สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) มีความร่วมมือกับจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปพัฒนาและส่งเสริมการทำเกษตรในพื้นที่ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” ต.หนองไฮ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี เป็นหนึ่งกลุ่มเกษตรกรที่ สท. ได้ร่วมดำเนินงานด้วย ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายผู้ผลิตปทุมมาบ้านห้วยสำราญ” โดยมุ่งหวังให้เป็นจุดสาธิตการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตปทุมมาและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความรู้ด้าน วทน. “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ” เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี มีสมาชิก 104 ราย ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายพันธุ์ เช่น มะลิร้อยมาลัย เบญจมาศ ดาวเรือง ดอกพุด คัตเตอร์ กุหลาบร้อยมาลัย เป็นต้น นอกจากนี้พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับของกลุ่มวิสาหกิจฯ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในช่วงฤดูไม้ดอกผลิบาน เว้นแต่ในช่วงฤดูฝนที่ยังขาดพันธุ์ไม้ดอกที่หลากหลาย จากนโยบายของจังหวัดอุดรธานีที่ต้องการพัฒนาพื้นที่บ้านห้วยสำราญให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เปิดรับผู้คนได้ตลอดทั้งปี จึงได้ร่วมกับ สท. นำร่องจัดอบรมถ่ายทอดความรู้การผลิตปทุมมาให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ
เรื่อง “ปุ๋ยๆ กับเศษผัก 30 ตัน”
ในแต่ละวันกะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลี มะเขือเทศจากดอยสูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 60 ตัน ถูกจัดส่งเข้าโรงงานตัดแต่งผักของบริษัท คิงส์ วิช จำกัด สาขาแม่ฮ่องสอน และโรงงานตัดแต่งผักของคุณวิทยา หวานซึ้ง เกษตรกรและผู้ประกอบการเกษตร ผักหัวแล้วหัวเล่าถูกตัดแต่งให้สวยงามก่อนเคลื่อนตามกันบนสายพาน ผ่านการชั่งน้ำหนักบรรจุลงถุง จัดเตรียมลงตะกร้าขึ้นรถห้องเย็น พร้อมเดินทางไกลกว่า 1,500 กิโลเมตรสู่ศูนย์กระจายสินค้าของห้างค้าปลีกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี … เมื่อของดีพร้อมส่งขาย แล้วของเสียอย่างเศษผักที่มีถึงวันละ 30 ตัน …เดินทางไปไหน “ทิ้ง” เป็นทางออกแรกที่ทั้งสองโรงงานจัดการกับเศษผักเหล่านี้ หลังจากที่ก่อตั้งโรงงานที่ ต.แม่เหาะ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อปี 2558 พร้อมกับค่าจ้างขนทิ้งเดือนละ 65,000 บาท และได้รับ “เสียงร้องเรียนเรื่องแมลงวันและกลิ่น” เป็นผลตอบแทน
NPV ไวรัสกำจัดหนอนร้าย
“รู้ว่าใช้เคมีอันตราย แต่เห็นผลทันที” “อยากใช้ชีวภัณฑ์นะ แต่ออกฤทธิ์ช้า ไม่ทันการณ์” คำตอบที่มักคุ้น แม้จะรู้พิษภัยของการใช้สารเคมี แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ทำให้เกษตรกรจำนวนไม่น้อยไม่อาจตัดใจเลิกใช้สารเคมีนั้นได้ แต่ใช่ว่าเมื่อใช้สารเคมีแล้ว จะต้องเป็นทาสของสารเคมีตลอดไป ในวันที่สารเคมีไม่สามารถจัดการ “ศัตรูพืช” ได้อยู่ “สารชีวภัณฑ์” เป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม “ไวรัสเอ็นพีวี” เป็นหนึ่งในสารชีวภัณฑ์ที่ถูกพูดถึงน้อย แต่ประสิทธิภาพฉกาจนัก ที่สำคัญยังใช้ได้ทั้งเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์อีกด้วย รู้จัก “ไวรัสเอ็นพีวี” ไวรัสเอ็นพีวี (Nuclear Polyhedriosis Virus: NPV) เป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและทำให้แมลงเกิดโรค มีการทดสอบความปลอดภัยของไวรัสเอ็นพีวีและผลิตเป็นการค้าจำหน่ายทั่วโลก ไวรัสเอ็นพีวีมีความจำเพาะต่อหนอนแต่ละชนิดๆ โดยในประเทศไทยพบไวรัสเอ็นพีวีจำเพาะหนอน 3 ชนิด ได้แก่ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก และหนอนเจาะสมอฝ้าย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นศัตรูพืชที่ทำลายพืชเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็น องุ่น
ชุดตรวจโรคพืชของคนไทย
บ่อยครั้งที่เครื่องมือหรือเทคโนโลยีด้านการเกษตรจากต่างประเทศที่ว่าดีที่ว่าเยี่ยม แต่เมื่อนำมาใช้ในประเทศเราแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นดังที่หวัง เพราะด้วยสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง เราจึงเห็นความพยายามของคนไทยที่พยายามพัฒนาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่มีความจำเพาะเจาะจงกับบริบทของบ้านเรา ดังเช่น “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืช” ผลงานวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยไทย ดร.อรประไพ คชนันทน์ หัวหน้าทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) บอกว่า ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชช่วยแยกหรือวินิจฉัยว่าพืชเป็นโรคอะไร เพื่อช่วยจัดการควบคุมโรคได้ บริษัทเมล็ดพันธุ์หรือหน่วยงานราชการที่ปรับปรุงพันธุ์พืช คัดเลือกพันธุ์ต้านทาน ต้องอาศัยชุดตรวจเพื่อช่วยตรวจเชื้อโรค ขณะเดียวกันการใช้ชุดตรวจมีความจำเป็นต่อการส่งออกเมล็ดพันธุ์ไปต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบว่าเมล็ดพันธุ์นั้นไม่มีเชื้อกักกัน ทีมวิจัยของดร.อรประไพ มีความเชี่ยวชาญผลิตวัตถุชีวภาพที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ซึ่งมีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคนั้นๆ ทีมวิจัยจึงได้นำคุณลักษณะนี้มาพัฒนาเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคพืชให้มีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชในบ้านเรา “ชุดตรวจต่างประเทศจะผลิตสำหรับเชื้อในท้องถิ่นเขา บางชุดตรวจไม่สามารถใช้ตรวจเชื้อบ้านเราได้ ถ้าเราผลิตชุดตรวจโดยใช้เชื้อที่มีในบ้านเรา ก็ทำให้สามารถตรวจได้ครอบคลุมกว่า” ไม่เพียงความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคพืชที่พบในบ้านเราที่ทำให้ตรวจเชื้อได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชของคนไทยนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าของต่างประเทศ 3-4 เท่า ปัจจุบันทีมวิจัยได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคพืชกว่า 10 ชุด ทั้งสำหรับตรวจเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก
“จุลินทรีย์” สิ่งมีชีวิตทรงพลัง
เมื่อเอ่ยถึง “จุลินทรีย์” ภาพในความคิดของหลายคนเป็น “สิ่งมีชีวิตเล็กๆ” เล็กขนาดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี้ เราจะนึกถึงอะไร ….. “จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีหลายกลุ่ม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส สาหร่าย มีทั้งตัวดีและไม่ดี ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน โดยตัวไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์ พืชและสัตว์ ในขณะที่ตัวดีนั้นสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น บางตัวย่อยสลายเซลลูโลสหรือสารอินทรีย์ได้” ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ช่วยขยายความเข้าใจต่อ “จุลินทรีย์” มากขึ้น เมื่อจุลินทรีย์มีหลากหลายกลุ่มและยังมีทั้งตัวดีและไม่ดี การจะนำจุลินทรีย์มาใช้งานจึงต้องคัดเลือกชนิดและคุณสมบัติที่ต้องการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่งานวิจัยของ ดร.ฐปน-ดร.ศิราภรณ์ ชื่นบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวทช.
สานต่อเกษตรอินทรีย์..ตามแม่บอก-พ่อพาทำ
“ถ้าคนรุ่นใหม่สนใจงานด้านการเกษตรจะช่วยต่อยอดงานเกษตรได้ เพราะคนรุ่นใหม่เข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้ง่ายกว่า เวลามีข่าวหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาก็จะเปิดรับและปรับตัวได้ง่ายกว่า” ในยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี มีคนรุ่นใหม่ไม่มากนักที่สนใจหรืออยากทำงานกลางแดดแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน หนึ่งในนั้นมี “น้ำ” กัลยาณี เหมือนมาต ทายาทเกษตรกรผู้มีทั้งพ่อและแม่เป็นต้นแบบการดำเนินชีวิต จนเป็นแรงบันดาลใจให้เธอตัดสินใจเลือกเรียนคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเกิดที่บ้านโคกสว่าง ต.โนนกลาง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี กัลยาณี เป็นลูกสาวคนโตของ พ่อสุรทอนและแม่สำรอง เหมือนมาต งานของพ่อแม่ในความทรงจำครั้งเป็นเด็กของเธอ คือ การทำนาสลับกับปลูกพืชหลังนาและการใช้สารเคมีบนผืนนาหลายสิบไร่ “เห็นพ่อทำเกษตรโดยใช้เคมีมาตลอด หลังจากปลูกข้าวแล้วก็ปลูกพริกส่งขายตลาด พ่อมีอาการแพ้ถึงขั้นเลือดกำเดาไหล ส่วนมากมาจากการฉีดยาฆ่าแมลงจำพวกแมลงวันทองที่พบมากในพริก ต้องฉีดสัปดาห์ละครั้ง แม้จะป้องกันตัวเองแต่ก็ยังทำได้ไม่ได้ดี” ผลกระทบต่อสุขภาพในครั้งนั้นทำให้ สุรทอน ตัดสินใจหันหลังให้การทำเกษตรแบบใช้สารเคมีโดยเด็ดขาดก่อนตั้งต้นเดินหน้าทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง ปัจจุบัน สุรทอนและสำรอง เหมือนมาต เป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์โนนกลาง ยืนหยัดปลูกข้าวและผักอินทรีย์ส่งขายเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวมาร่วม 14
ใช้ความรู้ปลูกผัก ที่ “รักษ์ศรีเทพ”
“แต่ก่อนปลูกโดยไม่มีความรู้ ผลผลิตก็ได้ตามสภาพ ทำ 100 ได้ 50 พอมีความรู้ กล้าสวย ต้นใหญ่ แขนงโต ลูกใหญ่ ผลสวย ต้านทานโรค เข้าแปลงไปเห็นแล้วชื่นใจ” อนงค์ สอนชา เล่าด้วยรอยยิ้ม อนงค์เป็นหนึ่งในสมาชิก “สหกรณ์รักษ์ศรีเทพ” อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ จากวิถีชีวิตการทำเกษตรที่พึ่งพิงรายได้หลักจากพืชเชิงเดี่ยวอย่างไร่อ้อยมาทั้งชีวิต หันกลับมาปลูกพืชผักปลอดภัยหลังจากที่เห็น รจนา สอนชา ลูกสาวและสมาชิกคนรุ่นใหม่ของกลุ่ม ลงแรงทำโดยมีตลาดใหญ่รองรับ สภาพดินเสื่อมจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การใช้สารเคมีทั่วพื้นที่ บวกกับราคาอ้อยที่ไม่แน่นอน เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจกลับมาทำเกษตรที่บ้านเกิดต้องการเปลี่ยนแปลง พวกเขาจึงเลือกพืชผักเป็นทางออก “เป็นความตั้งใจที่จะทำปลอดภัย เรามานั่งคุยแลกเปลี่ยนกัน ไม่จำเป็นไม่อยากใช้สารเคมี เราใช้เองในแปลง เราก็กินเองจากแปลงเรา ถ้าเราต้องการอะไรที่ปลอดภัยสำหรับตัวเรา ก็ต้องปลอดภัยสำหรับคนอื่น ไม่ใช่คำพูดสวยหรู
“Bright ข้าวเม็ดเคี้ยว” ขายข้าวให้แตกต่าง
ประสบการณ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงจากการศึกษาดูงานที่ดินส่วนพระองค์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก ได้เห็นวิธีการปลูกข้าวต้นเดียวบนพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร สร้างความประทับใจและเป็นแรงผลักดันให้ ปรีดาธพันธุ์ จันทร์เรือง อดีตผู้จัดการโรงงาน ดีกรีปริญญาโทด้านธุรกิจเทคโนโลยี หันมาเรียนรู้การทำเกษตรบนหลักเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมกับเก็บเกี่ยวความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านอยู่สองปี จนตัดสินใจละทิ้งเงินเดือนกว่าครึ่งแสนบาท กลับมาทำเกษตรที่จังหวัดชัยนาทเมื่อปี 2558 “ครอบครัวไม่เห็นด้วย แม่ก็เครียด เรียนจบมาทำงานเงินเดือนก็เยอะ เสียดายเงินเดือน การงานกำลังไปได้ดี แต่ผมคิดแล้วว่าทำเกษตรนี่ล่ะคือใช่ แต่ต้องทำเกษตรแบบใช้ความรู้และทำให้เป็นเกษตรเชิงอุตสาหกรรม ถึงจะรอด” “ทำข้าวให้มีคุณสมบัติเชิงยา” เป็นเป้าหมายที่ปรีดาธพันธุ์ตั้งไว้และลงมือทำด้วยการพลิกพื้นที่ 4 ไร่ที่ขอแบ่งจากครอบครัวทำเป็นนาอินทรีย์ โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน “ข้าวอินทรีย์ออริจิไรซ์ (Origi Rice)” ผลิตภัณฑ์แรกจากแปลงนาอินทรีย์ที่ขายผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และไลน์ ได้รับการตอบรับอย่างดี ออเดอร์สั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปรีดาธพันธุ์ตัดสินใจขอใช้พื้นที่นาอีก 17 ไร่ แต่ครั้งนี้ไม่มีเสียงคัดค้านใดๆ จากครอบครัว
เมื่อปุ๋ยดีๆ เปลี่ยนชีวิตมนุษย์เงินเดือน
“เป็นเรื่องสำคัญถ้าเราจะเริ่มต้นทำในสิ่งที่เราไม่รู้จัก เราไม่ควรทดลองโดยที่ไม่มีหลักวิชาการ ถ้าทดลองเลี้ยงตามที่เราเรียนมา แล้วเกิดปัญหา เราพอจะรู้ว่าเราออกนอกกรอบอะไรไปบ้าง ก็พอจะหาแนวทางแก้ไขได้” คุณนุจรี โลหะกุล หรือคุณเจี๊ยบ ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มไส้เดือนดินไม้งามและฟาร์มไรน้ำนางฟ้า ธุรกิจเกษตรที่เกิดจากการเข้าร่วมอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. จากมนุษย์เงินเดือนที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้ แต่ปลูกอย่างไรก็ไม่ออกดอกให้ชื่นชม คุณเจี๊ยบจึงเสาะหาความรู้จนได้อ่านเรื่องราวของ “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” และได้ทดลองหาซื้อมาใช้ ผลลัพธ์ที่ได้พาให้หัวใจคนรักต้นไม้เบิกบานเมื่อได้เห็นต้นไม้ผลิดอกสวยงาม แม้จะเจอ “ปุ๋ยดีๆ” ที่ต้องการแล้ว แต่คุณเจี๊ยบไม่หยุดเพียงเท่านั้น หากยังเสาะหาความรู้ของปุ๋ยดีๆ นี้ “เริ่มไปอบรมตั้งแต่ปี 2548 ไปเรียนทุกที่ที่มีสอนเรื่องไส้เดือนดิน ในช่วงนั้นก็มีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจะเป็นสายพันธุ์ขี้ตาแร่ และที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสายพันธุ์เอเอฟและขี้ตาแร่ พี่ไปอบรมกับอ.อานัฐที่แม่โจ้หลายรอบ แต่ละรอบก็ได้ความรู้และเทคนิคใหม่ๆ เรียนกลับมาก็มาฝึกเลี้ยงที่บ้านเริ่มจากกะละมัง ตู้ลิ้นชักพลาสติก ขยายมาเป็นบ่อวงซีเมนต์ 8 วง” ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่ผลิตได้จากการฝึกฝีมือ คุณเจี๊ยบทดลองใช้เองและนำไปแจกเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง นานวันเข้าทุกคนที่ได้ใช้ต่างติดใจ อยากได้ไปใช้เพิ่ม