับมาเจอกันมาพูดคุยกันอีก หลายคนเริ่มทำตามความฝันตัวเองแล้ว ก็ชวนกันคิดจริงจังที่จะทำความฝันร่วมกันให้ชุมชน โดยตกลงเริ่มจากการเลี้ยงไก่ไข่ ซึ่ง เป็นอาหารที่ทุกบ้านต้องกิน เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าจะซื้อง่ายขายคล่อง” ยุทธศักดิ์ ยืนน้อย แกนนำกลุ่มแม่ทาล่าฝันและประธานกลุ่มแม่ทาออร์แกนิค ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ย้อนความถึงที่มาของกลุ่มและจุดเริ่มของการเลี้ยงไก่ไข่ ชุมชนแม่ทาเป็นพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์มายาวนาน แต่ยังไม่มีผลผลิตไก่ไข่ปลอดภัย กลุ่มฯ จึงต้องการผลักดันการเลี้ยงไก่ไข่ให้เกิดขึ้นในชุมชน อย่างน้อยได้ไข่ที่ปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือก็ขายในชุมชนหรือส่งขายในตัวเมือง ซึ่งแนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นโครงการและได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ “เราตั้งเป้าการทำงานของโครงการให้เกิดการเกื้อหนุนอาชีพของคนในชุมชน มีกลุ่มคนปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ส่งให้เราเพื่อเป็นอาหารให้ไก่ และมีกลุ่มเลี้ยงหนอนเอามาขายให้กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ เนื่องจากอาหารสัตว์อินทรีย์หายากและราคาแพง” หนอนที่ยุทธศักดิ์พูดถึง
“ฟาร์มจิ้งหรีดไทย” สู่สากล ด้วยมาตรฐาน GAP
การเลี้ยงแมลงไม่ส่งกลิ่นเหม็น ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ โปรตีนที่ได้จึงไม่มีสารปนเปื้อน ดูดซึมง่าย นำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ -ณธัชพงศ์ รักศรี- “แมลงเป็นอาหารทางเลือกใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้เป็นอาหารทดแทนโปรตีนจากสัตว์ใหญ่ได้ดี บ้านเรายังส่งออกน้อย เป็นโอกาสของเรา การเลี้ยงแมลงใช้พื้นที่และน้ำไม่มาก ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เลี้ยงในชุมชนได้” ณธัชพงศ์ รักศรี นายธนาคารและผู้ร่วมก่อตั้ง “เปี่ยมสุขฟาร์ม” สะท้อนมุมมองต่อโอกาสทางการตลาดของแมลง ดังเช่น “จิ้งหรีด” ผลผลิตสร้างชื่อของฟาร์ม “เปี่ยมสุขฟาร์ม” เกิดขึ้นจากความต้องการของ ณธัชพงศ์ และ ธนเดช ไชยพัฒรัตนา ลูกพี่ลูกน้อง ที่มองหาอาชีพเสริมและหวังพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว โดยเริ่มต้นจากปรับเปลี่ยนพื้นที่นา 11 ไร่ของครอบครัวเป็นสวนมะนาวด้วยมองเห็นโอกาสทางการตลาดจากราคามะนาวที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี “ด้วยเราทำงานธนาคาร ก็คำนวณล่ะ ปลูกเท่าไหร่ ขายเท่าไหร่
ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า “หม้อห้อมโบราณ”
“ชีวนวัตกรรมเป็นองค์ความรู้ใหม่ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ช่วยต่อยอดภูมิปัญญาการผลิตห้อมตั้งแต่การปลูก ก่อหม้อ การย้อม และได้ผลิตภัณฑ์ที่ขายได้จริง” -รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย- บ้านทุ่งโฮ้ง ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ เป็นแหล่งผลิต “ผ้าหม้อห้อม” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อีกทั้งยังเป็นผ้าพื้นเมืองของชาวแพร่ที่มีอัตลักษณ์ ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นและเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของจังหวัด จากวิถีการย้อมห้อมแบบโบราณที่ใช้กิ่งและใบห้อมหมักในหม้อ ใช้เวลาย้อมหลายวันกว่าสีจะติดทนและสวยงาม เมื่อความนิยมผ้าหม้อห้อมมากขึ้น การผลิตให้ทันตามความต้องการตลาดจึงปรับเปลี่ยนมาใช้สีเคมี ต้นทุนถูกลงและใช้เวลาผลิตรวดเร็วกว่า “เราคนรุ่นเก่าก็หันมาใช้เคมีเหมือนกัน แต่พอทำไปสักระยะก็มาคิดว่าวิธีการย้อมห้อมแบบธรรมชาติตามภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมมา แทบจะไม่หลงเหลือให้เห็น เราต้องกลับมาเป็นผู้อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งเหล่านี้ให้คงอยู่ ให้ลูกหลานได้เห็น ได้ภูมิใจ” วิภา จักรบุตร รองประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าย้อมหม้อห้อมโบราณ บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นการกลับมาอนุรักษ์การผลิตผ้าหม้อห้อมโบราณ และเป็นที่มาของการรวมกลุ่มสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 2561 ในช่วงแรกกลุ่มฯ ซื้อ “ต้นห้อมสด” เพื่อนำมาทำเปอะสำหรับย้อมจากบ้านนาคูหา ต.สวนเขื่อน อ.เมือง