“ข้าวหอมชลสิทธิ์ สู้วิกฤตน้ำท่วม” สู่ “หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ”

“ข้าวหอมชลสิทธิ์ สู้วิกฤตน้ำท่วม” สู่ “หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพ”

จากสภาพปัญหาน้ำท่วมนาข้าวจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำเกือบทุกปี ทำให้พืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าวได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และกรมการข้าว ปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา และคณะ จากหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว (หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)) สวทช. ร่วมกับนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมการข้าว พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมคุณภาพดีที่ทนน้ำท่วมฉับพลัน โดยผสมระหว่างพันธุ์ข้าวไออาร์ 57514 ที่ทนต่อน้ำท่วมฉับพลันกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ไม่ทนน้ำท่วม ได้พันธุ์ชื่อว่า “ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” “ข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” จมอยู่ใต้น้ำได้นาน 2-3 สัปดาห์ ฟื้นตัวหลังน้ำลดได้ดี ความสูงต้นประมาณ 105-110 เซนติเมตร จำนวนรวงต่อกอประมาณ 15 รวง (นาดำ) ลำต้นแข็ง ไม่หักล้มง่าย นอกจากคุณสมบัติเด่นในการทนน้ำท่วมฉับพลันแล้ว พันธุ์หอมชลสิทธิ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 800-900 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพการหุงต้มคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปริมาณอะไมโลส ร้อยละ 14-18 และมีกลิ่นหอม เมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน ปลายปี 2556 พื้นที่ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้ปริมาณน้ำในคลองไหลเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพื้นที่นาข้าวซึ่งเพาะปลูกกันมากในเขตอำเภอเมืองพัทลุงและอำเภอควนขนุน องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงได้ขอรับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลันจากมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน สวทช. น้อมเกล้าฯ ถวาย

ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน

ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน

ดาวน์โหลด หนังสือผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน from piyapornnok  

ข้าวและพืชหลังนา

ข้าวและพืชหลังนา

“ข้าว” เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตคนไทยทั้งในแง่ของการผลิตและบริโภค จากการผลิต “ข้าว” เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนสู่การผลิตเพื่อจำหน่ายในระบบอุตสาหกรรม ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตข้าวอันดับ 6 ของโลก และส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก (ปี 2559) สร้างรายได้ให้ประเทศปีละหลายแสนล้านบาท จากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการผลิตข้าวและพืชเกษตร สวทช. กำหนดยุทธศาสตร์วิจัยและพัฒนา การปรับตัวภาคการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระยะที่ 3 (2560-2564) เพื่อสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลิตพืชที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเทคโนโลยีการพยากรณ์และระบบเตือนภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียอันเกิดจากภัยพิบัติและศัตรูพืช นอกจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม “ข้าว” แล้ว สวทช. ยังได้สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา “พืชหลังนา” เช่น ถั่วเขียว งา ซึ่งเป็นพืชที่ไม่เพียงช่วยปรับปรุงบำรุงดินหลังเก็บเกี่ยวข้าว หากยังสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรอีกด้วย   บทความ สิ่งพิมพ์