“การทำสินค้าให้มีมาตรฐาน คือ การยกระดับผลิตภัณฑ์ของเราให้ดียิ่งขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค” สุรศักดิ์ พุกกะเปรมะ เจ้าของฟาร์มชันโรงสันป่าตองและสวนเกษตรผสมผสาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ บอกถึงเหตุผลที่เขาพัฒนาฟาร์มชันโรงให้ได้มาตรฐาน GAP* จนเป็นฟาร์มชันโรงแห่งแรกของภาคเหนือที่ได้มาตรฐานนี้ *ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยียกระดับประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. ภายใต้โครงการการส่งเสริมกระบวนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรชุมชน เพื่อขับเคลื่อน BCG สาขาท่องเที่ยว ไม่เพียงเป็นฟาร์มชันโรงที่โดดเด่นด้วยการเลี้ยงชันโรงสายพันธุ์ท้องถิ่นในสวนเกษตรผสมผสาน มีต้นมะม่วงที่คัดสรรสายพันธุ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และยังอนุรักษ์สายพันธุ์ชันโรงบางสายพันธุ์ เช่น ชันโรงถ้วยดำ สายพันธุ์ทางเหนือ (Tetragonula testaceitarsis) ที่กำลังสูญหายจากไฟป่าและการตัดไม้ทำลายป่า ที่นี่จึงพร้อมเป็นแหล่งศึกษาวิจัยการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากชันโรง แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ สุรศักดิ์ ต้องสั่งสมความรู้และประสบการณ์มาไม่น้อย สุรศักดิ์ เก็บหอมรอมริบจากสายงานบริการนักท่องเที่ยวและงานมัคคุเทศก์กว่า 20 ปี สะสมเป็นเงินทุนทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสานบนพื้นที่ 7.5 ไร่ ก่อนจะเพิ่มเป็น 9
‘ชันโรง’ สร้างระบบนิเวศเกษตรอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกร
“อาชีพเราคือ เกษตรกร เราพัฒนาอาชีพโดยมุ่งเน้นที่ระบบนิเวศเป็นหลัก” ประโยคสั้นๆ แต่บอกถึงการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมีเป้าหมายของ จิราภา พิมพ์แสง ประธานวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดภัยฆ้องชัยพัฒนา และประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์ ย้อนไปกว่า 10 ปี พื้นที่ตำบลแห่งนี้เคยมี “ดงสวนผึ้ง” ที่ จิราภา ยังจำได้ดีถึงช่วงเวลาที่เข้าไร่มันสำปะหลังและต้องคอยหลบหลีกผึ้ง “ที่นี่เคยเป็นป่ามีผึ้งเยอะมาก ชาวบ้านตีผึ้ง เก็บน้ำผึ้งขายกัน สมัยก่อนหาง่าย แต่หลังๆ หายากขึ้น” จิราภา ย้อนความถึงป่าที่เคยเป็นบ้านหลังใหญ่ของผึ้ง ด้วยวิธีการเก็บน้ำผึ้งของชาวบ้านที่รมควันแล้วตัดทั้งรัง บวกกับการเช่าพื้นที่ปลูกอ้อยในระบบเคมี ส่งผลให้ประชากรผึ้งลดน้อยลง จึงเป็นจุดเริ่มให้เธอต้องการฟื้น “ดงสวนผึ้ง” เริ่มต้นจากปลูกป่าเพื่อสร้างบ้านให้ผึ้ง โดยชักชวนญาติพี่น้องปลูกป่าในพื้นที่ตนเองคนละงานคนละไร่แทนการปล่อยเช่า เมื่อเริ่มได้พื้นที่ป่าคืนมา แล้วจะทำอย่างไรให้ผึ้งกลับมา เป็นโจทย์ที่เธอต้องการหาคำตอบ “นั่งฟังอาจารย์แล้วรู้สึกว่าทำไมผึ้งขยัน
อาหารและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปูนา
ดาวน์โหลดเอกสาร
อาหารของปูนาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น
ดาวน์โหลดเอกสาร
หนอนแมลงวันลาย (BSF)
คู่มืออาหารและการจัดการโปรแกรมอาหารสำหรับไก่พื้นเมือง
ดาวน์โหลดเอกสาร
คู่มือแนวปฏิบัติ “การเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบมืออาชีพ”
ดาวน์โหลดเอกสาร
คู่มือแนวปฏิบัติ “การจัดการเพาะขยายพันธุ์และเทคโนโลยีการฟักไข่ไก่พื้นเมือง”
ดาวน์โหลดเอกสาร