ทำเกษตรให้แม่นยำ … “สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” ช่วยได้

ทำเกษตรให้แม่นยำ … “สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” ช่วยได้

“ตอนเช้าถ้ามีน้ำค้างที่ยอดหญ้า แสดงว่าความชื้นสูง แต่ถ้ายอดหญ้าแห้ง ความชื้นต่ำ แมลงปอบินต่ำ ฝนจะตกหนัก หรือลมโยกๆ ต้นไม้โศก เตรียมให้น้ำได้…”  ปรากฏการณ์ของธรรมชาติที่ชาวสวนผลไม้มักใช้ควบคู่กับข้อมูลพยากรณ์อากาศของหน่วยงานภาครัฐเพื่อบริหารจัดการแปลงของตนเอง แต่สิ่งเหล่านี้อาจไม่เพียงพอสำหรับการทำสวนของเกษตรกรรุ่นใหม่ ดวงพร เวชสิทธิ์, ธรรมรัตน์ จันทร์ดี, กิตติภัค ศรีราม และณฐรดา พิศาลธนกุล สมาชิก Young Smart Farmer จังหวัดจันทบุรี กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำสวนผลไม้ โดยพวกเขาเริ่มใช้เทคโนโลยีสถานีตรวจวัดอากาศ (weather station) เมื่อปี 2561 “รุ่นพ่อแม่สังเกตจากธรรมชาติ ดูใบ ดูลม ใช้ความรู้สึกวัด สังเกตและจด แต่ไม่มีข้อมูลหรือสถิติที่จับต้องได้ ถ้าเรามีข้อมูลแล้วมาจับคู่กับภูมิความรู้ของพ่อแม่ จะได้องค์ความรู้ที่ชัด แล้วเราเอามาบริหารจัดการพื้นที่ของเราได้” ธรรมรัตน์ อดีตพนักงานบริษัทที่กลับมาทำสวนผลไม้ผสมผสานในพื้นที่ 14 ไร่ สะท้อนถึงสิ่งที่จะได้จากการใช้ข้อมูลที่แม่นยำ

“สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” เครื่องมือช่วยทำเกษตร

“สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ” เครื่องมือช่วยทำเกษตร

การปลูกพืชให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพประกอบด้วยหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นคือ สภาพอากาศ ที่หมายรวมถึงอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน หรือแม้แต่แรงลม ซึ่งเกษตรกรอาศัยข้อมูลพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อบริหารจัดการการเพาะปลูก แต่ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและแปรปรวนยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ข้อมูลสภาพอากาศที่ใช้อาจไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของเกษตรกร นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) เป็นเทคโนโลยีระบบตรวจวัดด้วยเซนเซอร์แบบเครือข่ายไร้สายและควบคุมอัตโนมัติ เพื่อเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศและการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณน้ำฝน ปริมาณแสงแดด ความเร็วลม อุณหภูมิ/ความชื้นอากาศ และความชื้นดิน ซึ่งการเก็บข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ 10 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่โล่ง) เพิ่มความแม่นยำของสภาพอากาศในพื้นที่ เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศช่วยตัดสินใจบริหารจัดการการเพาะปลูกในพื้นที่ตนเองได้ คุณปุ้ย-ดวงพร เวชสิทธิ์ รองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมังคุดแปลงใหญ่เขาคิฌชกูฏ อ.เขาคิฌชกูฏ จ.จันทบุรี เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เปิดรับเทคโนโลยีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศที่สวนมังคุดของตนเอง  เพื่อทดสอบ สังเคราะห์และปรับแต่งเทคโนโลยีดังกล่าวให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง “อากาศ” กับ “การทำสวนผลไม้” มังคุดเป็นพืชที่อาศัยจังหวะอากาศในการออกดอกมากถึง

สวทช.-ม.แม่โจ้ ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

สวทช.-ม.แม่โจ้ ร่วมพัฒนาแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

สวทช. ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในโครงการ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรและเกษตรอัจฉริยะ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน” โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. และผศ.พาวิน มะโนชัย รักษาการแทนรองอธิการบดี ม.แม่โจ้ ร่วมลงนามภายในงาน สวทช.-วิทย์สัญจร จ.เชียงใหม่ ประจำปี 2563 เพื่อร่วมพัฒนาองค์ความรู้ หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และความร่วมมือวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตของภาคการเกษตรไทย พร้อมกันนี้คณะผู้บริหาร สวทช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ม.แม่โจ้ สัมผัสตัวอย่างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่แปลงวิจัยลำไย ทดสอบการใช้เทคโนโลยีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศเพื่อการเกษตร และระบบการให้น้ำอัตโนมัติสำหรับพืชไร่และพืชสวน ผ่าน Smart IoT รวมถึงเยี่ยมชมแปลงทดสอบผลิตมะเขือเทศสายพันธุ์ใหม่ของ สวทช.

สมาร์ทเทคโนโลยี

สมาร์ทเทคโนโลยี

“เกษตรแม่นยำ (Precision agriculture)” เป็นหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีเป้าหมายการทำงานของ สวทช. ที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศที่มีรายได้สูง โรงเรือนอัจฉริยะ ระบบการให้น้ำอัตโนมัติสำหรับพืชไร่และพืชสวน และระบบเซนเซอร์ไร้สายสำหรับการติดตามสภาวะแวดล้อมในฟาร์มเพื่อการควบคุมและบริหารจัดการ เป็นสมาร์ทเทคโนโลยี (smart technology) ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ถ่ายทอดความรู้และการใช้งานให้กับเกษตรกรไทย โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ได้เข้าถึงความรู้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการใช้งานและสภาพความพร้อมในแต่ละพื้นที่ เน้นแนวคิดการใช้สมาร์ทเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต บริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้การใช้สมาร์ทเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรรายอื่น เกิดการสร้างเครือข่ายและขยายผลการใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เป็นการขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมในภาคการเกษตรสอดคล้องวิสัยทัศน์ประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0” บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ Aqua-IoT ตัวช่วยฟาร์มกุ้ง เลี้ยงรอด ได้คุณภาพ ลดต้นทุน ระบบให้น้ำอัจฉริยะสำหรับพืชแปลงเปิด ยกระดับสวนทุเรียนไทย ปลูก ‘มะยงชิดคุณภาพ’

สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

สวนปันบุญ…ปันสิ่งดีๆ เพื่อทุกคน

“เริ่มแรกเลยเราทำนาอินทรีย์ซึ่งทำยาก คนเฒ่าคนแก่หลายคนก็ท้อ ได้แต่บอกว่าให้ทำต่อ อดทน ทำนาอินทรีย์มันยากแต่เราได้บุญ ทำผักอินทรีย์ ผักที่ไม่มียา มันก็ได้บุญ” คือที่มาที่ไปของชื่อ “สวนปันบุญ” แห่งบ้านดอนแคน ต.ฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ แหล่งผลิตข้าวและผักอินทรีย์ซึ่งคนปลูกเชื่อมั่นว่าคือสิ่งดีๆ ที่อยากแบ่งปันนับตั้งแต่ก้าวแรกของการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญตั้งแต่ปลายปี 2555 ก่อนหน้านี้ชาวบ้านคุ้นชินกับการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า และสารกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาจนล้มป่วยด้วยโรคผิวหนัง สะเก็ดเงิน และโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ความดัน และมะเร็งซึ่งคร่าชีวิตคนในหมู่บ้านไปทีละน้อย กลายเป็นคำถามที่ สุจารี ธนสิริธนากร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันบุญ ต้องการหาทางออกเพื่อเป็นทางเลือกทางรอดให้ชาวบ้านนับตั้งแต่ตัดสินใจลาออกจากการทำงานในกรุงเทพฯ เธอลงมือค้นหาคำตอบผ่านการทำงานวิจัยไทบ้านร่วมกับคู่ชีวิตและชาวบ้านที่สนใจ คำตอบที่ได้ในวันนั้น คือ การกลับมาทำนาแบบโบราณ หรือ การทำเกษตรอินทรีย์ เลิกการใช้สารเคมีโดยสิ้นเชิง แม้ทุกคนจะรู้ว่าดี แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรม สุจารี ยอมสละที่นาตัวเองให้เพื่อนสมาชิกทดลองปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี

ใช้เป็น ใช้จริง ใช้ “โรงเรือนพลาสติกปลูกพืช” อย่างมีความรู้

โรงเรือนพลาสติกสำหรับการผลิตพืชผักคุณภาพ

“โรงเรือนปลูกพืช” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการเกษตรที่เกษตรกรให้ความสนใจมากขึ้น ด้วยตอบโจทย์ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาล ซึ่งรูปแบบโรงเรือนปลูกพืชมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดพืชและเงินทุนของเกษตรกร วิรัตน์  โปร่งจิต ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักสดและผลไม้แปรรูปบ้านหนองทราย อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา หนึ่งในเกษตรกรที่เห็นความสำคัญของการใช้โรงเรือนปลูกพืช ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกกว่า 3 ไร่ของเขา ติดตั้งโรงเรือนปลูกพืช 5 หลัง โดยเป็น “โรงเรือนพลาสติกเพื่อการผลิตพืชผักคุณภาพ” ของ สวทช. ถึง 4 หลัง สร้างรายได้จากการปลูกผักต่อเดือน 30,000-40,000 บาท/เดือน จากเดิมที่ได้ไม่ถึง 20,000 บาท/เดือน “แต่ก่อนไม่มีโรงเรือน ปลูกผักหน้าฝนไม่ค่อยได้ผลผลิต อย่างผักบุ้งเจอโรคราสนิม แต่พอปลูกในโรงเรือน ไม่เจอปัญหาและยังได้ราคาดีด้วย” โรงเรือนปลูกพืชหลังแรกของวิรัตน์เป็นโรงเรือนทรงหลังคาฟันเลื่อย หรือที่เรียกว่า หลังคา ก.ไก่ ซึ่งได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่น