แบบแผนการจัดการศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์แบบผสมผสานของถั่วฝักยาว (Standard Operating Procedure: SOP) ภายใต้โครงการ “การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG แบบบูรณาการเชิงพื้นที่ในจังหวัดราชบุรี”

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

‘ชีวภัณฑ์’ อาวุธคู่ใจคนปลูกผักปลอดภัย-ผักอินทรีย์

จังหวัดราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ BCG Model สาขาเกษตร ที่สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมทำงานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดราชบุรี ยกระดับการปลูกผักปลอดภัยและผักอินทรีย์ด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ โดยพืชผักที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า มะเขือเปราะ พริก ซึ่งมีแมลงศัตรูพืชหลายชนิด อาทิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ เป็นต้น “ก้อนเชื้อสดบิวเวอเรียและเมตาไรเซียม” จาก อนันต์ กอเจริญ ประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลประสาทสิทธิ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี คืออุปกรณ์สำคัญที่ สท. ใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บิวเวอเรียและเมตาไรเซียมให้เกษตรกร 83 ราย จากกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายสามพรานโมเดลในจังหวัดราชบุรี เกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแพ เกษตรกรแปลงใหญ่ผักดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลคุ้งน้ำวน อำเภอเมืองราชบุรี อนันต์

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

ปลูก ‘ถั่วเขียว KUML’ มูลค่าที่มากกว่า ‘พืชบำรุงดิน’

เมล็ดใหญ่ สุกแก่เร็ว ให้ผลผลิตสูงได้ถึง 300 กก./ไร่ ต้านทานโรคราแป้งและใบจุด คือจุดเด่นของถั่วเขียวพันธุ์ KUML ที่เริ่มได้รับความนิยมจากเกษตรกร หลังจากที่ สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ขยายผลการปลูกถั่วเขียว KUML อย่างมีคุณภาพให้เกษตรกรโดยใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จนเกิดการจัดตั้ง “ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว KUML บ้านดอนหวาย” อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพระดับชุมชนส่งต่อเมล็ดพันธุ์ KUML ให้เกษตรกรทั่วประเทศ ถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาที่ไม่เพียงช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป หากเมล็ดถั่วเขียว (grain) ยังเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ให้เกษตรกร และด้วยจุดเด่นของถั่วเขียว KUML บวกกับการปลูกอย่างมีความรู้ ทำให้ผลผลิตถั่วเขียวเป็นที่ต้องการของบริษัทรับซื้อ ดังเช่น บริษัท กิตติทัต จำกัด

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

เมื่อ ‘ตลาดนำการผลิต’ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์

โครงการ “อุบลโมเดล” คือจุดเริ่มการทำงานด้วยกลไกตลาดนำการผลิต ซึ่งสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ดำเนินงานกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ ต.กู่จ่าน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร จำนวน 60 คน พื้นที่ปลูกรวม 354 ไร่ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ 1.3 ล้านบาท จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็น 4 ตัน/ไร่ จากเดิม 3 ตัน/ไร่ แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ด้วยราคารับซื้อมันสำปะหลังอินทรีย์ที่สูงและต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2565

เก็บเกี่ยว ‘หอมแขก’

เก็บเกี่ยว ‘หอมแขก’

อายุเก็บเกี่ยวหอมแขกประมาณ 90-110 วัน (นับจากย้ายปลูก) และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตที่จะส่งจำหน่าย เมื่อหอมแขกอายุ 80-85 วัน คอจะเริ่มพับ ให้เกษตรกรสังเกต หากในแปลงพบว่าคอพับเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ให้เกษตรกรช่วยพับให้ทั่วทั้งแปลง จากนั้นงดให้น้ำและทิ้งไว้ในแปลงประมาณ 3-5 วัน ให้ใบเหลือง ถอนมามัดจุก แล้วนำไปตากแดดจัดจนหอมแขกแห้งสนิท นำมาห้อยไว้ในที่ร่มมีหลังคา ระบายอากาศได้ดี ตัดหัวและรากออก บรรจุในถุงตาข่ายหรือขายแบบมัดจุก ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า