Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ สร้างมูลค่าทุเรียนจันท์

Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ สร้างมูลค่าทุเรียนจันท์

ถุงแดงบนต้นทุเรียนเป็นภาพที่พบเห็นในสวนทุเรียนหลายแห่งในช่วงหลายปีนี้ “ถุงแดง” หรือ “Magik Growth ถุงห่อผลไม้สีแดง” ผลงานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เป็นเทคโนโลยีวัสดุเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คัดเลือกช่วงแสงช่วง 400-700 nm ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ถ่ายเทน้ำและอากาศได้ดี ป้องกันแมลงศัตรูพืชและสัตว์ฟันแทะ (หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า สัตว์กัดแทะ) ลดการใช้สารเคมีและเพิ่มคุณภาพผลผลิต สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมกับทีมวิจัยขยายผลการใช้ถุงแดงในพื้นที่ภาคตะวันออก ดังที่จังหวัดจันทบุรีซึ่งมีทั้งแปลงเรียนรู้ของหน่วยงานรัฐ แปลงทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและแปลงทุเรียนระบบเกษตรอินทรีย์ ‘ถุงแดง’ กับ ‘การใช้สารเคมี’ ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัดจันทบุรี ต.ท่าหลวง อ.มะขาม จ.จันทบุรี หรือที่มักคุ้นในชื่อ “สวนของพ่อ” เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตไม้ผล สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและยังเป็นสนามทดสอบการใช้ถุงแดงกับทุเรียนหมอนทองในช่วงปี พ.ศ.2564-2565 “ปัญหาของทุเรียนคือ เพลี้ยแป้ง ใช้สารเคมีฉีดพ่นทุกๆ 10-14

ลด ‘ต้นทุนทำสวนทุเรียน’ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ลด ‘ต้นทุนทำสวนทุเรียน’ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

“ต้นทุนทำสวนทุเรียนต้องอยู่ที่ 50 บาท/กก. การแข่งขันทุเรียนมากขึ้น ถ้าทำต้นทุนได้ต่ำเท่าไหร่ เราก็ยิ่งได้กำไร” สมบูรณ์ งามเสงี่ยม เจ้าของสวนทุเรียนบัวแก้ว อ.วังจันทร์ จ.ระยอง และรองประธานกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนบ้านวังจันทร์ บอกถึงตัวเลขเป้าหมายต้นทุนทำสวนทุเรียนของเขา สมบูรณ์ เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำสวนทุเรียน ด้วยมองเห็นแนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของตลาดทุเรียน จะทำอย่างไรให้อาชีพชาวสวนที่เขาทำมาเกือบทั้งชีวิต ยังคงสร้างรายได้ให้เขาต่อไปได้ “ก่อนมาเจอ สวทช. ต้นทุนทำสวนทุเรียนของผมอยู่ที่ 70 บาท/กก. ผมต้องการลดต้นทุนลง เริ่มจากใช้ระบบฟาร์มรักษ์น้ำของ สวทช. ช่วยลดค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าแรงได้ ต้นทุนเหลือ 60 บาท/กก. แต่ต้นทุนสวนยังมีเรื่องปุ๋ยอีก ก็ต้องการให้ต้นทุนอยู่ที่ 50 บาท/กก. ถ้าราคาทุเรียนตกมาที่ 60 บาท ผมก็ยังมีกำไร”

‘ปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกอง’ ตัวช่วยบำรุงดิน ผักงามสร้างรายได้

‘ปุ๋ยหมักไม่พลิกกลับกอง’ ตัวช่วยบำรุงดิน ผักงามสร้างรายได้

อยากกินผักปลอดภัยและมีรายได้เสริม เป็นคำตอบที่มักได้จากเกษตรกรที่หันมาปลูกผัก เช่นเดียวกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยบ้านป่าสีเสียด ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง จากที่เคยต่างคนต่างปลูก พวกเขารวมกลุ่มกันในปี พ.ศ. 2560 เพื่อเติมเต็มความรู้ปลูกผักเป็นรายได้เสริมจากทำสวนยางพาราและปลูกมันสำปะหลัง โดยมีพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านเป็นแปลงเรียนรู้ร่วมกัน “พอไปอบรมหาความรู้ที่โครงการศูนย์บริการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริจังหวัดระยองกันแล้ว เราก็อยากมาเรียนรู้และทำแปลงต้นแบบด้วยกัน ก็เลยขอใช้พื้นที่จาก อบต.” พะเยาว์ บัณฑิตธรรม ประธานกลุ่มฯ ย้อนถึงที่มาแปลงผักบนพื้นที่ 6 ไร่*  ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยบ้านป่าสีเสียด แหล่งเรียนรู้การปลูกผัก การผลิตปุ๋ยหมัก การป้องกันโรคพืชและแมลงศัตรูพืช เมื่อมีพื้นที่ได้ลองมือลองวิชา สมาชิกร่วมกันปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชผักระยะสั้นและผักใบ เช่น กวางตุ้ง คะน้า โหระพา มะกรูด มะนาว โดยเน้นปลูกเพื่อบริโภค เหลือจึงขาย “ช่วงแรกปลูกแล้วไม่ค่อยได้ผลผลิต เพราะดินไม่ดี เป็นดินถม เราก็ไปเรียนรู้แก้ปัญหาดินที่โครงการพระราชดำริฯ

ผลิต-ใช้ ‘ชีวภัณฑ์คุณภาพ’ ด้วยความรู้และใส่ใจ

ผลิต-ใช้ ‘ชีวภัณฑ์คุณภาพ’ ด้วยความรู้และใส่ใจ

“ผลิตเองดีกว่าในแง่ต้นทุนและมั่นใจที่มาของเชื้อ” วิฑูรย์ ปรางจโรจน์ เกษตรกรวัย 65 ปี ให้เหตุผลที่ผลิตเชื้อราบิวเวอเรียไว้ใช้เอง หลังได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชีวภัณฑ์จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. จนพัฒนาเป็นอีกหนึ่ง “จุดเรียนรู้ชุมชนการผลิตใช้ชีวภัณฑ์อย่างมีคุณภาพ” ของ สท. จากเคยเป็นเซลล์ขายอุปกรณ์การเกษตรคลุกคลีในแวดวงปุ๋ยเคมี สารเคมีและปัจจัยการผลิตต่างๆ ทำให้ วิฑูรย์ พอรู้จักชีวภัณฑ์อยู่บ้าง เมื่อตัดสินใจกลับมาทำเกษตรกับอุไรพร เบ็ญพาด ภรรยา ที่ ต.พังตรุ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เขาเลือกปลูกผักด้วยความชอบบริโภคผักเป็นทุนเดิมและต้องการมีผักปลอดภัยไว้กินเอง สภาพพื้นที่เปิดโล่ง ลมพัดถ่ายเทสะดวก วิฑูรย์ ปลูกผักบนโต๊ะในพื้นที่ 1 ไร่ เริ่มจากผักสลัดเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว  ด้วยเป็นของแปลกและละแวกนั้นไม่มีใครปลูกได้ เขาเริ่มต้นจากปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ แต่รสชาติไม่ได้ จึงเปลี่ยนมาปลูกลงดิน

แบบแผนการจัดการศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสานของถั่วฝักยาว (Standard Operating Procedure: SOP) ภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG แบบบูรณาการเชิงพื้นที่ในจังหวัดราชบุรี”

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

จังหวัดราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ BCG Model สาขาเกษตร ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมทำงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ยกระดับการปลูกผักปลอดภัยและผักอินทรีย์ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ โดยพืชผักที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า มะเขือเปราะ พริก ซึ่งมีแมลงศัตรูพืชหลายชนิด อาทิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ เป็นต้น “ก้อนเชื้อสดบิวเวอเรียและเมตาไรเซียม” จาก อนันต์ กอเจริญ ประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี คืออุปกรณ์สำคัญที่ สท. ใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บิวเวอเรียและเมตาไรเซียมให้เกษตรกร 83 ราย จากกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายสามพรานโมเดลในจังหวัดราชบุรี เกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เกษตรกรแปลงใหญ่ผักดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมืองราชบุรี อนันต์