“เลี้ยงปูนาปีแรกเหมือนคนบ้า อยู่คอกปูทั้งวัน ส่องไฟฉายดูพฤติกรรมปูตลอด จะไปไหนก็ห่วงก็คิดถึง” ประชา เสนาะศัพท์ และปรีชา ยินดี คู่หูผู้เลี้ยงปูนา เล่าถึงความผูกพันที่เกิดขึ้นกับสัตว์ตัวน้อยนี้ ในวันที่พวกเขาเริ่มต้น “เลี้ยงปูนา” เพื่อหวังอนุรักษ์ ประชา หนุ่มสุรินทร์มาเป็นเขยเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด มาเกือบ 20 ปี เขาเล่าว่า แต่ก่อนที่นี่ปูนาเยอะมาก แต่ช่วง 10 ปีหลัง ปูหายหมดเพราะยาฆ่าปู เพื่อไม่ให้ปูกัดต้นข้าว ถึงแม้ว่าจะไม่มีปูแล้ว แต่ชาวบ้านยังหว่านยา เพื่อความมั่นใจ เมื่อสัตว์ที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศการทำนาข้าว ถูกจัดให้เป็น “ศัตรูพืช” ของนาข้าว และวิถีการทำนาที่ใช้สารเคมี จำนวนปูนาจึงลดน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงวงจรในระบบนิเวศจะแหว่งวิ่น หากยังสะเทือนถึงวิถีการดำเนินชีวิตผู้คนไม่น้อยที่มี “ปูนา” เป็นวัตถุดิบในมื้ออาหาร
“ไส้เดือนดิน-หนอนแม่โจ้” สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของผู้สูงวัย
“ความภาคภูมิใจในตัวเอง” เป็นหนึ่งแรงพลังที่ทำให้คนเราตระหนักรู้ถึงความสุขในสิ่งที่ทำ ปลุกความหวัง สร้างความสดชื่นให้จิตใจโดยเฉพาะในวันที่เดินเข้าสู่ช่วง “ชีวิตสูงวัย” “คุณสวัสดิ์ การะหงษ์” วัย 65 ปี เจ้าของ “ลุงสวัสดิ์ฟาร์มไส้เดือนดินริมปิง” และอดีตผู้บริหารหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ก็เช่นกัน แม้พื้นฐานชีวิตจะเป็นเกษตรกร แต่ลุงสวัสดิ์คลุกคลีกับงานบริหารท้องถิ่นมากว่า 30 ปี เส้นทางการเติบโตที่มั่งคงในงานบริหารท้องถิ่นจากผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จนถึงรองนายกเทศมนตรีตำบล แต่ในใจกลับมีความรู้สึกบางอย่างที่คลอนแคลน “อยู่ในสังคมที่กว้างมาก แต่ความรู้เราแค่ป.4 ไปไหนก็ไม่มั่นใจที่พูดคุย และเดี๋ยวนี้เด็กจบใหม่มีความรู้ รู้จักใช้เทคโนโลยี แต่เราไม่มี อายเด็กรุ่นใหม่ มีวันนึง เจ้าหน้าที่ให้ช่วยปิดคอมพิวเตอร์ ลุงก็ดึงปลั๊กออกเลย” ความรู้สึกที่คลอนแคลนสะสมมาเนิ่นนานย้อนให้ลุงสวัสดิ์ได้ทบทวนและวางเส้นทางในช่วงชีวิตบั้นปลาย เมื่อไส้เดือนดินย่อยขยะในใจ การได้พบปะผู้คนหลากหลายวงการถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งในช่วงที่ลุงสวัสดิ์ทำงานบริหารท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ลุงได้พบเส้นทางในชีวิตหลังเกษียณ “ลุงไปอบรมเรื่องการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนจากอาจารย์อานัฐ ตันโช ม.แม่โจ้
ประกาศศักดา “ปลากัดไทย” ในตลาดสัตว์น้ำสวยงามระดับโลก
แม้วันนี้ความพยายามของกรมประมงที่ต้องการให้ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติจะไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงและผู้ประกอบการเกิดความกังวลว่าไทยอาจสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศให้กับต่างชาติ ซ้ำรอยเฉกเช่นแมววิเชียรมาศ แต่ก็เป็นโอกาสดีที่จะทำให้เรื่องราวของปลาตัวเล็กที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านานได้เป็นที่รู้จักมากกว่าเป็น “ปลาสวยงาม” แต่ยังเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าหลายพันล้านบาทให้ประเทศอีกด้วย รู้จัก “ปลากัดไทย” ปลากัดเป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่มักพบกระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางและบางส่วนของภาคเหนือของประเทศ ปลากัดมีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม ใช้ปากฮุบอากาศในการหายใจโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด แต่เดิมปลากัดที่พบในประเทศไทยมีอยู่เพียง 3 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ปลากัดไทย (Betta splendens) เนื่องจากมีครีบและสีสันที่สวยงาม ส่วนอีก 2 สายพันธุ์คือ ปลากัดอีสาน (Betta smaragdina) และปลากัดภาคใต้ (Betta imbellis)
ไรน้ำนางฟ้า: จากงานวิจัยสู่ธุรกิจอนาคตไกล
“เราไม่ได้อยู่ในแวดวงเกษตรมาก่อน อย่างไรน้ำนางฟ้า คนถามบ่อยมากว่า มีโรคมั้ย เอาไปเลี้ยงปลาแล้วปลาจะตายมั้ย มันจะเอาโรคไปติดต่อกันมั้ย เราเป็นคนเลี้ยงก็ต้องบอกว่าดี แต่ถ้ามีงานวิชาการที่ทำวิจัยมาแล้วรองรับว่าไม่มีโรคและไม่ติดต่อ เราสามารถพูดได้ ความน่าเชื่อมี ตรงนี้งานวิจัยช่วยพี่มากๆ” ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินภายใต้แบรนด์ “เพื่อนดิน” เป็นธุรกิจแรกของคุณนุจรี โลหะกุล หรือคุณเจี๊ยบ ที่ต่อยอดจากการเข้าร่วมอบรมเรียนรู้จนสามารถผันชีวิตจากมนุษย์เงินเดือนมาเป็นเจ้าของธุรกิจเต็มตัว “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” ยังพาคุณเจี๊ยบให้รู้จักกับ “ไรน้ำนางฟ้า” อีกหนึ่งงานวิจัยด้านเกษตรที่ปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจของผู้หญิงเก่งคนนี้อีกเช่นกัน จากงานออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “เพื่อนดิน” ในงานประชุมวิชาการของ สวทช. คุณเจี๊ยบได้รู้จักกับงานวิจัย “ไรน้ำนางฟ้า” ด้วยความน่าสนใจของสัตว์น้ำตัวเล็กๆ ที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงและยังให้สารเร่งสีสำหรับสัตว์น้ำด้วย คุณเจี๊ยบจึงตัดสินใจเข้าร่วมอบรมเรียนรู้การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเมื่อปี 2555 “อบรมกลับมาก็ไม่คิดจะทำเป็นธุรกิจ เพราะไรน้ำนางฟ้าเลี้ยงยากมาก เรายังไม่มีความรู้มากพอ ไข่ที่ได้มาจากการอบรมก็แช่ไว้ในตู้เย็นอยู่หลายเดือน จนพอมีเวลาว่างจากฟาร์มไส้เดือน ก็เอาไข่ที่ได้มาลองเลี้ยงในกะละมัง ทำตามที่เรียนมา แล้วทดลองให้เป็นอาหารปลาที่เลี้ยงไว้ที่บ้าน ก็เริ่มเห็นผลว่าปลาชอบ ปลาสีสวย วันนึงมีลูกค้ามาขอซื้อไส้เดือนไปเป็นอาหารปลาหมอสี พี่ก็เลยลองตักไรน้ำนางฟ้าที่เลี้ยงไว้ให้เขาไปทดลองใช้
จากงานวิจัยสู่ธุรกิจ “ฟาร์มไรน้ำนางฟ้า” ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
“เราเริ่มเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าแบบติดลบด้วยซ้ำ ถ้าเราไม่รู้คือเป็นศูนย์ แต่ติดลบคือเราเข้าใจผิด ทำให้เราทำหลายๆ อย่างไม่ถูกต้อง” นุจรี โลหะกุล ถอดบทเรียนที่ได้จากการต่อยอดงานวิจัย “ไรน้ำนางฟ้า” สู่ธุรกิจฟาร์มเพาะเลี้ยงของครอบครัว หลังอบรมและเรียนรู้การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี นุจรี กลับมาทดลองและฝึกฝนการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในบ่อวงซีเมนต์ขนาด 90 ซม. ที่บ้านพักย่านสมุทรปราการ ควบคู่ไปกับธุรกิจเลี้ยงไส้เดือนดินที่จำหน่ายในชื่อ “เพื่อนดิน” “มีลูกค้าที่ซื้อไส้เดือนเป็นประจำเพื่อเอาไปเป็นอาหารให้ปลาหมอสี ลองตักไรน้ำให้เขาไปลองใช้ เขาใช้อยู่ 2 เดือน เห็นว่าลูกปลาขึ้นหัวโหนกเร็ว สีและรูปทรงปลาสวยมาก หลังจากนั้นก็ขอซื้อและกลายเป็นลูกค้าประจำ” เสียงตอบรับจากลูกค้าที่ได้ใช้ไรน้ำนางฟ้าในฟาร์มเพาะพันธุ์ปลา จุดประกายให้ นุจรี มองเห็นโอกาสที่จะสร้างธุรกิจใหม่ให้ตัวเองได้ และจากการสำรวจตลาดจำหน่ายในไทย เธอพบว่ายังไม่มีอาหารสัตว์น้ำที่มีโปรตีนสูงและยังมีตัวเร่งสีในธรรมชาติเหมือนไรน้ำนางฟ้า ปี 2559 นุจรี ตัดสินใจขยับขยายพื้นที่การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไปที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา บนพื้นที่ 3.5 ไร่ โดยใช้พื้นที่เริ่มต้น 1 ไร่ ออกแบบโรงเลี้ยง บ่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าและบ่อเลี้ยงคลอเรลล่า (สาหร่ายสีเขียว) เอง ใช้ความรู้จากที่อบรมมาบวกกับประสบการณ์ที่ทดลองเลี้ยงที่บ้านพัก
หนอนแม่โจ้: อีกหนึ่งผู้ย่อยขยะอินทรีย์ที่น่าจับตา
ในช่วงหลายปีมานี้กระแสความนิยมเลี้ยง “ไส้เดือนดิน” มีมากขึ้น ด้วยเป็นตัวเอกที่ช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังให้ผลผลิตเป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำไส้เดือนดินที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตสวยงาม แม้จะมีผู้สนใจเลี้ยงไส้เดือนดินมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการกำจัดขยะอินทรีย์ที่นับวันจะมีมากขึ้น นับเป็นเรื่องดีที่วันนี้นักวิจัยไทยได้ค้นพบแมลงตัวน้อยอีกชนิดหนึ่งที่ย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ดีไม่น้อยกว่าไส้เดือนดิน และยังมีเป็นแหล่งอาหารโปรตีนสูงสำหรับสัตว์เศรษฐกิจ รวมทั้งมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกไม่น้อย จาก “ไส้เดือนดิน” ถึง “หนอนแม่โจ้” หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วงกว้างแล้วนั้น “ไส้เดือนดิน” ได้ชักนำให้ทีมวิจัยได้รู้จักกับแมลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในโรงเลี้ยงไส้เดือนดินของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำไปสู่การศึกษาวิจัยแมลงชนิดนี้อย่างจริงจังโดยได้ทุนสนับสนุนวิจัยจาก สวทช. ตั้งแต่ปี 2553 ทีมวิจัยศึกษาพบว่า แมลงดังกล่าวเป็นตัวเต็มวัยของแมลงวันลายชนิดหนึ่ง ซึ่งตัวหนอนของแมลงนี้ช่วยจัดการขยะอินทรีย์ได้ด้วย ทีมวิจัยจึงได้ศึกษาวิจัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่ครบวงจรชีวิตของแมลงชนิดนี้ และตั้งชื่อหนอนแมลงนี้ว่า “หนอนแม่โจ้ (Maejo Maggots)” หลังจากที่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช คณะผลิตกรรมเกษตร