ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้มันสำปะหลังอินทรีย์

ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้มันสำปะหลังอินทรีย์

“ภูมิใจที่เราได้ทำของปลอดภัยให้คนอื่นกิน และยังเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออก ได้ช่วยคนต่างประเทศให้มีสุขภาพที่แข็งแรง” ความรู้สึกของ หลุยส์ ธรรมเที่ยง เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์บ้านผาชัน ต.สำโรง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี ไม่ต่างจาก รังสรรค์ อยู่สุข เกษตรกรบ้านคำฮี ต.นาคาย อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี “ดีใจและภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ปลอดภัยที่เริ่มต้นจากเกษตรกร” หลุยส์ และ รังสรรค์ เป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในระบบอินทรีย์ด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE นำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพ โดยดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษและอำนาจเจริญ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดินด้วยเทคโนโลยี Smart NPK

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

โครงการ “อุบลโมเดล” คือจุดเริ่มการทำงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต.กู่จ่าน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร จำนวน 60 คน พื้นที่ปลูกรวม 354 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 1.3 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน/ไร่ จากเดิม 3 ตัน/ไร่ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ด้วยราคารับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2565

ให้ “เทคโนโลยี” ดูแล “มันสำปะหลัง”

ให้ “เทคโนโลยี” ดูแล “มันสำปะหลัง”

ท่ามกลางแสงแดดแรงกล้า ไอร้อนระอุแผ่ซ่านไปทุกตารางนิ้วในพื้นที่ต.วังชะพลู สองข้างทางถนนลูกรังละลานตาด้วยแปลง “มันสำปะหลัง” พืชที่ว่ากันว่าปลูกแล้วให้เทวดาดูแล ยืนต้นชูใบมิเกรงกลัวความร้อน รอเวลาที่ชาวบ้านจะเก็บผลผลิตสร้างรายได้หลักให้พวกเขา แม้ต้องการหาทางเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่ได้เพียง 2-3 ตันต่อปี ลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่สูงขึ้น แต่ประสบการณ์จากภาครัฐ ทำให้ ศรีโพธิ์ ขยันการนาวี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.วังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร ลังเลทุกครั้งเมื่อมีโครงการใดเข้ามาในพื้นที่ “ที่ผ่านมาเบื่อนักวิชาการ มาแล้วก็หายไป ขออย่างเดียว อย่าทิ้งเกษตรกร ถ้าไม่ทิ้ง เกษตรกรเขาสนใจอยู่แล้ว” ข้อความที่ ศรีโพธิ์ บอกต่อทีมผู้เชี่ยวชาญโครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง” หลังจากที่เข้าตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้ในปี 2557 เมื่อได้ไปเห็นแปลงมันสำปะหลังที่นครราชสีมาที่ได้เข้าร่วมโครงการ “ปลูกมันก็รู้แบบงูๆ ปลาๆ สายพันธุ์ไหนใครว่าดี ก็ปลูกตามกัน สูตรปุ๋ยนึกอยากใส่แค่ไหนก็ใส่ ปลูกก็ปลูกถี่ๆ

มันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง

“มันสำปะหลัง” พืชหัวที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่สำคัญรองจากข้าวและข้าวโพด ปลูกง่ายในพื้นที่เขตร้อนและร้อนชื้น ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังกว่า 8 ล้านไร่ เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ สร้างรายได้ปีละหลายแสนล้านบาท ไทยเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังรายใหญ่ของโลกและเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน สวทช. ร่วมกับเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี โปรแกรมมันสำปะหลัง (พ.ศ.2560-2564) เพื่อแก้ไขปัญหาด้านมันสําปะหลังของประเทศตลอดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่ม 6 กรอบวิจัย ได้แก่ การประเมินเชื้อพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์มันสําปะหลัง การเขตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตมันสําปะหลัง การเตือนการณ์ การป้องกัน กําจัดโรคและแมลงศัตรูมันสําปะหลังรวมทั้งวัชพืชมันสําปะหลัง การวิจัยและพัฒนา เครื่องจักรกลการเกษตรสําหรับมันสําปะหลัง การปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตมันสําปะหลัง แป้งดัดแปร และผลิตภัณฑ์ใหม่จากมันสําปะหลัง และการศึกษานโยบาย การตลาด และสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ อย่างเป็นระบบ และสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูง เพิ่มรายได้และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่เกษตรกร ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น สท./สวทช.