การทอผ้าเป็นศิลปะวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยกรรมวิธีการถักทอเส้นใยธรรมชาติและการออกแบบลวดลายอันประณีตเป็นภูมิปัญญาเฉพาะที่สร้างอัตลักษณ์ให้ผ้าทอในแต่ละภูมิภาค แม้ปัจจุบันผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยเส้นใยสังเคราะห์ แต่ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถสานต่อภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองให้คงอยู่ ทั้งยังลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมูลค่าให้ผ้าทอพื้นเมืองอีกด้วย สท. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งทอที่นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นใย การออกแบบ จนถึงการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมืองและเพิ่มรายได้ให้ชุมชน 1. การใช้เอนไซม์ ENZease (เอนอีซ) ในกระบวนการเตรียมผ้าฝ้าย โดยลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกในขั้นตอนเดียว 2. การผลิตสีผงธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นและการเตรียมสีธรรมชาติสำหรับแม่พิมพ์จากวัสดุในท้องถิ่น 3. การเพิ่มคุณสมบัติพิเศษผ้าทอพื้นเมืองตั้งแต่ระดับเส้นใยจนถึงผลิตภัณฑ์ด้วยนาโนเทคโนโลยี บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ สืบสาน ต่อยอด ‘จกโหล่งลี้’ ลายผ้าโบราณด้วยนวัตกรรม “ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า
นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์-ยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จ.แม่ฮ่องสอน
สื่อความรู้ในโครงการ “นวัตกรรมเพื่อการสร้างสรรค์และยกระดับผ้าทอพื้นเมือง ผ้าชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
กี่ทอมือยกดอกอัตโนมัติ นวัตกรรมยกระดับกี่ทอไทย
ดาวน์โหลดเอกสาร
‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว
“คิดให้ไกล ไปทีละก้าว” คือแนวคิดการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์แบรนด์ We VergiN และ Buppha ของกลุ่มวิสาหกิจเกษตรสวนดอก ต.บางยี่รงค์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ที่มีน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นส่วนประกอบหลัก ผลิตภัณฑ์แรกของกลุ่มฯ ที่นำทางไปสู่การจัดการวัสดุเหลือทิ้งในสวนมะพร้าว จากพนักงานบริษัทที่กลับมารับช่วงดูแลสวนมะพร้าวและลิ้นจี่ของพ่อแม่บนพื้นที่ 18 ไร่ บุปผา ไวยเจริญ คิดหาหนทางเพิ่มมูลค่ามะพร้าวจากราคาที่ตกต่ำเหลือลูกละ 3 บาท “ช่วงปี 2555 ราคามะพร้าวตกต่ำมาก จากลูกละ 15 บาท เหลือลูกละ 3 บาท จะทำยังไงได้บ้างที่จะเพิ่มมูลค่าได้ จนได้ไปดูงานการแปรรูปมะพร้าวและได้แนวคิดกลับมาผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น” บุปผา นำเทคนิคที่ได้จากการดูงานมาผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ใช้กรรมวิธีไม่ผ่านความร้อน ทำให้ได้น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นแบบบริสุทธิ์ที่คงสารสำคัญไว้มากสุด และกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดี เธอจึงต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยมีน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก อาทิ
สานต่อ “ผ้าทอโบราณ” ด้วยความรู้และเทคโนโลยี
“ผ้าสมัยยุค 1.0 แต่เดี๋ยวนี้ยุค 4.0 แล้ว เราจึงต้องปรับตัว การอนุรักษ์ผ้า ไม่ใช่แค่ทำผ้านุ่งผ้าผืน ทำแค่นั้นเท่ากับรอเวลาให้กลุ่มตาย ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้าทำแล้วต่อยอดพัฒนา ชีวิตเขาต้องดีขึ้นด้วย” เกษม อินทโชติ กำนันตำบลบ้านปึก อ.เมือง จ.ชลบุรี หัวเรือใหญ่ผู้ต่อลมหายใจผ้าทอบ้านปึก-อ่างศิลา หรือ “ผ้าทอคุณย่าท่าน” ให้มุมมองต่อการสืบสานผ้าทอลายโบราณของชุมชน ในอดีตชุมชนบ้านปึกประกอบอาชีพทำนา ทำน้ำตาลโตนด ทำสวนมะพร้าว และงานหัตถกรรมผ้าทอที่มีประวัติความเป็นมากว่าร้อยปี จากอาชีพเสริมที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่ชาวบ้าน กลายเป็นอาชีพหลักให้หลายครัวเรือน จวบจนกาลเวลาแปรเปลี่ยน งานผ้าทออันเป็นเอกลักษณ์เริ่มเลือนลาง เหลือช่างทอน้อยคนที่ยังทอผ้าส่งขายตลาดอ่างศิลา แม้วันนี้ สาย เสริมศรี หรือป้าไอ๊ หนึ่งในสองช่างทอท้องถิ่นและผู้ร่วมก่อตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านปึก
ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
“ผ้าล๊อตเดียวกัน สีเหมือนกัน ตัดเย็บเหมือนกัน ระยะเวลาผ่านไปสักระยะ ผ้าที่ไม่ได้เคลือบด้วยเทคโนโลยีนาโน หมองคล้ำ ไม่ขาวสดใสเหมือนผ้าที่ผ่านการเคลือบคุณสมบัติพิเศษ” “เราไม่เคยรู้เลยว่าแค่เปลือกผลไม้ ใบไม้ สามารถให้สีสันที่สวยงาม เพิ่มมูลค่าให้เสื้อเราได้ตัวละหลายร้อยบาท” คำบอกเล่าจาก เจษฎา ปาระมี ประธานกลุ่มปิ๊กมาดี จ.ลำปาง และ ดรุณี ภู่ทับทิม ประธานกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมตำบลหินตก จ.นครศรีธรรมราช สองกลุ่มอาชีพจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับอาชีพกลุ่มสตรีด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) เพื่อยกระดับการผลิตสิ่งทอของชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่ม จากจุดเริ่มที่เป็นเพียง “ศูนย์ประสานเพื่อความช่วยเหลือผู้พิการ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส” ส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานท้องถิ่น เจษฎา ปาระมี และ กฤษฎา เทพภาพ สองหนุ่มนักพัฒนาของตำบลวอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์เมื่อปี 2559 ในนาม “ปิ๊กมาดี” ที่สื่อความถึงการที่ผู้พิการ
เทคโนโลยีอื่นๆ
เกริ่น บทความ สิ่งพิมพ์ วิดีโอ บทความ “ทากิริ” ผ้าทอมือสร้างสมดุลธรรมชาติด้วยความรู้ สะท้อนภูมิปัญญาชาวกะเหรี่ยงบ้านดอยยาว ยกระดับ “ผ้าทอฝ้ายสามสี” ของดีบ้านก้อทุ่ง ด้วยนวัตกรรม ชีวนวัตกรรมผสานภูมิปัญญา สร้างคุณค่า “หม้อห้อมโบราณ” ‘ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ’ ผลิตภัณฑ์ Zero waste จากสวนมะพร้าว ยกระดับอาชีพกลุ่มสตรี ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สานต่อ “ผ้าทอโบราณ” ด้วยความรู้และเทคโนโลยี สิ่งพิมพ์ วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองเงือก: ชุมชนนวัตกรรมสิ่งทอ ชีวนวัตกรรม ‘ปุ๋ยชีวภาพอัดแท่ง’ เพิ่มผลผลิต ‘ต้นห้อม’ คุณภาพ กี่ทอมือยกดอกอัตโนมัติ นวัตกรรมยกระดับกี่ทอไทย สานต่อภูมิปัญญา “ผ้าทอพื้นเมือง” ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสิ่งทอพื้นเมือง วิดีโอ