‘6 ข้าวสายพันธุ์ใหม่’ ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

‘6 ข้าวสายพันธุ์ใหม่’ ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตข้าวในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวสายพันธุ์ใหม่ จำนวน 6 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มข้าว ดังนี้ 1) กลุ่มพันธุ์ข้าวหอมนุ่มพรีเมี่ยม ได้แก่ สายพันธุ์หอมสยาม 2 ปรับปรุงฐานพันธุกรรมขาวดอกมะลิ 105 (ผลผลิตสูง) 2) กลุ่มพันธุ์ข้าวสีโภชนาการสูง ได้แก่ สายพันธุ์แดงจรูญ นิลละมุน ไรซ์เบอร์รี่ 2 3) กลุ่มพันธุ์ข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมข้าวเม่า ได้แก่ สายพันธุ์ธัญสิรินต้นเตี้ย ข้าวเหนียวดำ 

เพราะอยาก (เรียน) รู้ จึงมาหา ‘ความรู้’

เพราะอยาก (เรียน) รู้ จึงมาหา ‘ความรู้’

เลอทีชา เมืองมีศรี และ ปิยพร เศรษฐศิริไพบูลย์ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) …โลกของการทำเกษตรอินทรีย์มีเรื่องให้เรียนรู้ไม่จบสิ้น เมื่อได้ออกเดินทางครั้งแรก ย่อมมีครั้งที่สอง … การเดินทางไกลครั้งที่สองของตัวแทนสมาชิกเครือข่ายผู้ผลิตผักอินทรีย์จังหวัดสงขลา ได้เริ่มต้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 2-6 มีนาคม 2568 หลังจากเมื่อปลายปี 2566 พวกเขาได้เดินทางไปเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (คลิกอ่าน “จากสงขลาสู่เชียงใหม่ เรียนให้รู้ ดูให้เห็น ทำให้เป็น” ) ทริปหาความรู้ครั้งนี้ มีหมุดหมายที่ “วิสาหกิจชุมชนปันบุญ” “วิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดภัยฆ้องชัยพัฒนา” อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ และ “คลีนฟาร์ม” ต.หนองหัวโพ อ.หนองแซง จ.สระบุรี “อยากเรียนรู้พร้อมลงมือปฏิบัติ ตั้งแต่ผสมปุ๋ยหมัก วิธีปลูก ดูแลรักษา

การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว

การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว

ดาวน์โหลด เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ “เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว” ดาวน์โหลด การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ดาวน์โหลด การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว

เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ผลผลิตที่ได้ราคา

เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ผลผลิตที่ได้ราคา

“เมล็ดพันธุ์เป็นปัจจัยหลักของเกษตรกร ถ้าขายแต่ข้าวให้โรงสี เกษตรกรอยู่ไม่รอด เพราะราคาอยู่ที่เขาจะกำหนด แต่เมล็ดพันธุ์เรากำหนดราคาได้ เป็นรายได้ที่เกษตรกรสามารถทำได้” ธนากรณ์ พาโคมทม  ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด วิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ บอกเล่าถึงการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร ชีวิตที่เติบโตมากับผืนนาข้าวในตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด หนึ่งในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่เป็นแหล่งปลูกพันธุ์ข้าวหอมมะลิเลื่องชื่อ ก่อนโยกย้ายไปทำงานมนุษย์เดือนและตัดสินใจคืนถิ่นมาช่วย ประสาน พาโคมทม ผู้เป็นแม่ ขับเคลื่อนการทำงานของวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐาน Organic Thailand เมื่อมองเห็นโอกาสสร้างรายได้จากเมล็ดพันธุ์ ธนากรณ์ จึงชักชวนสมาชิกวิสาหกิจฯ รวมกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยอบรมเติมความรู้จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ดและสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. จนสามารถยกระดับเป็นศูนย์ข้าวชุมชนวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงบ้านจานใต้ เป็นกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอปทุมรัตต์ และจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2564 เพื่อจำหน่ายข้าวอินทรีย์และเมล็ดพันธุ์ข้าวของกลุ่มฯ “สท./สวทช. และศูนย์ข้าวฯ เข้ามาให้ความรู้และผลักดันให้ผลิตเมล็ดพันธุ์

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงที่ร้อนแรง มัสสา โยริบุตร ในวัย 65 ปี ขี่มอเตอร์ไซค์นำทางลัดเลาะไปยังผืนนาที่แปรเปลี่ยนเป็นทุ่งปอเทืองและถั่วเขียวบนพื้นที่ 6 ไร่ เป็นพืชหลังนาที่ มัสสา เลือกปลูกเพื่อบำรุงดินก่อนปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่ “สมัยรุ่นพ่อแม่ ไม่มีปลูกพืชหลังนาหรอก ทำนาเสร็จ ก็ปล่อยแปลงว่างไว้ ไม่ทำอะไร” มัสสา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ย้อนภาพแปลงนาในวัยเยาว์ จวบจนถึงวัยที่เธอเดินตามรอยเส้นทางอาชีพของพ่อแม่ มัสสา มีโอกาสเข้าถึงการอบรมต่างๆ จากหน่วยงานราชการ ทำให้เธอได้รู้จักพืชหลังนา “ได้อบรมเป็นหมอดินอาสา ทำให้รู้จักพืชหลังนาอย่างปอเทือง ถั่วเขียวว่าเป็นปุ๋ยพืชสด มีไนโตรเจนสูง ไถกลบแล้วช่วยให้หน้าดินนุ่ม ร่วนซุย เมื่อปลูกข้าวรอบใหม่ก็ใช้ปุ๋ยน้อยลง” มัสสา มีพื้นที่นาทั้งหมด 53 ไร่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด

Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ สร้างมูลค่าทุเรียนจันท์

Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ สร้างมูลค่าทุเรียนจันท์

ถุงแดงบนต้นทุเรียนเป็นภาพที่พบเห็นในสวนทุเรียนหลายแห่งในช่วงหลายปีนี้ “ถุงแดง” หรือ “Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง” ผลงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เป็นเทคโนโลยีวัสดุเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คัดเลือกช่วงแสงช่วง 400-700 nm ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี ป้องกันแมลงศัตรูพืชและสัตว์ฟันแทะ (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า สัตว์กัดแทะ) ลดการใช้สารเคมีและเพิ่มคุณภาพผลผลิต สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมกับทีมวิจัยขยายผลการใช้ถุงแดงในพื้นที่ภาคตะวันออก ดังที่จังหวัดจันทบุรีซึ่งมีทั้งแปลงเรียนรู้ของหน่วยงานรัฐ แปลงทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและแปลงทุเรียนระบบเกษตรอินทรีย์ ‘ถุงแดง’ กับ ‘การใช้สารเคมี’ ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัดจันทบุรี ต.ท่าหลวง อ.มะขาม จ.จันทบุรี หรือที่มักคุ้นในชื่อ “สวนของพ่อ” เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตไม้ผล สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและยังเป็นสนามทดสอบการใช้ถุงแดงกับทุเรียนหมอนทองในช่วงปี พ.ศ.2564-2565 “ปัญหาของทุเรียนคือ เพลี้ยแป้ง ใช้สารเคมีฉีดพ่นทุกๆ 10-14

ลด ‘ต้นทุนทำสวนทุเรียน’ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ลด ‘ต้นทุนทำสวนทุเรียน’ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

“ต้นทุนทำสวนทุเรียนต้องอยู่ที่ 50 บาท/กก. การแข่งขันทุเรียนมากขึ้น ถ้าทำต้นทุนได้ต่ำเท่าไหร่ เราก็ยิ่งได้กำไร” สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้ว อ.วังจันทร์ จ.ระยอง และรองประธานกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนบ้านวังจันทร์ บอกถึงตัวเลขเป้าหมายต้นทุนทำสวนทุเรียนของเขา สมบูรณ์ เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำสวนทุเรียน ด้วยมองเห็นแนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของตลาดทุเรียน จะทำอย่างไรให้อาชีพชาวสวนที่เขาทำมาเกือบทั้งชีวิต ยังคงสร้างรายได้ให้เขาต่อไปได้ “ก่อนมาเจอ สวทช. ต้นทุนทำสวนทุเรียนของผมอยู่ที่ 70 บาท/กก. ผมต้องการลดต้นทุนลง เริ่มจากใช้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำของ สวทช. ช่วยลดค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าแรงได้ ต้นทุนเหลือ 60 บาท/กก. แต่ต้นทุนสวนยังมีเรื่องปุ๋ยอีก ก็ต้องการให้ต้นทุนอยู่ที่ 50 บาท/กก. ถ้าราคาทุเรียนตกมาที่ 60 บาท ผมก็ยังมีกำไร”