ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

พื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้” ดินแดนที่ขึ้นชื่อถึงความแห้งแล้งและทุรกันดาร แต่กลับเป็นแหล่งผลิต “ข้าวหอมมะลิ” ที่เลื่องลือระดับโลก สวทช. และเครือข่ายพันธมิตร สนับสนุนความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม “เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ภายใต้โครงการ Inclusive Innovation ส่งเสริมธุรกิจเกษตรและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไม่เพียงเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ยืนหนึ่งในเวทีโลก หากยังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้เกษตรกรไทย ดังเช่นที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านจันทร์หอม ต.นาหนองไผ่ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ข้าวจันทร์หอมรวงทอง: มาตรฐานข้าวอินทรีย์ และได้รับการขึ้นทะเบียน GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีสมาชิก 28 คน พื้นที่เพาะปลูก 700 ไร่ ปลูกข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ใช้ชื่อ “ข้าวจันทร์หอมรวงทอง” เมื่อนำมาหุง

รู้จัก รู้ใช้ เอ็น พี วี จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืช

รู้จัก รู้ใช้ เอ็น พี วี จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืช

ดาวน์โหลดเอกสาร รายการ Club Farmday ตอน NPV ไวรัสกำจัดหนอนร้ายhttps://www.youtube.com/watch?v=MoQD_Njzljc รายการ Club Farmday Special ตอน ทำไมต้องใช้ไวรัส NPV ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริงกว่า 10 ปีhttps://www.youtube.com/watch?v=64wt_hkBK90 บทความ NPV ไวรัสกำจัดหนอนร้ายhttps://www.nstda.or.th/agritec/npv/ ขอคำแนะนำและสั่งซื้อไวรัส NPV ทีมวิจัยเทคโนโลยีไวรัสเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3781 บริษัท ไบรท์ออร์แกนิค จำกัด114/146 หมู่ 10 ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130โทรศัพท์ 064

ข้าวพื้นเมืองใต้…สำคัญอย่างไร

ข้าวพื้นเมืองใต้…สำคัญอย่างไร

ภาคใต้ถือได้ว่ามี “ข้าวพันธุ์พื้นเมือง” ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของไทย ซึ่งศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพัทลุงได้เคยรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ไว้ได้ถึง 162 สายพันธุ์ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวในภาคใต้หรือแม้แต่จำนวนชาวนาลดน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการมีอยู่ของสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ได้ เวทีเสวนา “ข้าวพื้นเมืองใต้ …สำคัญอย่างไร” ในงาน ‘เสริมแกร่งชาวนาสงขลา’ ด้วย ‘วิถีวิทย์’ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 ณ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา จึงได้ชวนนักวิชาการมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้และหนทางการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง เป็นแนวทางต่อลมหายใจพันธุ์ข้าวพื้นเมืองใต้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ข้าวพื้นเมือง มรดกทางวัฒนธรรม “ข้าวไทยและพันธุกรรมมีความสำคัญในแง่เดียวกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เพราะเป็นสิ่งที่อยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับการคัดเลือกและสร้างสรรค์จากบรรพบุรุษ” ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ให้มุมมองถึงความสำคัญของข้าวพื้นเมือง อาจารย์ภัทรพร ฉายภาพข้าวพื้นเมืองของประเทศไทยว่า

เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เสริมแกร่งชาวนา ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม่เพียงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ หากยังเป็นปัจจัยที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพให้ผลผลิตอีกด้วย การเรียนรู้และทำความเข้าใจเมล็ดพันธุ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ชาวนาไม่ควรมองข้าม “หัวใจสำคัญของเมล็ดพันธุ์คือ ต้องมีสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่า ต้นอ่อน (embrio) มีเนื้อแป้งข้าวและเปลือก ถ้าไม่มีต้นอ่อน จะไม่เป็นเมล็ดพันธุ์ จะเรียกว่า ข้าวเปลือก” ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา ผู้เชี่ยวชาญการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อธิบายความแตกต่างของเมล็ดพันธุ์และข้าวเปลือก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นความรู้การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ได้ถูกต้อง การใช้เมล็ดพันธุ์ดีทำให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากใช้ในปริมาณน้อยกว่าเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ลดต้นทุนการผลิต เพราะผ่านการคัดเลือกรวงที่สมบูรณ์แล้ว จึงลดเชื้อโรคและการใช้สารเคมีกำจัดโรค ผลผลิตสูง และทำให้กำไรต่อพื้นที่มากกว่า แล้วจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีได้อย่างไร จำเป็นต้องรู้จัก “ชั้นเมล็ดพันธุ์” เพื่อรู้ที่มาและการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ ซึ่งชั้นเมล็ดพันธุ์ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์คัด (breeder seed) เป็นชั้นเมล็ดพันธุ์สำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งชาวนาสามารถเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ได้ โดยเฉพาะในภาคใต้ซึ่งใช้ “แกระ” เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวที่สามารถคัดเลือกรวงสมบูรณ์ ถูกต้องตามพันธุ์ เมล็ดพันธุ์หลัก

เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกับการพัฒนาสายพันธุ์ปทุมมา

เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชกับการพัฒนาสายพันธุ์ปทุมมา

เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีหนึ่ง โดยนำชิ้นส่วนสำคัญของพืช เช่น ลำต้น ยอด ตาข้าง ใบ ดอก มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ภายใต้สภาวะที่ควบคุมความสะอาดแบบปลอดเชื้อ อุณหภูมิ และแสง เพื่อให้ชิ้นส่วนเหล่านั้นสามารถเจริญและพัฒนาเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ สามารถนำออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ “ปทุมมา” นอกจากเพื่อการผลิตต้นพันธุ์ปทุมมาปริมาณมากในระยะเวลาที่รวดเร็ว ต้นพืชที่ได้ปลอดโรคและมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับต้นแม่แล้ว การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยังเก็บรักษาพันธุ์พืชทั้งในเชิงอนุรักษ์ฐานพันธุกรรม และเชิงการผลิตต้นพันธุ์ได้ตลอดปี แม้ว่าเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและเซลล์จะไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่ก็มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาทั้งในเรื่องเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงและสารควบคุมการเจริญเติบโตใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเจริญและพัฒนาจากชิ้นส่วนพืขไปเป็นต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปัจจุบันเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาพันธุ์ปทุมมา ดังนี้ 1. การเพิ่มจำนวนของสายพันธุ์ปทุมมา เพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สามารถหาได้และมีสำรองตลอดปีสำหรับงานปรับปรุงพันธุ์ (พืชสกุลนี้พักตัวตั้งแต่เดือนตุลาคม-มีนาคม) 2. การเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์สำหรับใช้เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ 3. การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอ (Embryo culture) และการช่วยชีวิตเอ็มบริโอ (Embryo rescue) จากการผสมข้ามชนิด (interspecific