‘ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ’ ตัวช่วยของชาวสวนทุเรียน

‘ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ’ ตัวช่วยของชาวสวนทุเรียน

“เราดูตัวเลขความชื้นดินในระบบ ค่าตัวเลขเท่านี้ สภาพต้นทุเรียนได้ เราจะประคองการให้น้ำไว้ที่ค่าตัวเลขนี้ แต่ก่อนไม่เคยรู้ความชื้นในดินและไม่รู้ว่าทุเรียนแต่ละช่วงการเติบโตต้องการน้ำไม่เท่ากัน เราให้น้ำเท่ากันตลอด” อนุชา ติลลักษณ์ เจ้าของสวน ผช.เก่ง ต.บ้านแลง อ.เมือง จ.ระยอง เล่าถึงวิธีการให้น้ำสวนทุเรียนที่เปลี่ยนไปหลังจากได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบควบคุมการให้น้ำโดยใช้เซนเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศและความชื้นดิน (ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ) อดีตช่างเครื่องยนต์เริ่มฝึกมือทำสวนทุเรียนอยู่กว่า 4 ปี ก่อนตัดสินใจปรับเปลี่ยนป่ายาง 10 ไร่ เป็นสวนทุเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ลงมือลงแรงทำสวนจริงจังจนได้ผลผลิตครั้งแรก 5 ตัน เมื่อปี พ.ศ. 2565 “อาศัยหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตและเรียนรู้จากคนอื่น เราต้องเป็นคนน้ำไม่เต็มแก้ว ถ้าน้ำเต็มแก้ว ก็ไม่มีคนคุยกับเรา ลองผิดลองถูกแล้วปรับให้เหมาะกับสวนเราเอง ต้องหาจุดตัวเองให้เจอ” หลังผลผลิตแรกผลิดอกออกผล สวน ผช.เก่ง

‘โรงเรือนปลูกพืช’ ตัวช่วย ‘ปลูกผักให้ได้ขาย’ สร้างอำนาจต่อรองตลาดด้วยข้อมูล

‘โรงเรือนปลูกพืช’ ตัวช่วย ‘ปลูกผักให้ได้ขาย’ สร้างอำนาจต่อรองตลาดด้วยข้อมูล

“การมีโรงเรือนเป็นการลงทุน ทำให้เราปลูกผักสลัดได้ ถ้าเราไม่มีจะหนักกว่า คำว่าปลูกได้ คือ ปลูกได้ขาย” ทวี ขาวเรือง ประธานวิสาหกิจชุมชนสวนบุญประสิทธิ์เกษตรเพื่อสุขภาพ ต.ท่าซอม อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช บอกถึงความจำเป็นที่ต้องใช้โรงเรือนปลูกผักจากสภาพอากาศฝนแปดแดดสี่ในภาคใต้และตำบลท่าซอมที่อยู่ใกล้ทะเล ในช่วงหน้ามรสุมจึงประสบปัญหาน้ำท่วมขัง และหากมีน้ำทะเลหนุน ชาวบ้านต้องรับสภาพน้ำท่วมเป็นแรมเดือน ขณะที่ช่วงหน้าแล้งขาดแคลนน้ำ ด้วยเป็นตำบลที่อยู่ปลายทางของคลองราชดำริ ส่งผลต่อการทำนา ปลูกผักและสวนผสมผสาน ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่ “บ้านเรามีปัญหาน้ำท่วม ดินเค็ม โรคพืช ราคาผลผลิตที่คนปลูกไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ ก็คิดว่าทำแบบนี้ยิ่งทำยิ่งจน ถ้าทำในรูปแบบกลุ่มจะมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น” อาศัยที่มีบทบาทหลายอย่างทั้งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยไปรษณีย์และเก็บค่าน้ำในพื้นที่ ทำให้ ทวี รับรู้ถึงปัญหาและคิดหาทางออก เขาได้รู้จัก สำราญ ใหม่ยิ้ม และเกรียงไกร ถมแก้ว หรือ หลวงไก่ ซึ่งปลูกผักบริโภคและขายในชุมชน

มีอาชีพ มีรายได้ที่บ้านเกิด ด้วย ‘เกษตรอินทรีย์วิถีสะเมิง’

มีอาชีพ มีรายได้ที่บ้านเกิด ด้วย ‘เกษตรอินทรีย์วิถีสะเมิง’

“ในระยาวเกษตรอินทรีย์ไม่ใช่แค่ปลูกผักผลไม้ แต่ต่อยอดไปเรื่องท่องเที่ยวได้” มุมมองของ นที มูลแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนสะเมิงออร์แกนิค อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จากประสบการณ์ที่ได้ขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์ในอำเภอสะเมิงมากว่า 5 ปี ซึ่งอำเภอสะเมิงเป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวเชียงใหม่ “Winter of CNX เมียงมองลอง (แอ่ว) เชียงใหม่ในมุมใหม่” ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวทช. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ และผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมในเชียงใหม่* *กิจกรรมภายใต้โครงการการส่งเสริมกระบวนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรชุมชน เพื่อขับเคลื่อน BCG สาขาท่องเที่ยว แม้เส้นทางอาชีพจะเป็นสายงานวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ด้วยความชอบด้านเกษตร นที ศึกษาเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ควบคู่ไปด้วย จนมาลงหลักปักฐานที่บ้านภรรยาในอำเภอสะเมิง  “กลุ่มเรารวมตัวจากที่นายทุนเข้ามาซื้อที่มากขึ้น คนทำเกษตรลดน้อยลง พวกเราที่เป็นคนรุ่นใหม่เห็นว่าเราต้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่แทนที่จะขายให้นายทุน ก็มองกันที่การทำเกษตรอินทรีย์ เพราะรู้อยู่แล้วเกษตรเคมีไม่ดีต่อทั้งคนปลูกและคนกิน เริ่มหาเครือข่ายคนทำเกษตรอินทรีย์ จากที่ต่างคนต่างทำเกษตรก็มาทำงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายให้คนทำเกษตรอยู่ในพื้นที่ได้ด้วยเกษตรอินทรีย์” วิสาหกิจชุมชนสะเมิงออร์แกนิค

คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน

คิดอย่างสมาร์ท ใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มศักยภาพสวนทุเรียน

พื้นที่ EEC หรือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ครอบคลุม 3 จังหวัดสำคัญของภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เป็นหมุดหมายการพัฒนาประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ “ระบบฟาร์มรักษ์น้ำ: เทคโนโลยีการให้น้ำอัจฉริยะสำหรับควบคุมการให้น้ำในแปลงเกษตร” เป็นหนึ่งในสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดระยองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 โดยมีสวนทุเรียนที่ได้ติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว 33 แห่ง (ข้อมูลปี พ.ศ.2565) แม้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำฯ เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทำสวนทุเรียน แต่มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่พร้อมเปิดรับและปรับตัวกับการใช้เทคโนโลยี ด้วยมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงคุณภาพของผลผลิต หากยังรวมถึงต้นทุนการผลิตของสวนด้วย อย่างไรก็ตามแม้เกษตรกรพร้อมเรียนรู้และใช้เทคโนโลยี แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้และความพร้อมของพื้นที่ที่จะรองรับการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการวางระบบน้ำ ซึ่งเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สำคัญของสวน

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

ASI ผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ ฟันเฟืองสู่เกษตร 4.0

“เทคโนโลยีและนวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ได้รับการส่งเสริมอย่างมากในภาคการเกษตร เพื่อให้เกิดการทำเกษตรในรูปแบบ “สมาร์ทฟาร์มมิ่ง” (smart farming) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต และนำไปสู่การทำเกษตรที่ “ทำน้อย แต่ได้มาก” สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือยกระดับการผลิตและคุณภาพชีวิตเกษตรกร ไม่เพียงการถ่ายทอดความรู้และขยายผลเทคโนโลยีสู่เกษตรกรโดยตรง สท. ยังได้ใช้กลไกการสร้างผู้ประกอบการบริการระบบงานเกษตรอัจฉริยะ หรือ ASI (Agriculture System Integrator: ASI) เป็นอีกช่องทางสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านการให้บริการจากผู้ประกอบที่ได้รับการยกระดับความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้บ่มเพาะผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. และพร้อมเป็นผู้ให้บริการเกษตรกร ซึ่งทำให้เกิดการขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะของ สวทช. สู่การใช้งานจริงได้มากขึ้น

ไวมาก (WiMaRC) ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT

ไวมาก (WiMaRC) ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT

“ไวมาก” (Wireless sensor network for Management and Remote Control: WiMaRC) คือ ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายเพื่อการจัดการและควบคุมอัตโนมัติ แสดงผลแบบเรียลไทม์ (real time) ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน (web application) โดยเก็บข้อมูลและรูปภาพผ่าน IoT Cloud Platform เพื่อติดตาม วิเคราะห์และบริหารจัดการในรูปแบบดิจิทัล รองรับเซนเซอร์หลากหลายรูปแบบ สื่อความรู้ > (ใบปลิว) “ไวมาก” ระบบตรวจวัดสภาวะแวดล้อมด้วยเทคโนโลยี IoT (ข้อมูลปี 2021)> (โปสเตอร์) WiMaRC (ไวมาร์ค) ระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายและควบคุมอัตโนมัติ (ข้อมูลปี 2019) > (โปสเตอร์)

โรงเรือนปลูกพืชผักต้นทุนต่ำ “จะณะแบ่งสุข”

โรงเรือนปลูกพืชผักต้นทุนต่ำ “จะณะแบ่งสุข”

ดาวน์โหลดเอกสาร โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ “จะณะแบ่งสุข” ดาวน์โหลดเอกสาร โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำ