รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้

รู้จัก “บิวเวอเรีย” อย่างเข้าใจ จัดการศัตรูพืชด้วยความรู้

“ผมไม่ได้มองว่าต้องประสบความสำเร็จที่รุ่นผม แต่ทำเพื่อสร้างพื้นฐานให้รุ่นต่อไป การทำเกษตรทุกวันนี้สาหัสทั้งจากการใช้ยาเคมี ปัจจัยการผลิตและภูมิปัญญาที่หายไป แล้วก็คนไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นต้นเหตุด้วย …อาชีพเกษตรยังต้องอยู่กับประเทศ ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีจะสร้างความยั่งยืนให้เกษตรได้” ชนะพล โห้หาญ อดีตพนักงานบริษัทที่หันมาทำสวนผลไม้ตั้งแต่ปี 2543 บนพื้นที่ 16 ไร่ของภรรยา ในตำบลตรอกนอง อ.ขลุง จ.จันทบุรี เริ่มต้นทำสวนมังคุดด้วยความรู้ที่เท่ากับศูนย์ อาศัยขอความรู้และทำตามเกษตรกรเพื่อนบ้าน แต่ผลผลิตกลับได้ไม่เท่าเขาและยังเสียหายมากกว่า “ช่วง 3-4 ปีแรกยังใช้สารเคมี ทำสวนแบบไม่มีความรู้ ทำตามเขา ใช้ยาเคมี ก็ใช้ไม่เป็น จนมีช่วงที่เกษตรกรตื่นตัวเรื่องน้ำหมักชีวภาพ ได้ไปอบรม ก็รู้สึกว่าตรงจริตเรา ไม่ต้องซื้อ ใช้วัตถุดิบในสวนมาใช้ได้” ชนะพล เริ่มใช้น้ำหมักชีวภาพในสวนโดยลดสัดส่วนการใช้สารเคมี เพื่อตอบโจทย์ “ทำอย่างไรให้ได้ผลผลิต” ซึ่งเขาก็ไม่ผิดหวัง และเห็นคล้อยตามเกษตรกรคนอื่นที่ว่า “ผลผลิตดีขึ้นเพราะน้ำหมัก” แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่

กว่าจะเป็น “ไม้ผลอินทรีย์” บนเส้นทางของการ “เรียนรู้”

กว่าจะเป็น “ไม้ผลอินทรีย์” บนเส้นทางของการ “เรียนรู้”

“ทุเรียน สื่อถึงไม้ผลที่ปลูกในระบบอินทรีย์ยากที่สุด ส่วนผึ้ง เป็นตัวแทนแมลงที่ดีในระบบนิเวศ” รัฐไท พงษ์ศักดิ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพบ้านปัถวี อ.มะขาม จ.จันทบุรี บอกถึงความหมายของโลโก้ “ปัถวีโมเดล” ที่มีสมาชิก 22 สวนในอ.มะขาม จ.จันทบุรี และเครือข่ายอีกกว่า 20 สวนจาก 6 อำเภอในจังหวัดจันทบุรีที่ผลิตผลไม้อินทรีย์ภายใต้มาตรฐาน Organic Thailand รัฐไท เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาพืชอินทรีย์ ปี 2562 เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่พลิกวิถีการทำสวนไม้ผลจากระบบเคมีเป็นระบบอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2541 ด้วยเหตุผลที่ไม่ต่างจากคนหัวใจอินทรีย์อีกหลายคน นั่นคือ ผลกระทบต่อสุขภาพ เขาเริ่มต้นจากหยุดการใช้สารเคมี ปรับลดการใช้ปุ๋ยเคมี และแสวงหาสิ่งที่จะทดแทนสารเคมีกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช โดยหาความรู้จากทุกแหล่งทั้งจากปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอิสระอย่างศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ที่ทำให้เขาได้แนวคิด “ศรัทธาว่าต้องทำได้”

“Inspector” ผู้ปิดทองขับเคลื่อน “ข้าวอินทรีย์”

“Inspector” ผู้ปิดทองขับเคลื่อน “ข้าวอินทรีย์”

การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวเพื่อให้ได้มาตรฐาน Organic Thailand ภายใต้โครงการเกษตรอินทรีย์ล้านไร่ของภาครัฐ กำหนดระยะเวลาปรับเปลี่ยนไว้ 3 ปี แบ่งเป็น ระยะปรับเปลี่ยนปี 1 (T1) ระยะปรับเปลี่ยนปี 2 (T2) และระยะปรับเปลี่ยนปี 3 (T3) มีข้อกำหนดปฏิบัติและการตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้นในแต่ละระยะ และที่สำคัญเป็นการตรวจรับรองแบบกลุ่ม นั่นหมายถึงสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องผ่านการตรวจ หากคนใดคนหนึ่งไม่ผ่าน ทั้งกลุ่มจะไม่ได้รับการรับรอง สมาชิกจึงต้องร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติให้ได้ตามข้อกำหนด โดยมีผู้ตรวจสอบภายใน หรือ Inspector ประจำกลุ่ม ทำหน้าที่ทั้ง “ผู้ตรวจ” และ “ผู้ขับเคลื่อน” ให้การผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเดินหน้าได้สำเร็จ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอบรมให้ความรู้ “กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อขอรับรองกระบวนการกลุ่ม” และ “การตรวจรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์แบบกลุ่ม เพื่อสร้างผู้ตรวจสอบภายในองค์กร

“ข้าวเหนียวธัญสิริน” ต้านทานโรคไหม้ หอมนุ่มนาน อีกทางเลือกของผู้ปลูกผู้บริโภค

“ข้าวเหนียวธัญสิริน” ต้านทานโรคไหม้ หอมนุ่มนาน อีกทางเลือกของผู้ปลูกผู้บริโภค

กลางปี 2562 สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านร่องคำ ต.ป่าสังข์ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด กว่า 30 คน ซึ่งปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ได้เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี” ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จัดขึ้น นอกจากได้เรียนรู้การทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ตั้งแต่กระบวนการเตรียมแปลง การเก็บเกี่ยว และการผลิตเพื่อจำหน่ายอย่างถูกต้องตาม พรบ. เมล็ดพันธุ์ข้าว แล้ว ในวันนั้นพวกเขายังได้รู้จักพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า “ธัญสิริน” “เขาบอกว่าต้นแข็งแรง ไม่ล้ม ให้ผลผลิตเยอะ ต้านทานโรคด้วย สนใจที่ต้นไม่ล้มนี่ล่ะ” สุพัฒน์ ศิลศร ประธานกลุ่มฯ ย้อนความถึงจุดเด่นของสายพันธุ์ข้าวนี้ที่ดึงดูดความสนใจให้เขาและสมาชิก ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวขึ้นชื่อในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อจำหน่าย แต่สำหรับการบริโภคนั้น “ข้าวเหนียว” เป็นอาหารหลักของคนแถบนี้ ซึ่งข้าวเหนียว

ทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความรู้และเชื่อมั่น

ทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความรู้และเชื่อมั่น

‘เซ่ง ผลจันทร์’ ‘ขวัญเรือน นามวงศ์’ และ ‘ธนากร ทองศักดิ์’ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ได้รับความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการผลิตพืชผักจากโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. และบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ที่มุ่งให้เกษตรกรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับประยุกต์การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐานและคุณภาพ เกิดการพึ่งพาตนเอง สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แม้ล่วงสู่วัย 62 ปี เซ่ง ผลจันทร์ หรือลุงเซ่ง สมาชิกสหกรณ์ผลิตผักน้ำดุกใต้ จำกัด อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ดูแลจัดการแปลงผักขนาดพื้นที่ 200 ตารางวา ตัดผักส่งสหกรณ์ฯ สัปดาห์ละ 3 วัน และผลิตผักส่งตามออเดอร์จากท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ได้ไม่ขาด มีรายได้หลักหมื่นต่อเดือน

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

“ผักสดคุณภาพ” ผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าและ “คนปลูกมีความรู้”

กลางปี 2562 ดิเรก ขำคง เจ้าของฟาร์ม Be Believe Organic Farm จ.ราชบุรี และ ภัทรนิษฐ์ ภุมมา เจ้าของสวนกล้วยภัทรนิษฐ์ จ.นครปฐม ต่างเป็นตัวแทนของกลุ่มภายใต้เครือข่ายสามพรานโมเดล เข้าร่วมอบรม “การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพดีไว้ใช้เอง” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใครจะคิดว่าหลังการอบรมวันนั้นเพียง 6 เดือน ชีวิตของเขาทั้งสองได้เปลี่ยนไป ดิเรก อดีตวิศวกรหนุ่มที่อิ่มตัวกับงานประจำ จับพลัดจับผลูเดินบนเส้นทางเกษตรอินทรีย์กับผลผลิต “ต้นอ่อนผักบุ้ง” ที่เขาและภรรยาใช้เวลาถึงสองปีลองผิดลองถูกเพื่อหวังเป็นอาชีพใหม่ “แฟนผมแพ้เคมีทุกอย่าง แม้แต่ผงชูรส ตอนนั้นต้นอ่อนผักบุ้งมีน้อย เป็นต้นสั้นและใช้เคมี เรามองว่าถ้าปลูกเป็น ใช้เวลา 7 วันก็สร้างรายได้ แต่ข้อมูลการปลูกต้นอ่อนผักบุ้งแทบไม่มี เราต้องลองผิดลองถูกกันเอง ทิ้งไปเยอะมาก กว่าจะได้ความยาวต้นที่เหมาะ

ถั่วเขียว KUML …จากพืชหลังนา สู่สินค้าส่งออก

ถั่วเขียว KUML …จากพืชหลังนา สู่สินค้าส่งออก

“ผมเห็นกองถั่วเขียวก็นึกย้อนไปสมัยเด็ก เราเคยรับจ้างเก็บถั่ว แล้วแถวนี้ก็ไม่เคยมีคนค้าถั่ว น่าจะเป็นไปได้ที่จะลองทำ แล้วยังได้ช่วยชุมชนให้มีรายได้เสริม แทนที่จะทิ้งนาไว้เฉยๆ หรือรอความช่วยเหลือจากรัฐบาล”  มนตรี สมงาม ลูกหลานเกษตรกรบ้านหนองผักนาก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี คนรุ่นใหม่ที่เชื่อมต่อถั่วเขียวจากแปลงนาสู่บริษัทแปรรูป เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนบ้านเกิด หลังหาข้อมูลและติดต่อจนได้บริษัทรับซื้อถั่วเขียวเพื่อแปรรูป เขากลับมาชักชวน นิมิตร สว่างศรี ผู้เป็นลุงและเป็นแกนนำเกษตรกรบ้านหนองผักนาก ซึ่งปลูกถั่วเขียวไว้บำรุงดินและบริโภคอยู่แล้ว “ตอนนั้นผมเพิ่งลองส่งถั่วเขียวให้ตลาดที่อำเภอชัยบาดาล จ.ลพบุรี เขาให้ราคา 32 บาท/กก. ซึ่งสูงมาก พอมนตรีมาชวนให้ส่งกับบริษัทที่เขาติดต่อได้ ให้ราคาพอกันและยังมีรถมารับถึงที่ ผมก็ตอบตกลงและไปชวนชาวบ้านให้ปลูกถั่วเขียว” ช่วงปี 2558 นิมิตร และชาวบ้านอีกสองรายเริ่มผลิตถั่วเขียวส่งให้ มนตรี โดยปลูกสายพันธุ์ชัยนาท 84-1 พื้นที่ผลิตประมาณ 100 ไร่ ได้ผลผลิตรอบแรกราว

เมื่อ “ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่” จะผลิบานที่ “ห้วยสำราญ”

เมื่อ “ปทุมมาสายพันธุ์ใหม่” จะผลิบานที่ “ห้วยสำราญ”

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มีความร่วมมือกับจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปพัฒนาและส่งเสริมการทำเกษตรในพื้นที่ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี เป็นหนึ่งกลุ่มเกษตรกรที่ สท. ได้ร่วมดำเนินงานด้วย ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ” โดยมุ่งหวังให้เป็นจุดสาธิตการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปทุมมาและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความรู้ด้าน วทน. “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี มีสมาชิก 104 ราย ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายพันธุ์ เช่น มะลิร้อยมาลัย เบญจมาศ ดาวเรือง ดอกพุด คัตเตอร์ กุหลาบร้อยมาลัย เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับของกลุ่มวิสาหกิจฯ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในช่วงฤดูไม้ดอกผลิบาน เว้นแต่ในช่วงฤดูฝนที่ยังขาดพันธุ์ไม้ดอกที่หลากหลาย จากนโยบายของจังหวัดอุดรธานีที่ต้องการพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยสำราญให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เปิดรับผู้คนได้ตลอดทั้งปี จึงได้ร่วมกับ สท. นำร่องจัดอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตปทุมมาให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ