เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ผลผลิตที่ได้ราคา

เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ผลผลิตที่ได้ราคา

“เมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยหลักของเกษตรกร ถ้าขายแต่ข้าวให้โรงสี เกษตรกรอยู่ไม่รอด เพราะราคาอยู่ที่เขาจะกำหนด แต่เมล็ดพันธุ์เรากำหนดราคาได้ เป็นรายได้ที่เกษตรกรสามารถทำได้” ธนากรณ์ พาโคมทม  ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด วิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ บอกเล่าถึงการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร ชีวิตที่เติบโตมากับผืนนาข้าวในตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด หนึ่งในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่เป็นแหล่งปลูกพันธุ์ข้าวหอมมะลิเลื่องชื่อ ก่อนโยกย้ายไปทำงานมนุษย์เดือนและตัดสินใจคืนถิ่นมาช่วย ประสาน พาโคมทม ผู้เป็นแม่ ขับเคลื่อนการทำงานของวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐาน Organic Thailand เมื่อมองเห็นโอกาสสร้างรายได้จากเมล็ดพันธุ์ ธนากรณ์ จึงชักชวนสมาชิกวิสาหกิจฯ รวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยอบรมเติมความรู้จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ดและสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. จนสามารถยกระดับเป็นศูนย์ข้าวชุมชนวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ เป็นกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอปทุมรัตต์ และจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2564 เพื่อจำหน่ายข้าวอินทรีย์และเมล็ดพันธุ์ข้าวของกลุ่มฯ “สท./สวทช. และศูนย์ข้าวฯ เข้ามาให้ความรู้และผลักดันให้ผลิตเมล็ดพันธุ์

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงที่ร้อนแรง มัสสา โยริบุตร ในวัย 65 ปี ขี่มอเตอร์ไซค์นำทางลัดเลาะไปยังผืนนาที่แปรเปลี่ยนเป็นทุ่งปอเทืองและถั่วเขียวบนพื้นที่ 6 ไร่ เป็นพืชหลังนาที่ มัสสา เลือกปลูกเพื่อบำรุงดินก่อนปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่ “สมัยรุ่นพ่อแม่ ไม่มีปลูกพืชหลังนาหรอก ทำนาเสร็จ ก็ปล่อยแปลงว่างไว้ ไม่ทำอะไร” มัสสา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ย้อนภาพแปลงนาในวัยเยาว์ จวบจนถึงวัยที่เธอเดินตามรอยเส้นทางอาชีพของพ่อแม่ มัสสา มีโอกาสเข้าถึงการอบรมต่างๆ จากหน่วยงานราชการ ทำให้เธอได้รู้จักพืชหลังนา “ได้อบรมเป็นหมอดินอาสา ทำให้รู้จักพืชหลังนาอย่างปอเทือง ถั่วเขียวว่าเป็นปุ๋ยพืชสด มีไนโตรเจนสูง ไถกลบแล้วช่วยให้หน้าดินนุ่ม ร่วนซุย เมื่อปลูกข้าวรอบใหม่ก็ใช้ปุ๋ยน้อยลง” มัสสา มีพื้นที่นาทั้งหมด 53 ไร่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด

Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ สร้างมูลค่าทุเรียนจันท์

Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ สร้างมูลค่าทุเรียนจันท์

ถุงแดงบนต้นทุเรียนเป็นภาพที่พบเห็นในสวนทุเรียนหลายแห่งในช่วงหลายปีนี้ “ถุงแดง” หรือ “Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง” ผลงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เป็นเทคโนโลยีวัสดุเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คัดเลือกช่วงแสงช่วง 400-700 nm ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี ป้องกันแมลงศัตรูพืชและสัตว์ฟันแทะ (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า สัตว์กัดแทะ) ลดการใช้สารเคมีและเพิ่มคุณภาพผลผลิต สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมกับทีมวิจัยขยายผลการใช้ถุงแดงในพื้นที่ภาคตะวันออก ดังที่จังหวัดจันทบุรีซึ่งมีทั้งแปลงเรียนรู้ของหน่วยงานรัฐ แปลงทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและแปลงทุเรียนระบบเกษตรอินทรีย์ ‘ถุงแดง’ กับ ‘การใช้สารเคมี’ ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัดจันทบุรี ต.ท่าหลวง อ.มะขาม จ.จันทบุรี หรือที่มักคุ้นในชื่อ “สวนของพ่อ” เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตไม้ผล สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและยังเป็นสนามทดสอบการใช้ถุงแดงกับทุเรียนหมอนทองในช่วงปี พ.ศ.2564-2565 “ปัญหาของทุเรียนคือ เพลี้ยแป้ง ใช้สารเคมีฉีดพ่นทุกๆ 10-14

‘ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ’ ตัวช่วยของชาวสวนทุเรียน

‘ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ’ ตัวช่วยของชาวสวนทุเรียน

“เราดูตัวเลขความชื้นดินในระบบ ค่าตัวเลขเท่านี้ สภาพต้นทุเรียนได้ เราจะประคองการให้น้ำไว้ที่ค่าตัวเลขนี้ แต่ก่อนไม่เคยรู้ความชื้นในดินและไม่รู้ว่าทุเรียนแต่ละช่วงการเติบโตต้องการน้ำไม่เท่ากัน เราให้น้ำเท่ากันตลอด” อนุชา ติลลักษณ์ เจ้าของสวน ผช.เก่ง ต.บ้านแลง อ.เมือง จ.ระยอง เล่าถึงวิธีการให้น้ำสวนทุเรียนที่เปลี่ยนไปหลังจากได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบควบคุมการให้น้ำโดยใช้เซนเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศและความชื้นดิน (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ) อดีตช่างเครื่องยนต์เริ่มฝึกมือทำสวนทุเรียนอยู่กว่า 4 ปี ก่อนตัดสินใจปรับเปลี่ยนป่ายาง 10 ไร่ เป็นสวนทุเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ลงมือลงแรงทำสวนจริงจังจนได้ผลผลิตครั้งแรก 5 ตัน เมื่อปี พ.ศ. 2565 “อาศัยหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตและเรียนรู้จากคนอื่น เราต้องเป็นคนน้ำไม่เต็มแก้ว ถ้าน้ำเต็มแก้ว ก็ไม่มีคนคุยกับเรา ลองผิดลองถูกแล้วปรับให้เหมาะกับสวนเราเอง ต้องหาจุดตัวเองให้เจอ” หลังผลผลิตแรกผลิดอกออกผล สวน ผช.เก่ง

ลด ‘ต้นทุนทำสวนทุเรียน’ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ลด ‘ต้นทุนทำสวนทุเรียน’ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

“ต้นทุนทำสวนทุเรียนต้องอยู่ที่ 50 บาท/กก. การแข่งขันทุเรียนมากขึ้น ถ้าทำต้นทุนได้ต่ำเท่าไหร่ เราก็ยิ่งได้กำไร” สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้ว อ.วังจันทร์ จ.ระยอง และรองประธานกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนบ้านวังจันทร์ บอกถึงตัวเลขเป้าหมายต้นทุนทำสวนทุเรียนของเขา สมบูรณ์ เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำสวนทุเรียน ด้วยมองเห็นแนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของตลาดทุเรียน จะทำอย่างไรให้อาชีพชาวสวนที่เขาทำมาเกือบทั้งชีวิต ยังคงสร้างรายได้ให้เขาต่อไปได้ “ก่อนมาเจอ สวทช. ต้นทุนทำสวนทุเรียนของผมอยู่ที่ 70 บาท/กก. ผมต้องการลดต้นทุนลง เริ่มจากใช้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำของ สวทช. ช่วยลดค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าแรงได้ ต้นทุนเหลือ 60 บาท/กก. แต่ต้นทุนสวนยังมีเรื่องปุ๋ยอีก ก็ต้องการให้ต้นทุนอยู่ที่ 50 บาท/กก. ถ้าราคาทุเรียนตกมาที่ 60 บาท ผมก็ยังมีกำไร”

‘ปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกอง’ ตัวช่วยบำรุงดิน ผักงามสร้างรายได้

‘ปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกอง’ ตัวช่วยบำรุงดิน ผักงามสร้างรายได้

อยากกินผักปลอดภัยและมีรายได้เสริม เป็นคำตอบที่มักได้จากเกษตรกรที่หันมาปลูกผัก เช่นเดียวกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยบ้านป่าสีเสียด ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง จากที่เคยต่างคนต่างปลูก พวกเขารวมกลุ่มกันในปี พ.ศ. 2560 เพื่อเติมเต็มความรู้ปลูกผักเป็นรายได้เสริมจากทำสวนยางพาราและปลูกมันสำปะหลัง โดยมีพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านเป็นแปลงเรียนรู้ร่วมกัน “พอไปอบรมหาความรู้ที่โครงการศูนย์บริการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริจังหวัดระยองกันแล้ว เราก็อยากมาเรียนรู้และทำแปลงต้นแบบด้วยกัน ก็เลยขอใช้พื้นที่จาก อบต.” พะเยาว์ บัณฑิตธรรม ประธานกลุ่มฯ ย้อนถึงที่มาแปลงผักบนพื้นที่ 6 ไร่*  ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยบ้านป่าสีเสียด แหล่งเรียนรู้การปลูกผัก การผลิตปุ๋ยหมัก การป้องกันโรคพืชและแมลงศัตรูพืช เมื่อมีพื้นที่ได้ลองมือลองวิชา สมาชิกร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชผักระยะสั้นและผักใบ เช่น กวางตุ้ง คะน้า โหระพา มะกรูด มะนาว โดยเน้นปลูกเพื่อบริโภค เหลือจึงขาย “ช่วงแรกปลูกแล้วไม่ค่อยได้ผลผลิต เพราะดินไม่ดี เป็นดินถม เราก็ไปเรียนรู้แก้ปัญหาดินที่โครงการพระราชดำริฯ

ผลิต-ใช้ ‘ชีวภัณฑ์คุณภาพ’ ด้วยความรู้และใส่ใจ

ผลิต-ใช้ ‘ชีวภัณฑ์คุณภาพ’ ด้วยความรู้และใส่ใจ

“ผลิตเองดีกว่าในแง่ต้นทุนและมั่นใจที่มาของเชื้อ” วิฑูรย์ ปรางจโรจน์ เกษตรกรวัย 65 ปี ให้เหตุผลที่ผลิตเชื้อราบิวเวอเรียไว้ใช้เอง หลังได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชีวภัณฑ์จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. จนพัฒนาเป็นอีกหนึ่ง “จุดเรียนรู้ชุมชนการผลิตใช้ชีวภัณฑ์อย่างมีคุณภาพ” ของ สท. จากเคยเป็นเซลล์ขายอุปกรณ์การเกษตรคลุกคลีในแวดวงปุ๋ยเคมี สารเคมีและปัจจัยการผลิตต่างๆ ทำให้ วิฑูรย์ พอรู้จักชีวภัณฑ์อยู่บ้าง เมื่อตัดสินใจกลับมาทำเกษตรกับอุไรพร เบ็ญพาด ภรรยา ที่ ต.พังตรุ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เขาเลือกปลูกผักด้วยความชอบบริโภคผักเป็นทุนเดิมและต้องการมีผักปลอดภัยไว้กินเอง สภาพพื้นที่เปิดโล่ง ลมพัดถ่ายเทสะดวก วิฑูรย์ ปลูกผักบนโต๊ะในพื้นที่ 1 ไร่ เริ่มจากผักสลัดเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว  ด้วยเป็นของแปลกและละแวกนั้นไม่มีใครปลูกได้ เขาเริ่มต้นจากปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ แต่รสชาติไม่ได้ จึงเปลี่ยนมาปลูกลงดิน

สร้างอาชีพ สร้างธุรกิจจาก ‘ชันโรง’

สร้างอาชีพ สร้างธุรกิจจาก ‘ชันโรง’

“การทำสินค้าให้มีมาตรฐาน คือ การยกระดับผลิตภัณฑ์ของเราให้ดียิ่งขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค” สุรศักดิ์ พุกกะเปรมะ เจ้าของฟาร์มชันโรงสันป่าตองและสวนเกษตรผสมผสาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ บอกถึงเหตุผลที่เขาพัฒนาฟาร์มชันโรงให้ได้มาตรฐาน GAP* จนเป็นฟาร์มชันโรงแห่งแรกของภาคเหนือที่ได้มาตรฐานนี้ *ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ภายใต้โครงการการส่งเสริมกระบวนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรชุมชน เพื่อขับเคลื่อน BCG สาขาท่องเที่ยว ไม่เพียงเป็นฟาร์มชันโรงที่โดดเด่นด้วยการเลี้ยงชันโรงสายพันธุ์ท้องถิ่นในสวนเกษตรผสมผสาน มีต้นมะม่วงที่คัดสรรสายพันธุ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และยังอนุรักษ์สายพันธุ์ชันโรงบางสายพันธุ์ เช่น ชันโรงถ้วยดำ สายพันธุ์ทางเหนือ (Tetragonula testaceitarsis) ที่กำลังสูญหายจากไฟป่าและการตัดไม้ทำลายป่า ที่นี่จึงพร้อมเป็นแหล่งศึกษาวิจัยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากชันโรง แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ สุรศักดิ์ ต้องสั่งสมความรู้และประสบการณ์มาไม่น้อย สุรศักดิ์ เก็บหอมรอมริบจากสายงานบริการนักท่องเที่ยวและงานมัคคุเทศก์กว่า 20 ปี สะสมเป็นเงินทุนทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสานบนพื้นที่ 7.5 ไร่ ก่อนจะเพิ่มเป็น 9