โคขุน ขุนโค สร้างอาชีพที่ชายแดนใต้
“โค” เป็นส่วนหนึ่งในวิถีการดำเนินชีวิตของพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนใต้ ชาวบ้านนิยมเลี้ยงโคพื้นเมืองเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้บริจาคทานในช่วงเทศกาลรอมฎอน หรือที่เรียกว่า วัวบุญ ซึ่งทำให้ความต้องการโคมีสูงมาก จึงมีโคจากที่ต่างๆ ส่งมาขายในพื้นที่และที่นี่จึงเป็นตลาดโคที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศก็ว่าได้ เมื่อปริมาณความต้องการโคในพื้นที่มีมาก แต่เม็ดเงินจากการซื้อขายโคกลับไม่หมุนเวียนถึงเกษตรกรในพื้นที่ จึงมีความพยายามของหลายหน่วยงานที่จะสนับสนุนและยกระดับการเลี้ยงโคให้เป็นอาชีพหลักในพื้นที่นี้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เล่าว่า วิถีการเลี้ยงโคในพื้นที่ยังเลี้ยงแบบดั้งเดิม คือปล่อยให้โคหากินตามสวนหรือพื้นที่ว่างเปล่า การพัฒนาการเลี้ยงแบบจริงจังในเชิงธุรกิจหรือยกระดับให้เป็นอาชีพหลัก จึงต้องให้ความรู้เกษตรกรและมีช่องทางตลาดที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรกรได้ ผศ.ดร.จักรพันธ์ พิชญพิพัฒน์กุล มาหะมะนาเซ และฆาเยาะ หรือ ฎอน นั่นจึงเป็นที่มาของ สหกรณ์โคเนื้อมือนารอ ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2561 เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมมากขึ้น นอกจากสหกรณ์ฯ รับซื้อ ชำแหละ จำหน่ายและแปรรูปเนื้อโคแล้ว สหกรณ์ฯ ยังเป็นแหล่งความรู้การเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมและการขุนโคให้ได้คุณภาพ รวมถึงเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารโคคุณภาพให้สมาชิก “ตอนเริ่มต้นตั้งสหกรณ์ฯ มีสมาชิก
เทคโนโลยีการเลี้ยงปูนาเลียนแบบธรรมชาติ
ดาวน์โหลดเอกสาร
โปรตีนก้อน (protein block) อาหารเสริมสำหรับโค
การผลิตอาหารสัตว์จากสับปะรดและการใช้จุลินทรีย์หมักเพิ่มประสิทธิภาพวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
ดาวน์โหลดเอกสาร
สถานีปูนาเมืองบัว: เรียนรู้เพื่อรักษาและต่อยอด
“เลี้ยงปูนาปีแรกเหมือนคนบ้า อยู่คอกปูทั้งวัน ส่องไฟฉายดูพฤติกรรมปูตลอด จะไปไหนก็ห่วงก็คิดถึง” ประชา เสนาะศัพท์ และปรีชา ยินดี คู่หูผู้เลี้ยงปูนา เล่าถึงความผูกพันที่เกิดขึ้นกับสัตว์ตัวน้อยนี้ ในวันที่พวกเขาเริ่มต้น “เลี้ยงปูนา” เพื่อหวังอนุรักษ์ ประชา หนุ่มสุรินทร์มาเป็นเขยเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด มาเกือบ 20 ปี เขาเล่าว่า แต่ก่อนที่นี่ปูนาเยอะมาก แต่ช่วง 10 ปีหลัง ปูหายหมดเพราะยาฆ่าปู เพื่อไม่ให้ปูกัดต้นข้าว ถึงแม้ว่าจะไม่มีปูแล้ว แต่ชาวบ้านยังหว่านยา เพื่อความมั่นใจ เมื่อสัตว์ที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศการทำนาข้าว ถูกจัดให้เป็น “ศัตรูพืช” ของนาข้าว และวิถีการทำนาที่ใช้สารเคมี จำนวนปูนาจึงลดน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงวงจรในระบบนิเวศจะแหว่งวิ่น หากยังสะเทือนถึงวิถีการดำเนินชีวิตผู้คนไม่น้อยที่มี “ปูนา” เป็นวัตถุดิบในมื้ออาหาร
“ไส้เดือนดิน-หนอนแม่โจ้” สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของผู้สูงวัย
“ความภาคภูมิใจในตัวเอง” เป็นหนึ่งแรงพลังที่ทำให้คนเราตระหนักรู้ถึงความสุขในสิ่งที่ทำ ปลุกความหวัง สร้างความสดชื่นให้จิตใจโดยเฉพาะในวันที่เดินเข้าสู่ช่วง “ชีวิตสูงวัย” “คุณสวัสดิ์ การะหงษ์” วัย 65 ปี เจ้าของ “ลุงสวัสดิ์ฟาร์มไส้เดือนดินริมปิง” และอดีตผู้บริหารหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ก็เช่นกัน แม้พื้นฐานชีวิตจะเป็นเกษตรกร แต่ลุงสวัสดิ์คลุกคลีกับงานบริหารท้องถิ่นมากว่า 30 ปี เส้นทางการเติบโตที่มั่งคงในงานบริหารท้องถิ่นจากผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จนถึงรองนายกเทศมนตรีตำบล แต่ในใจกลับมีความรู้สึกบางอย่างที่คลอนแคลน “อยู่ในสังคมที่กว้างมาก แต่ความรู้เราแค่ป.4 ไปไหนก็ไม่มั่นใจที่พูดคุย และเดี๋ยวนี้เด็กจบใหม่มีความรู้ รู้จักใช้เทคโนโลยี แต่เราไม่มี อายเด็กรุ่นใหม่ มีวันนึง เจ้าหน้าที่ให้ช่วยปิดคอมพิวเตอร์ ลุงก็ดึงปลั๊กออกเลย” ความรู้สึกที่คลอนแคลนสะสมมาเนิ่นนานย้อนให้ลุงสวัสดิ์ได้ทบทวนและวางเส้นทางในช่วงชีวิตบั้นปลาย เมื่อไส้เดือนดินย่อยขยะในใจ การได้พบปะผู้คนหลากหลายวงการถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งในช่วงที่ลุงสวัสดิ์ทำงานบริหารท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ลุงได้พบเส้นทางในชีวิตหลังเกษียณ “ลุงไปอบรมเรื่องการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนจากอาจารย์อานัฐ ตันโช ม.แม่โจ้
ประกาศศักดา “ปลากัดไทย” ในตลาดสัตว์น้ำสวยงามระดับโลก
แม้วันนี้ความพยายามของกรมประมงที่ต้องการให้ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติจะไม่ประสบความสำเร็จ จนทำให้กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงและผู้ประกอบการเกิดความกังวลว่าไทยอาจสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศให้กับต่างชาติ ซ้ำรอยเฉกเช่นแมววิเชียรมาศ แต่ก็เป็นโอกาสดีที่จะทำให้เรื่องราวของปลาตัวเล็กที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านานได้เป็นที่รู้จักมากกว่าเป็น “ปลาสวยงาม” แต่ยังเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าหลายพันล้านบาทให้ประเทศอีกด้วย รู้จัก “ปลากัดไทย” ปลากัดเป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่มักพบกระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางและบางส่วนของภาคเหนือของประเทศ ปลากัดมีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม ใช้ปากฮุบอากาศในการหายใจโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด แต่เดิมปลากัดที่พบในประเทศไทยมีอยู่เพียง 3 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ปลากัดไทย (Betta splendens) เนื่องจากมีครีบและสีสันที่สวยงาม ส่วนอีก 2 สายพันธุ์คือ ปลากัดอีสาน (Betta smaragdina) และปลากัดภาคใต้ (Betta imbellis)
ไรน้ำนางฟ้า: จากงานวิจัยสู่ธุรกิจอนาคตไกล
“เราไม่ได้อยู่ในแวดวงเกษตรมาก่อน อย่างไรน้ำนางฟ้า คนถามบ่อยมากว่า มีโรคมั้ย เอาไปเลี้ยงปลาแล้วปลาจะตายมั้ย มันจะเอาโรคไปติดต่อกันมั้ย เราเป็นคนเลี้ยงก็ต้องบอกว่าดี แต่ถ้ามีงานวิชาการที่ทำวิจัยมาแล้วรองรับว่าไม่มีโรคและไม่ติดต่อ เราสามารถพูดได้ ความน่าเชื่อมี ตรงนี้งานวิจัยช่วยพี่มากๆ” ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินภายใต้แบรนด์ “เพื่อนดิน” เป็นธุรกิจแรกของคุณนุจรี โลหะกุล หรือคุณเจี๊ยบ ที่ต่อยอดจากการเข้าร่วมอบรมเรียนรู้จนสามารถผันชีวิตจากมนุษย์เงินเดือนมาเป็นเจ้าของธุรกิจเต็มตัว “ปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน” ยังพาคุณเจี๊ยบให้รู้จักกับ “ไรน้ำนางฟ้า” อีกหนึ่งงานวิจัยด้านเกษตรที่ปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจของผู้หญิงเก่งคนนี้อีกเช่นกัน จากงานออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “เพื่อนดิน” ในงานประชุมวิชาการของ สวทช. คุณเจี๊ยบได้รู้จักกับงานวิจัย “ไรน้ำนางฟ้า” ด้วยความน่าสนใจของสัตว์น้ำตัวเล็กๆ ที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงและยังให้สารเร่งสีสำหรับสัตว์น้ำด้วย คุณเจี๊ยบจึงตัดสินใจเข้าร่วมอบรมเรียนรู้การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเมื่อปี 2555 “อบรมกลับมาก็ไม่คิดจะทำเป็นธุรกิจ เพราะไรน้ำนางฟ้าเลี้ยงยากมาก เรายังไม่มีความรู้มากพอ ไข่ที่ได้มาจากการอบรมก็แช่ไว้ในตู้เย็นอยู่หลายเดือน จนพอมีเวลาว่างจากฟาร์มไส้เดือน ก็เอาไข่ที่ได้มาลองเลี้ยงในกะละมัง ทำตามที่เรียนมา แล้วทดลองให้เป็นอาหารปลาที่เลี้ยงไว้ที่บ้าน ก็เริ่มเห็นผลว่าปลาชอบ ปลาสีสวย วันนึงมีลูกค้ามาขอซื้อไส้เดือนไปเป็นอาหารปลาหมอสี พี่ก็เลยลองตักไรน้ำนางฟ้าที่เลี้ยงไว้ให้เขาไปทดลองใช้