“ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” กลับบ้าน สร้างอาชีพ มีรายได้

“ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่” กลับบ้าน สร้างอาชีพ มีรายได้

“คิดอย่างเดียว ถ้าไปเป็นลูกจ้างเขา เหนื่อยก็เหนื่อยให้เขา ไม่ได้กลับบ้านซะที แต่ถ้าเราลองทำดู โครงการ 3 ปี ถ้าไม่ได้จริงๆ ค่อยว่ากัน” สุวิตรี แดนขนาน บอกไว้ในช่วงจบปีแรกที่เข้าร่วม “โครงการพัฒนาทักษะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นใหม่ รุ่นที่ 1” ถึงวันนี้จบโครงการฯ แล้ว แต่ สุวิตรี ยังคงเดินบนเส้นทาง “ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์” “กลับมาปีแรก ไฟแรง อยากหาลูกไล่ล่ะ” สุวิตรี ย้อนความถึงวันที่กลับมา “สร้างอาชีพ” ที่บ้านเกิด หลังจบการศึกษาจากสาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเพิ่มพูนทักษะการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่บริษัท สุพรีมโกลด์ จำกัด อีก 6 เดือนก่อนกลับมาผลิตเมล็ดพันธุ์มะระและถั่วฝักยาวส่งให้บริษัทฯ โดยมี วรนารี แดนขนาน พี่สาวที่เรียนจบด้านเกษตรและลาออกจากงานประจำมาร่วมด้วยช่วยกัน ด้วยมองว่า “ทำของตัวเอง เหนื่อยก็เป็นของเรา” “ตอนฝึกงานกับบริษัท เรียนรู้สบายๆ แต่กลับมาเจอของจริงที่บ้าน ต้องรับสภาพทุกอย่าง เป็นแรงงานด้วย เป็นคนดูด้วย ปีแรกยังไม่ท้อ

ยางชุมน้อยโมเดล: การปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่อแปรรูป

ยางชุมน้อยโมเดล: การปลูกพริกยอดสนเข็ม 80 เพื่อแปรรูป

อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นพื้นที่ผลิตพริกชั้นดีของประเทศไทย เกษตรกรในพื้นที่มีอาชีพผลิตพริกจำหน่ายให้ลูกค้าในประเทศ แต่เกษตรกรยังมีรายได้น้อย ทั้งๆ ที่ทำการเกษตรมานาน มีความชำนาญและขยัน การผลิตพริกแบบเดิมมีต้นทุนสูง มีปัญหาโรคแมลงและใช้สารเคมีปริมาณมาก ทำให้ สุจิตรา จันทะศิลา ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และต้องการกลับบ้านมาช่วยเหลือเกษตรกรที่บ้านเกิด จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโนนติ้ว ตำบลโนนคูณ อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ 27 สิงหาคม 2558 ให้เกษตรกรผลิตพริกแห้งปลอดภัยเพื่อแปรรูปและส่งออก เช่น ผลิตพริกสายพันธุ์ “ยอดสนเข็ม 80” ป้อนให้บริษัท บางกอกแลปแอนด์คอสเมติก จำกัด โดยประกันราคารับซื้อ บริษัทฯ ต้องการผลผลิตพริกแห้งพันธุ์นี้ประมาณปีละ 5 – 10 ตันต่อปี หรือ พริกสด