ยินดีต้อนรับสู่ “โครงการศูนย์ร่วมกันรู้ การปลูกพริกแบบปลอดภัย” ข้อความเชื้อเชิญหน้าทางเข้าพื้นที่ราว 50 ไร่ของบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จำกัด (มหาชน) ต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน พื้นที่แห่งนี้นอกจากให้ชาวบ้านเช่าเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และยาสูบแล้ว บริษัทฯ ยังแบ่งพื้นที่ทดลองปลูกพริกแบบปลอดภัยเพื่อเป็นวัตถุดิบทำเครื่องปรุงสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ “เราเป็นบริษัทผลิตอาหารสำเร็จรูป เราให้ความสำคัญและใส่ใจวัตถุดิบทุกชนิดที่ประกอบเป็นอาหารตั้งแต่การผลิตในแปลงปลูกไปจนถึงการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย” ประพิณ ลาวิณย์ประเสริฐ ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเจตจำนงของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นความปลอดภัยของวัตถุดิบเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค แม้ผลผลิตพริกที่ได้จะไม่มากพอเนื่องจากปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช แต่บริษัทฯ มิได้ย่อท้อ ยังคงมุ่งมั่นที่จะผลิตพริกให้ได้คุณภาพและปลอดภัย จนในปี 2562 สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดทำ “โครงการศูนย์เรียนรู้การผลิตพริกคุณภาพแบบปลอดภัย” ร่วมกับบริษัทฯ เพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้การผลิตพริกคุณภาพแบบปลอดภัยและถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร ซึ่ง สท. ได้เชื่อมโยง
“Smart Tambon Model” ยกระดับคุณภาพชีวิตท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
Smart Tambon Model หรือโครงการส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาชุมชนพื้นที่แบบองค์รวมในระดับตำบล เป็นอีกหนึ่งโครงการความร่วมมือที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ผลักดันให้เกิดเป็นต้นแบบการพัฒนาประเทศที่บูรณาการความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมพัฒนาที่ดิน และบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงจากระดับตำบลสู่วงกว้าง โดยมีวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นเครื่องมือช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านอาชีพ สุขภาพ การศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม สท. ได้เริ่มดำเนินงาน Smart Tambon Model ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2562 โดยลงพื้นที่ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน และเจ้าหน้าที่ของบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) เก็บข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพื่อจัดทำแผนดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีและสนับสนุนส่งเสริมความรู้ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่
นักการตลาดชุมชน…ที่มีคุณธรรม
“นักการตลาดชุมชน เป็นข้อต่อระหว่างชุมชนกับตลาด เราอยู่ตรงกลาง แต่เราไม่ใช่พ่อค้าคนกลาง เพราะเรามี ‘คุณธรรม’ ไม่ใช่แค่ซื้อของเขามาแล้วเอาไปขาย แต่ต้องคิดงานและทำงานร่วมกับชุมชน แล้วชุมชนจะเป็นคนบอกว่ามีคุณธรรมหรือไม่” คำนิยาม “นักการตลาดชุมชน” ที่อัจฉริยา ศิริโชติ ใช้เมื่อแนะนำ “อาชีพ” ของเธอ จากครูสอนบัญชีในโรงเรียนเอกชน ขยับเป็นผู้ประเมินสถานศึกษา และก้าวมาทำงานด้านเกษตรและชุมชนในโครงการเครือข่ายชาวนาวิถีเกษตรอินทรีย์ จากคำชักชวนของ ผศ.ธนศักดิ์ สุขสง อดีตผู้อำนวยการศูนย์สาธิตฝึกอาชีพเศรษฐกิจพอเพียง รุ่นพี่สมัยเรียนปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม นิด้า ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ “นักการตลาดชุมชน (ที่มีคุณธรรม)” ในปี 2560 “ตอนแรกชั่งใจว่าจะร่วมโครงการดีมั้ย เพราะตัวเองไม่ชอบการตลาด วิชาการขายการตลาดไม่เอาเลย เพราะคิดว่าต้องไปขาย ไม่ใช่ตัวเรา แต่อาจารย์ธนะศักดิ์ให้มองถึงชุมชน สิ่งที่ชุมชนมีปัญหาคือเรื่องการตลาด มีของในมือ แต่โดนกดขี่” อัจฉริยา
แปลง “ความรู้สึก” เป็น “ค่าตัวเลข” เพิ่มคุณภาพให้สวนทุเรียน
“เกษตรกรควรเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้และมีความอยากเรียนรู้” สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้ว และรองประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนบ้านวังจันทร์ ต.วังจันทร์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ให้มุมมองการทำเกษตรในยุคสมัยนี้ “คนทำสวนที่ทำตามพ่อแม่มา ถามว่าปีนี้คิดว่าจะได้ทุเรียนเท่าไหร่ ไม่รู้ จะออกดอกเมื่อไหร่ ไม่รู้ แต่ตัวผมทำสวนเป็นธุรกิจ ต้องคาดการณ์ว่าจะต้องได้เท่าไหร่” ด้วยบุคลิกที่เป็นนักทดลองและมองหาวิธีที่จะทำให้การทำสวนทุเรียนได้ทั้งคุณภาพและราคา สมบูรณ์และภรรยาตัดสินใจทำสวนทุเรียนนอกฤดูเมื่อเกือบสิบปีก่อน เพื่อหนีปัญหาผลผลิตทุเรียนในฤดูที่ล้นตลาดและราคาตก ท่ามกลางเสียงคัดค้านและคำสบประมาท เขาและภรรยาไม่ตอบโต้ แต่ลงมือทำให้เห็นจากพื้นที่ 24 ไร่ และเพิ่มเป็น 70 ไร่ในปัจจุบัน สร้างรายได้ถึงสิบล้านบาทต่อปี แม้ประสบความสำเร็จจากการทำสวนทุเรียนนอกฤดู แต่ สมบูรณ์ ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ยังคงเปิดโอกาสให้ตัวเองรับความรู้ใหม่ๆ มาทดลองและปรับใช้กับสวนทุเรียนของเขา ดังที่เขายินดีให้ใช้ต้นทุเรียน 30 ต้น บนพื้นที่ 2 ไร่
จุดเปลี่ยนชีวิต..จุดพลิกเกษตรกร
อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลติดชายแดนอันดับต้นๆ ของประเทศ หากเดินทางต่อตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1328 จะยิ่งเข้าใกล้แม่น้ำเหืองซึ่งคั่นพรมแดนระหว่างไทยและ สปปป.ลาว เป็นที่ตั้งของบ้านห้วยน้ำผักและบ้านบ่อเหมืองน้อยซึ่งกองทัพภาคที่ 2 ขอจัดตั้งหลังเสร็จศึกร่มเกล้าด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง พร้อมกับรับสมัครทหารกองหนุนเข้ามาอยู่หมู่บ้านละ 75 ครอบครัว จัดสรรที่ดินทำกินให้ครอบครัวละ 10 ไร่ และส่งเสริมให้ปลูกพืชตามแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เนื่องด้วยศักยภาพพื้นที่และภูมิอากาศเหมาะแก่การปลูกพืชเมืองหนาว “ในพื้นที่ 10 ไร่ไม่ได้ให้อิสระในช่วงเริ่มต้น แต่บังคับให้ปลูกพืชยืนต้น คือ แมคคาเดเมียคนละ 50 ต้น อะโวคาโด พลับ ท้อ และพืชที่นำพันธุ์มาแจกให้ ส่วนพืชระยะสั้นเป็นสตรอว์เบอร์รี่ เสาวรสคนละ 2 ไร่ เพราะเป็นพืชที่ได้ผลผลิตเร็ว คนปลูกจะได้เลี้ยงตัวเองได้เร็ว นอกนั้นจะปลูกข้าวโพดหรืออะไรอื่นก็ได้” กัลยณัฎฐ์
เรื่อง “ปุ๋ยๆ กับเศษผัก 30 ตัน”
ในแต่ละวันกะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี มะเขือเทศจากดอยสูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 60 ตัน ถูกจัดส่งเข้าโรงงานตัดแต่งผักของบริษัท คิงส์ วิช จำกัด สาขาแม่ฮ่องสอน และโรงงานตัดแต่งผักของคุณวิทยา หวานซึ้ง เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร ผักหัวแล้วหัวเล่าถูกตัดแต่งให้สวยงามก่อนเคลื่อนตามกันบนสายพาน ผ่านการชั่งน้ำหนักบรรจุลงถุง จัดเตรียมลงตะกร้าขึ้นรถห้องเย็น พร้อมเดินทางไกลกว่า 1,500 กิโลเมตรสู่ศูนย์กระจายสินค้าของห้างค้าปลีกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี … เมื่อของดีพร้อมส่งขาย แล้วของเสียอย่างเศษผักที่มีถึงวันละ 30 ตัน …เดินทางไปไหน “ทิ้ง” เป็นทางออกแรกที่ทั้งสองโรงงานจัดการกับเศษผักเหล่านี้ หลังจากที่ก่อตั้งโรงงานที่ ต.แม่เหาะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อปี 2558 พร้อมกับค่าจ้างขนทิ้งเดือนละ 65,000 บาท และได้รับ “เสียงร้องเรียนเรื่องแมลงวันและกลิ่น” เป็นผลตอบแทน
NPV ไวรัสกำจัดหนอนร้าย
“รู้ว่าใช้เคมีอันตราย แต่เห็นผลทันที” “อยากใช้ชีวภัณฑ์นะ แต่ออกฤทธิ์ช้า ไม่ทันการณ์” คำตอบที่มักคุ้น แม้จะรู้พิษภัยของการใช้สารเคมี แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ทำให้เกษตรกรจำนวนไม่น้อยไม่อาจตัดใจเลิกใช้สารเคมีนั้นได้ แต่ใช่ว่าเมื่อใช้สารเคมีแล้ว จะต้องเป็นทาสของสารเคมีตลอดไป ในวันที่สารเคมีไม่สามารถจัดการ “ศัตรูพืช” ได้อยู่ “สารชีวภัณฑ์” เป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม “ไวรัสเอ็นพีวี” เป็นหนึ่งในสารชีวภัณฑ์ที่ถูกพูดถึงน้อย แต่ประสิทธิภาพฉกาจนัก ที่สำคัญยังใช้ได้ทั้งเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์อีกด้วย รู้จัก “ไวรัสเอ็นพีวี” ไวรัสเอ็นพีวี (Nuclear Polyhedriosis Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค มีการทดสอบความปลอดภัยของไวรัสเอ็นพีวีและผลิตเป็นการค้าจำหน่ายทั่วโลก ไวรัสเอ็นพีวีมีความจำเพาะต่อหนอนแต่ละชนิดๆ โดยในประเทศไทยพบไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็น องุ่น
ชุดตรวจโรคพืชของคนไทย
บ่อยครั้งที่เครื่องมือหรือเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากต่างประเทศที่ว่าดีที่ว่าเยี่ยม แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศเราแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นดังที่หวัง เพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง เราจึงเห็นความพยายามของคนไทยที่พยายามพัฒนาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีความจำเพาะเจาะจงกับบริบทของบ้านเรา ดังเช่น “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” ผลงานวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยไทย ดร.อรประไพ คชนันทน์ หัวหน้าทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) บอกว่า ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชช่วยแยกหรือวินิจฉัยว่าพืชเป็นโรคอะไร เพื่อช่วยจัดการควบคุมโรคได้ บริษัทเมล็ดพันธุ์หรือหน่วยงานราชการที่ปรับปรุงพันธุ์พืช คัดเลือกพันธุ์ต้านทาน ต้องอาศัยชุดตรวจเพื่อช่วยตรวจเชื้อโรค ขณะเดียวกันการใช้ชุดตรวจมีความจำเป็นต่อการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นไม่มีเชื้อกักกัน ทีมวิจัยของดร.อรประไพ มีความเชี่ยวชาญผลิตวัตถุชีวภาพที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคนั้นๆ ทีมวิจัยจึงได้นำคุณลักษณะนี้มาพัฒนาเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคพืชให้มีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชในบ้านเรา “ชุดตรวจต่างประเทศจะผลิตสำหรับเชื้อในท้องถิ่นเขา บางชุดตรวจไม่สามารถใช้ตรวจเชื้อบ้านเราได้ ถ้าเราผลิตชุดตรวจโดยใช้เชื้อที่มีในบ้านเรา ก็ทำให้สามารถตรวจได้ครอบคลุมกว่า” ไม่เพียงความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชที่พบในบ้านเราที่ทำให้ตรวจเชื้อได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชของคนไทยนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าของต่างประเทศ 3-4 เท่า ปัจจุบันทีมวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชกว่า 10 ชุด ทั้งสำหรับตรวจเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก
“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง
เมื่อเอ่ยถึง “จุลินทรีย์” ภาพในความคิดของหลายคนเป็น “สิ่งมีชีวิตเล็กๆ” เล็กขนาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี้ เราจะนึกถึงอะไร ….. “จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ ในขณะที่ตัวดีนั้นสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น บางตัวย่อยสลายเซลลูโลสหรือสารอินทรีย์ได้” ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ช่วยขยายความเข้าใจต่อ “จุลินทรีย์” มากขึ้น เมื่อจุลินทรีย์มีหลากหลายกลุ่มและยังมีทั้งตัวดีและไม่ดี การจะนำจุลินทรีย์มาใช้งานจึงต้องคัดเลือกชนิดและคุณสมบัติที่ต้องการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่งานวิจัยของ ดร.ฐปน-ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวทช.