ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ถั่วเขียว KUML พืชหลังนาที่มากกว่าบำรุงดิน (ทุ่งกุลา)

ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงที่ร้อนแรง มัสสา โยริบุตร ในวัย 65 ปี ขี่มอเตอร์ไซค์นำทางลัดเลาะไปยังผืนนาที่แปรเปลี่ยนเป็นทุ่งปอเทืองและถั่วเขียวบนพื้นที่ 6 ไร่ เป็นพืชหลังนาที่ มัสสา เลือกปลูกเพื่อบำรุงดินก่อนปลูกข้าวในฤดูกาลใหม่ “สมัยรุ่นพ่อแม่ ไม่มีปลูกพืชหลังนาหรอก ทำนาเสร็จ ก็ปล่อยแปลงว่างไว้ ไม่ทำอะไร” มัสสา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ย้อนภาพแปลงนาในวัยเยาว์ จวบจนถึงวัยที่เธอเดินตามรอยเส้นทางอาชีพของพ่อแม่ มัสสา มีโอกาสเข้าถึงการอบรมต่างๆ จากหน่วยงานราชการ ทำให้เธอได้รู้จักพืชหลังนา “ได้อบรมเป็นหมอดินอาสา ทำให้รู้จักพืชหลังนาอย่างปอเทือง ถั่วเขียวว่าเป็นปุ๋ยพืชสด มีไนโตรเจนสูง ไถกลบแล้วช่วยให้หน้าดินนุ่ม ร่วนซุย เมื่อปลูกข้าวรอบใหม่ก็ใช้ปุ๋ยน้อยลง” มัสสา มีพื้นที่นาทั้งหมด 53 ไร่ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิส่งจำหน่ายให้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด

แบบแผนการจัดการศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสานของถั่วฝักยาว (Standard Operating Procedure: SOP) ภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG แบบบูรณาการเชิงพื้นที่ในจังหวัดราชบุรี”

เก็บเกี่ยว ‘หอมแขก’

เก็บเกี่ยว ‘หอมแขก’

อายุเก็บเกี่ยวหอมแขกประมาณ 90-110 วัน (นับจากย้ายปลูก) และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตที่จะส่งจำหน่าย เมื่อหอมแขกอายุ 80-85 วัน คอจะเริ่มพับ ให้เกษตรกรสังเกต หากในแปลงพบว่าคอพับเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ให้เกษตรกรช่วยพับให้ทั่วทั้งแปลง จากนั้นงดให้น้ำและทิ้งไว้ในแปลงประมาณ 3-5 วัน ให้ใบเหลือง ถอนมามัดจุก แล้วนำไปตากแดดจัดจนหอมแขกแห้งสนิท นำมาห้อยไว้ในที่ร่มมีหลังคา ระบายอากาศได้ดี ตัดหัวและรากออก บรรจุในถุงตาข่ายหรือขายแบบมัดจุก ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

โรคพืช-แมลงศัตรูพืชของหอมแขก

หอมแขก

โรคพืช โรคพืชที่สำคัญ คือ โรคใบจุดสีม่วง (เชื้อรา Alternaria porri (Ell.) Cif) โรคเน่า (เชื้อรา Sclerotium rolfsii)  และโรคหอมเลื้อย (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides) โรคเน่า โรคใบจุดสีม่วง การป้องกันและจัดการโรคของหอมแขก 1. ก่อนปลูก ไถตากดิน 2-3 ครั้ง เพื่อลดปริมาณเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคในดิน ปรับสภาพดินด้วยปูนขาวเพื่อให้มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 6.5-7 (เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหอมแขก)2. ใช้ส่วนการขยายพันธุ์ที่ไม่เป็นโรค เช่น แช่หัวพันธุ์หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยไตรโคเดอร์มา หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โปรคลอราช 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ

เตรียมแปลงหอมแขก

หอมแขก

ฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกหอมแขกในประเทศไทย คือ ฤดูหนาว (หลังเก็บเกี่ยวข้าว) หรือเริ่มต้นในปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป เกษตรกรควรเริ่มเพาะกล้าตั้งแต่เดือนกันยายน ย้ายกล้าลงแปลงในปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ แต่สำหรับเกษตรกรที่ใช้ที่นาเพาะปลูกสามารถเตรียมกล้าในพื้นที่ปลูกผักทั่วไปได้ เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จจึงไถตากดินและเตรียมแปลงปลูกหอมแขกต่อได้เลย การเตรียมแปลงเป็นขั้นตอนสำคัญ หากเตรียมแปลงไม่ดีจะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต ซึ่งการเตรียมแปลงหอมแขก แบ่งเป็น 2 ระยะคือ การเตรียมแปลงสำหรับเพาะกล้า และการเตรียมแปลงสำหรับย้ายปลูก  โรงเรือนเพาะกล้า แปลงเพาะกล้า เตรียมแปลงสำหรับเพาะกล้า • การเพาะกล้าหอมแขกจำเป็นต้องมีโรงเรือน เพื่อป้องกันฝนและน้ำค้าง• ก่อนปลูก 7 วัน คลุกเคล้าดิน โดโลไมท์ ปุ๋ยหมักให้เข้ากัน ขึ้นแปลงสามเหลี่ยม• ก่อนปลูก 2 วัน รดด้วยไตรโคเดอร์มาและตีดินให้ละเอียด ขึ้นแปลงหน้ากว้าง 1 เมตร สูงประมาณ 5-10

รู้จัก ‘หอมแขก’

หอมแขก

หอมแขก (red onion) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Allium cepa จัดอยู่ในพืชตระกูลหอมใหญ่ (onion) ใบจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แผ่นใบแบนจีบตามยาว ใบกว้าง 2–4 เซนติเมตร และยาว 20 –40 เซนติเมตร เจริญเติบโตในดินแทบทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ของดิน ประมาณ 6.0-6.5 เพาะปลูกในพื้นที่อากาศเย็นในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ และอาจให้ผลผลิตไปถึงเดือนมีนาคม หอมแขกเป็นพืชสองปี (biennial) โดยในปีแรกจะสร้างใบและหัว (buld) ซึ่งประกอบด้วยลำต้นสั้นๆ และกาบใบมีเปลืองหุ้มสีแดง ภายในมีกลีบสีม่วงแดงทำหน้าที่ในการสะสมอาหาร ที่ใจกลางของหัวเป็นจุดเจริญหรือจุดให้กำเนิด การสร้างหัวจะขึ้นอยู่กับความยาวของวัน (day length) ได้แก่ พันธุ์วันสั้น (short day)